เปิดร้านขาย “รถจักรยานยนต์” เริ่มต้นแบบไหน กำไรเท่าไหร่?

รถมอเตอร์ไซด์ เป็นหนึ่งในยานพาหนะสำคัญของคนส่วนใหญ่ ข้อดีของมอเตอร์ไซด์ คือราคาถูกกว่า รถยนต์ มีความคล่องตัวมากกว่า ยังไม่รวมกับการที่บางคนออกรถมอเตอร์ไซด์เพื่อไปทำมาหากินทั้งการขับวิน หรือส่งอาหารเดลิเวอรี่ เป็นต้น ในสถานการณ์ปกติมอเตอร์ไซด์มียอดการจำหน่ายที่สูงมาก แต่เมื่อมีการแพร่ระบาดของ COVID 19 ก็ส่งผลต่อยอดการจำหน่ายเช่นกัน

โดย www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลน่าสนใจจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่ระบุว่าในปี 2563 ยอดการจำหน่ายรถจักรยานยนต์มีประมาณ 1.35 ล้านคัน หดตัวกว่า 21 % ในรอบหลายปี และถ้ามาดูตัวเลขการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ใหม่ในเดือนมกราคา 2564 ที่ผ่านมาจากกรมขนส่งทางบกพบว่ายอดจดทะเบียนทั้งสิ้น 135,832 คัน

ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่น้อยถ้าเทียบหลายปีที่ผ่านมาแต่อย่างไรก็ดี ธุรกิจจำหน่ายรถจักรยานยนต์ยังมีอนาคตที่สดใส โดยเฉพาะหลังสถานการณ์ COVID 19 คลี่คลายที่เชื่อว่าหลายคนจะเริ่มหันมาลงทุนและมองหายานพาหนะซึ่งจักรยานยนต์จะเป็นตัวเลือกแรกที่น่าสนใจมาก

การลงทุนมี 2 แบบ ทั้งตัวแทนจำหน่ายและการขายรถมือ 2

เปิดร้านขาย รถจักรยานยนต์

ภาพจาก bit.ly/3uSZ0Rm

โดยทั่วไปการลงทุนเปิดร้านขายจักรยานยนต์มี 2 แบบคือการเป็นตัวแทนจำหน่าย โดยเราสามารถเลือกได้ว่าต้องการจำหน่ายรถยี่ห้อไหน ซึ่งวิธีการเราต้องทำเลเป็นอาคารพาณิชย์ และมีเงินทุนเบื้องต้นพอสมควร จึงจะเริ่มไปติดต่อกับบริษัทรถจักรยานยนต์ที่ต้องการเพื่อขอเป็นตัวแทนจำหน่าย ซึ่งเราก็ต้องทำตามข้อบังคับ กฎระเบียบ และเงื่อนไขในการลงทุนต่างๆ

ข้อดีของการเป็นตัวแทนจำหน่ายจากบริษัทเหล่านี้คือได้รถที่ออกจากศูนย์มาวางจำหน่าย โดยราคาการจำหน่ายเป็นไปตามข้อตกลงของตัวแทนและบริษัท รวมถึงผลกำไรจากการดำเนินธุรกิจก็เป็นไปตามเงื่อนไขที่ได้ทำสัญญากันไว้ ซึ่งแต่ละบริษัทอาจมีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ใครต้องการเป็นตัวแทนจำหน่ายต้องติดต่อที่บริษัทนั้นๆ โดยตรง

ส่วนการลงทุนอีกแบบคือการลงทุนเปิดร้านขายรถมือ 2 หรือการเปิดร้านขายอะไหล่ ซ่อมรถจักรยานยนต์ แบบนี้ขั้นตอนจะน้อยกว่า และอาจใช้เงินทุนที่น้อยกว่า และถ้าอ้างอิงจากข้อมูลเรื่องงบลงทุนในการเปิดร้านขายอะไหล่แบบทั่วไป พบว่าการลงทุนขึ้นอยู่กับขนาดของกิจการ เช่นอาคารพาณิชย์ 1 ห้อง เงินลงทุนประมาณ 300,000 – 500,000 บาท หรือถ้าเป็นแบบ อาคารพาณิชย์ 3 ห้องขึ้นไป งบลงทุนเบื้องต้นประมาณ 1,000,000 – 3,000,000 บาท เป็นต้น

เอกสารสำคัญสำหรับการขออนุญาตเปิดร้านจำหน่ายอะไหล่มอเตอร์ไซด์

เปิดร้านขาย รถจักรยานยนต์

ภาพจาก poonsuponline.com

  1. บัตรประจำตัวและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ขอใบอนุญาต
  2. บัตรประจำตัวและสำเนาทะเบียนบ้านผู้จัดการ หากไม่ใช่บุคคลเดียวกับผู้ถือใบอนุญาต
  3. สำเนาทะเบียนบ้านของบ้านที่ใช้เป็นที่ตั้งของสถานประกอบการ
  4. สำเนาหนังสือรับรองจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อม แสดงบัตรประจำตัวของผู้แทนนิติบุคคล
  5. หลักฐานที่ใช้แสดงว่าอาคารที่ใช้เป็นสถาน ประกอบการสามารถประกอบการนั้นได้โดยถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาหาร
  6. หนังสือยินยอมให้ใช้อาคาร หรือสัญญาเช่าจากเจ้าของอาคาร
  7. ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการจากส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง

รายได้เบื้องต้นของการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ (แบบมือ 2)

เปิดร้านขาย รถจักรยานยนต์

ภาพจาก facebook.com/hondapiyap25

เราจะพูดถึงการเปิดร้านจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบมือ 2 ที่ถือว่าจะตอบโจทย์คนส่วนใหญ่ได้ดีกว่า ซึ่งรายได้ของการเป็นตัวแทนจำหน่ายคงต้องไปดูรายละเอียดการลงทุนและเงื่อนไขของแต่ละบริษัท ที่แตกต่างจากการขายแบบมือ 2 เพราะผู้ลงทุนสามารถหารถรุ่นไหน ยี่ห้อไหน มาจำหน่ายได้ตามต้องการ โดยการเปิดร้านต้องขออนุญาตให้ถูกต้อง

ซึ่งราคารถมือ 1 กับมือ 2 ราคาต่างกันอยู่ที่ 10,000-30,000 บาท ขึ้นอยู่กับสภาพรถและรุ่นนิยม แต่สำหรับรถบางรุ่นราคาอาจจะแตกต่างได้มากกว่านี้ก็ขึ้นอยู่กับต้นทุนในการบริหารจัดการต่างๆ ร่วมด้วย

ซึ่งการเปิดร้านขายอะไหล่มอเตอร์ไซด์ หรือการขายรถนี้ ในต่างจังหวัดจะทำการตลาดได้ง่ายกว่า ในภาวะปกติจะมียอดขายที่สูงมาก นอกจากนี้ร้านเหล่านี้ยังมีรายได้เสริมจากอะไหล่รถจักรยานยนต์ทั้งประเภทอะไหล่เดิม เช่นยางใน น้ำมันเครื่อง ผ้าเบรก รวมถึงอะไหล่รถมอเตอร์ไซด์ที่เป็นอะไหล่แต่งสวยงาม

10

ภาพจาก facebook.com/rodgradanakhon

โดยเบื้องต้นหลังจากที่เราได้รถมือ 2 มาจะทำการซ่อมแซม ตกแต่งใหม่ บวกราคาจำหน่ายเพิ่มคันละประมาณ 3,000 บาทขึ้นไปหรือขึ้นอยู่กับรถ ขนาด ยี่ห้อ ความต้องการ สภาพรถ ซึ่งรายได้เบื้องต้นของการทำธุรกิจขายอะไหล่รถจักรยานยนต์และรถจักรยานยนต์มือ 2 เฉลี่ยต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 30,0000 บาท และอาจจะมากกว่านี้หากเป็นสถานการณ์ปกติที่ไม่มีการแพร่ระบาดของ COVID 19 มาเกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ดีการบริหารจัดการภายในร้านคือตัวแปรสำคัญในเรื่องรายได้และกำไร และที่สำคัญการเปิดร้านขายรถจักรยานยนต์เหล่านี้เราต้องมีความรู้ในเรื่องรถทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ สามารถให้คำแนะนำในเรื่องการขอกู้เพื่อซื้อรถ หรือมีสถาบันการเงินที่แนะนำได้ แม้รถจักรยานยนต์จะเป็นสินค้าที่หลายคนสนใจและขายดี แต่สำหรับมือใหม่ที่อยากจะเริ่มในธุรกิจนี้แนะนำให้ลองไปทำงานกับร้านอื่นเพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ก่อนจะกลับมาเปิดร้านตัวเองได้

อ้างอิงจาก https://bit.ly/33WINif

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด