เปิดร้านขายของ 20 บาท ทำอย่างไรให้รวยหลักแสน หลักล้าน

ปัจจุบันร้านขายของ 20 บาทในเมืองไทยมีอยู่มากมาย สินค้าที่นำมาขายในร้านส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน มีคุณภาพบ้าง ไม่มีคุณภาพบ้าง แล้วแต่ว่าผู้ประกอบการหรือเจ้าของร้านจะตาถึงมากแค่ไหน ถ้าร้านไหนขายของคุณภาพ ราคาถูก ลูกค้าก็เยอะ

จึงไม่แปลกที่คนที่อยากมีกิจการหรือร้านค้าเป็นของตนเอง หันมานิยมลงทุนเปิดร้านขายของ 20 บาทเป็นจำนวนมาก เพราะการเปิดร้าน 20 บาท ทำได้ง่าย มีทั้งซื้อแฟรนไชส์ และเปิดร้านเอง เพียงแค่หาสินค้าราคาต่ำกว่า 20 บาทมาขาย ก็ได้กำไร

แต่รู้หรือไม่ว่า ความยากในการเปิดร้าน 20 บาท ให้รวย ให้ได้เงินหลักแสน หลักล้านนั้น อยู่ที่การบริหารจัดการร้าน รวมถึงเทคนิคในจัดหาสินค้าจากแหล่งขายส่งต่างๆ มาขาย และการให้บริการลูกค้าก็เท่านั้นเอง  ก่อนอื่น www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอก่อนว่า เราจะมีช่องทางในการเปิดร้านขายของ 20 บาท ได้อย่างไร

1. ซื้อแฟรนไชน์ร้าน 20 บาท

เปิดร้านขายของ

ภาพจาก facebook.com/nopparat20

ข้อดีของการซื้อแฟรนไชส์ร้านค้า 20 บาท ก็คือ เจ้าของแฟรนไชส์จะทำการจัดส่งสินค้ามาให้ ในวงเงินที่เราทำสัญญากับเขาไว้ หรือใช้เงินลงทุนซื้อสินค้าขั้นต่ำจากเจ้าของแฟรนไชส์มาขายในร้านที่มีอยู่ได้เลย โดยสินค้าจะมีให้เลือกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เครื่องเขียน เครื่องครัว เครื่องมือช่าง สินค้าตกแต่งบ้าน สินค้า IT สินค้าแฟชั่น ของเล่น ฯลฯ การซื้อแฟรนไชส์ร้าน 20 บาท ยังได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนจากเจ้าของแฟรนไชส์ตลอดอายุสัญญาด้วย ทำให้ง่ายต่อการดำเนินธุรกิจ

ลงทุนแฟรนไชส์นพรัตน์ 20 : https://bit.ly/2kmJYo6

2. หาสินค้าจากแหล่งต่างๆ มาจำหน่าย

4

ภาพจาก bit.ly/2Ja8xht

วิธีการแบบนี้ถือว่าเหนื่อยมาก บางครั้งอาจวิ่งหาของไม่ทัน ต้องมีคนช่วยวิ่งเรียกว่า ทำรายได้ไม่คุ้มเสีย เสียค่าใช้จ่ายในการวิ่งมาก และก็ใช้เวลามาก ทำให้เจ้าของร้านไม่มีเวลาเฝ้าหน้าร้าน บางครั้งต้องปิดร้าน เพื่อหาสินค้ามาขายในร้าน ทำให้ขาดรายได้ไปเลย ดังนั้น วิธีการแบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ขนส่ง รวมถึงจ้างคนอื่นหาสินค้ามาให้ ทั้งนี้หากซื้อสินค้าจากแหลางจริงๆ ราคาต้นทุนสินค้าต้องไม่เกิน 15 บาท เพื่อเราจะได้กำไรจากการขาย 20 บาท ขายมากชิ้นก็ได้กำไรมาก

3. ซื้อผ่านตัวแทนจำหน่าย

3

ภาพจาก bit.ly/2IY5ed4

วิธีการแบบนี้ หมายความว่าให้ไปซื้อจากร้านที่เปิดขายส่งให้กับร้าน 20 บาทอีกที แต่ไม่ใช่แบบซื้อจากเจ้าของแฟรนไชส์ ไม่ต้องมีข้อผูกมัดใดๆ แต่ต้องเข้าไปเลือกสินค้าเอง ซื้อเท่าไหร่ จ่ายเท่านั้น ไปร้านเดียวได้ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ ทั้งเครื่องครัว ของใช้ประจำวัน ของใช้ทั่วไป ในราคาส่งที่ต่ำกว่า 20 บาท ซึ่งแน่นอนวิธีนี้น่าจะเหมาะสมหากใครต้องการเลือกสินค้าเอง โดยร้านตัวแทนจำหน่าย อาทิ ทัดดาวซุปเปอร์สโตร์, ร้านอุ๊ 20 บาท, 888shop, นพรัตน์ 20 เป็นต้น

เปิดร้าน 20 บาท อย่างไรให้รวย!!!

2

ภาพจาก facebook.com/nopparat20

หลังจากที่ไม่กังวลกับการหาสินค้ามาขายแล้ว ขั้นตอนต่อไป ก็คือ ต้องเข้าใจหัวใจความสำเร็จในการเปิดร้าน 20 บาทให้รวยเป็นแสน เป็นล้าน ซึ่งมีอยู่ มีเทคนิคอยู่ 4 ข้อ มาให้คนที่อยากจะเปิดร้าน 20 บาท ให้รวยหลักแสน หลักล้าน

1. มีเงินทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจเพียงพอ

ถือเป็นต้นทุนในการทำธุรกิจที่คุณต้องพิจารณาก่อนเป็นอันดับแรก ต้องดูก่อนว่าสถานที่ที่จะใช้เปิดร้านขายของ 20 บาททุกอย่าง มีขนาดใหญ่เท่าไหร่ เพราะการเปิดร้านขายของ 20 บาท ต้องลงสินค้าให้แน่นร้าน และมีหลากหลายประเภท

ถ้าลงน้อยจะทำให้ภายในร้านดูโล่ง ไม่ดึงดูดให้ลูกค้าเข้าไปซื้อสินค้า ถ้าเป็นตึกหรือห้องแถวให้เช่า คุณก็ต้องมีค่ามั่นจำ ค่าเช่า ค่าตกแต่งร้าน และค่าชั้นวางสินค้า เบื้องต้นคุณต้องเตรียมเงินทุนไว้ประมาณ 30,000-40,000 บาท

ต้นทุนอีกส่วนหนึ่งที่คุณต้องเตรียมไว้จ่าย คือ สินค้าที่จะนำมาขายในร้าน การเปิดร้าน 20 บาท ต้องมีสินค้าหลากหลายและลงให้เต็มร้านมากที่สุด เพื่อดึงดูดลูกค้า ซึ่งอาจต้องใช้เงินถึงหลักแสนบาทในการซื้อสินค้า แล้วแต่ขนาดของร้านค้า

2. รู้จักบริหารจัดการสต็อกสินค้าให้เป็น

การเปิดร้านขายของ 20 บาท โดยส่วนใหญ่แล้วสินค้าจะหมุนเวียนเข้าออกเป็นประจำ มีสินค้าใหม่ๆ เข้ามาในร้านอย่างต่อเนื่อง เพื่อดึงให้ลูกค้าเข้าร้านเป็นประจำ ถ้ามีสินค้าที่สามารถสต็อกและจัดเก็บไว้หลังร้าน อาจจะเป็นสินค้าจำพวก อุปกรณ์ช่าง เครื่องครัว ปืนยิงจุดเตาแก๊ส ถ่านไฟฉายขนาด AAA และ AA รวมถึงกระดาษทิชชู เป็นต้น

ส่วนสินค้าเบ็ดเตล็ดอื่นๆ เช่น กิ๊ฟช็อป เครื่องเขียน ของเล่นเด็ก สุขภัณฑ์ พลาสติก แก้ว คุณอาจไม่ต้องสต็อกเยอะก็ได้ แต่ต้องดูว่าสินค้าเหล่านี้จะหมดช่วงเวลาไหน จะได้เตรียมการสั่งซื้อเข้ามาทดแทนในร้านได้พอดีเวลา

เรียกว่าต้องหมุนเวียนสินค้าไม่ให้ชั้นวางสินค้าดูโล่ง สินค้าตกยุคก็ต้องเปลี่ยนให้ตามเทรนด์ นำของใหม่ๆ เข้ามาในร้านตลอด เพราะถ้าไม่มีสินค้าใหม่ๆ มาให้ลูกค้าได้เลือก พอไปได้สักพักลูกค้าเก่าๆ ก็จะขาดหายไป

3. ต้องอย่าลืมทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายเป็นประจำ

ถือเป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของร้าน 20 บาททุกอย่าง ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างมาก เพราะจะทำให้รู้ยอดกำไรขาดทุนที่แท้จริงของร้าน มีการบันทึกสินค้ากลุ่มขายดี ขายไม่ดี ที่สำคัญคุณควรที่จะมีเงินทุนสำรองไว้ประมาณ 6-7 เดือน

เพราะเป็นช่วงเวลาที่จะทำให้รู้ว่าร้านอยู่รอดหรือไม่รอด ถ้าจะให้ดีคุณต้องแบ่งเงินจำหนวนหนึ่งไว้เป็นค่าแรงและเงินเดือนของคุณด้วย และต้องรู้จักติดตามเทรนด์ผู้บริโภค มองหาสินค้าใหม่ๆ เข้ามาขายในร้านเสมอ ทั้งนี้ ถ้าคุณมีพื้นที่ร้านคุณอาจจะต้องนำเอาสินค้าอื่นๆ เช่น ถังน้ำ กะละมัง ที่ไม่ได้ขายราคา 20 บาท มาวางจำหน่ายด้วยก็ได้ เพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้าร้าน

4. มองหาทำเลที่ตั้งร้านที่มีศักยภาพคนสัญจรผ่านไปมา

ทำเลที่ตั้งร้านค้าถือเป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่จะช่วยดึงดูดลูกค้าให้เข้าร้าน 20 บาท ถ้าอยู่ไกลแหล่งชุมชน หรือพื้นที่ที่ไม่มีคนพลุกพล่าน ก็จะไม่มีใครเข้าไปซื้อสินค้า ลูกค้าก็อาจเข้าร้านสะดวกซื้ออื่นๆ ที่อยู่ใกล้มากกว่า

ที่สำคัญที่ตั้งร้านค้าจะช่วยให้คุณประเมินได้ว่า จะเอาสินค้าประเภทไหนเข้าไปขายในร้าน เช่น ถ้าร้านคุณตั้งอยู่ใกล้บริเวณสถานศึกษา ก็ควรนำเอาสินค้าจำพวกอุปกรณ์การเรียน เครื่องเขียน หรือสินค้ากิ๊ฟช็อปต่างๆ แฟชั่น เข้าไปขายเยอะๆ

หากร้านค้าอยู่ย่านร้านอาหาร คุณก็ต้องเอาสินค้าอุปกรณ์เครื่องครัวต่างๆ เข้าไปขาย และถ้าร้านค้าอยู่แถวชุมชนที่พัก หรืออพาร์ทเม้นท์ สินค้าที่ต้องนำเข้าไปขาย ควรเป็นพวกอุปกรณ์ข้าวของ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่าสินค้าอื่นๆ

1

ภาพจาก bit.ly/33BfjUW

คุณจะเห็นได้ว่า การลงทุนทำธุรกิจอะไรสักอย่าง ดูแล้วอาจไม่ใช่เรื่องยากมากนัก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ทุกคนจะทำได้ง่าย และประสบความสำเร็จเสมอไป เช่นเดียวกับการเปิดร้านขายของ 20 บาท

คนที่ประสบความสำเร็จ ต้องมีปัจจัยเกื้อหนุนหลายอย่างมาเป็นองค์ประกอบ ที่สำคัญคุณก็ต้องมีความพร้อมในหลายๆ ด้าน และรู้จักวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ตลาด เพื่อดูว่าสินค้าอะไรบ้างที่จะสามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ แต่อย่าลืมว่า!! ถ้าอยากรวยจากการเปิดร้าน 20 บาท สินค้าจะต้องมีคุณภาพจริงๆ ในราคาต่ำกว่า 20 บาท…ถ้าขายได้มาก กำไรยิ่งมาก


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

SMEs Tips

  1. มีเงินทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจเพียงพอ
  2. รู้จักบริหารจัดการสต็อกสินค้าให้เป็น
  3. ต้องอย่าลืมทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายเป็นประจำ
  4. มองหาทำเลที่ตั้งร้านที่มีศักยภาพคนสัญจรผ่านไปมา

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3qeOhPY

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช