เปิดร้าน “ไดฟุกุออนไลน์” สร้างรายได้เกินกว่าเดือนละ 10,000
คนส่วนใหญ่ในยุคนี้ต้องการสร้างอาชีพใหม่ บางคนต้องการสร้างรายได้เพิ่ม คำถามคือจะขายอะไรดี ในภาวะที่ต้นทุนวัตถุดิบขึ้นแทบทุกอย่าง แถมรายได้ของคนส่วนใหญ่ไม่มากตาม กำลังซื้อก็หดหาย การลงทุนด้วยจำนวนเงินมากๆ จึงมีความเสี่ยงสูงมากตามไปด้วย
อย่างไรก็ดี www.ThaiSMEsCenter.com มั่นใจว่าคนส่วนใหญ่ต้องคิดถึงช่องทางการขายแบบออนไลน์ที่ไม่ต้องเสียค่าเช่าพื้นที่ แต่ทุกวันนี้สินค้าออนไลน์ก็มีจำนวนมาก ซึ่งแนวทางการสร้างอาชีพเราลองนำเสนอแนวคิดในการขาย “ไดฟุกุ” ซึ่งเป็นขนมที่หลายคนรู้จักกันดี ที่สำคัญหากทำสำเร็จได้จริงสามารถสร้างรายได้ที่ดีเกินกว่าที่คาดคิดด้วย
มารู้จัก “ไดฟุกุ” กันก่อน!
ไดฟุกุ เป็น โมจิประเภทหนึ่ง นำเอาแป้งข้าวเหนียวมาห่อไส้ถั่วแดงกวนและคลุกผงแป้งด้านนอกให้หยิบได้สะดวก ปัจจุบันมีการเปลี่ยนไส้ด้านในเป็นผลไม้ เช่น ส้ม กีวี โดยเฉพาะสตรอเบอร์รีที่เรียกกันว่า อิจิโกะไดฟุกุ หรืออาจเปลี่ยนถั่วแดงเป็นถั่วขาว ครีมชาเขียว คัสตาร์ด หรือครีมสดต่างๆ ชื่อไดฟุกุ ภาษาญี่ปุ่นแปลว่า โชคดี จึงถือเป็นขนมที่ชื่อเป็นมงคลและนิยมเป็นให้ของฝากหรือให้ในโอกาสต่างๆ ปัจจุบัน ไดฟุกุมีขายอยู่ทั่วไปในร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านขายของฝาก
ตามประวัติแล้วไดฟุกุเริ่มนิยมอย่างแพร่หลายในช่วงหลังศตวรรษที่ 18 ของประเทศญี่ปุ่น และ ความนิยมก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระจายออกมาตามประเทศต่างๆ ซึ่งประเทศไทยก็นิยมทำทานเอง หรือ ซื้อเป็นของฝากกันมากมาย โดยเคล็ดลับความอร่อยของไดฟุกุ คือต้องไม่ให้แป้งที่ห่อหุ้มบางเกินไปเพราะจะทำให้แข็ง ไม่นุ่ม ส่วนปริมาณของไส้ อย่างถั่วแดงก็จะไม่ใส่เยอะ โดยต้องกะให้พอดีเพราะจะทำให้หวานเกินไป และ ไม่อร่อย ไดฟุกุ เกือบทั้งหมดจะคลุมไปด้วยชั้นของแป้งข้าวโพด หรือ แป้งมันฝรั่ง ทั้งนี้เพื่อทำให้แป้งเกาะกันกับไส้ไม่ให้แยกออกจากกัน บ้างก็ใช้น้ำตาล หรือ ผงโกโก้ ทำแทน
อยากเริ่มเปิดร้านขายไดฟุกุ ต้องทำอย่างไร?
1.ฝึกทำไดฟุกุให้ชำนาญก่อนเปิดร้าน
ถ้าอยากเปิดร้านต้องเริ่มจากการฝึกทำไดฟุกุให้ชำนาญก่อน ทดลองหาสูตรไดฟุกุที่มีหลากหลายมาลองทำกินเอง ทำให้เพื่อนกิน โดยมีหลายสูตรเช่นไดฟุกุสตอเบอร์รี่ , ไดฟุกุชาเขียว , ไดฟุกุช็อคโกแลต เป็นต้น
2.ค้นหาสูตรเด็ดเคล็ดลับและเอกลักษณ์ของตัวเอง
ปัจจุบันไดฟุกุไม่ใช่สินค้าแปลกใหม่แต่มีให้เห็นทั่วไป และมีคนทำขายอยู่จำนวนมาก คนที่อยากทำขายจึงต้องมีเอกลักษณ์ของสินค้าที่น่าสนใจ ควรมีสูตรเฉพาะของตัวเองเพื่อให้ลูกค้าจดจำได้ง่ายขึ้น เช่นทำเป็นไดฟุกุกัญชา , ไดฟุกุมะม่วงสุก เป็นต้น
3.แพคเกจจิ้งต้องสวยสะดุดตา ลูกค้าจำได้
ไดฟุกุ เป็นขนมที่เน้นความสวยงามจากสีสัน ดังนั้นแพคเกจจิ้งก็ควรเด่นสะดุดตา และมีแบรนด์เป็นของตัวเองที่จำง่าย และเพื่อให้ทำกลยุทธ์การตลาดได้ง่ายด้วย
4.สร้างคอนเทนต์ที่ดึงดูดลูกค้า
ใครที่อยากขายไดฟุกุแบบออนไลน์จำเป็นที่ต้องสร้างฐานลูกค้าขึ้นมาก่อน ในช่วงแรกอาจทำคลิปใน TikTok หรือ Youtube เพื่อให้คนติดตาม หรือการอัพเดทความเคลื่อนไหวผ่าน Instagram , Facebook แน่นอนว่าในช่วงแรกอย่าหวังในเรื่องยอดขายแต่เน้นการสร้างลูกค้าขึ้นมาให้ได้ก่อน
5.เข้าร่วมงานแสดงสินค้าเพื่อโปรโมทผลิตภัณฑ์
ภาพจาก https://bit.ly/3UBiU0r
การขายไดฟุกุออนไลน์ไม่จำเป็นต้องทำการตลาดในช่องทางออนไลน์อย่างเดียว วิธีที่จะทำให้คนรู้จักสินค้าเราได้เร็วขึ้นคือการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า หรือการออกบูธตามอีเว้นท์ต่างๆ ถือเป็นการโปรโมทสินค้าให้คนรู้จักได้มากขึ้น
The.earlybake ไดฟุกุออนไลน์ที่สร้างรายได้เกินกว่าเดือนละ 10,000 เพื่อให้มองเห็นภาพเราจึงขอยกตัวอย่างคนที่ประสบความสำเร็จ โดยเป็นไดฟุกุแบรนด์ The.earlybake ที่เจ้าของร้านคือนักศึกษาที่ต้องการสร้างรายได้เพิ่ม เริ่มต้นด้วยการลงทุนร่วมกันคนละ 1,000 บาท เพื่อทำ ไดฟุกุ ขายให้กับลูกค้ากลุ่มนักศึกษาในมหาวิทยาลัยแบบออนไลน์และจัดส่งเอง
โดยเริ่มจากเปิดกลุ่ม Line เปิด Instagram ค่อยๆสร้างฐานลูกค้าขึ้นมาเรื่อยๆ สินค้าซิกเนเจอร์คือไดฟุกุสตอเบอร์รี่ และไดฟุกุกล้วย มีจุดเด่นคือแป้งที่นำมาทำไดฟุกุจะมีความนุ่ม สามารถแช่เย็นได้โดยที่เนื้อแป้งไม่แข็ง ปัจจุบันเปิดร้านมาได้ประมาณ 2 ปี มียอดขายต่อเดือนเกินกว่าหลักหมื่น ซึ่งถือว่าน่าพอใจอย่างมาก
ภาพจาก https://bit.ly/3UBiU0r
และเริ่มมีการพัฒนาสินค้าให้มากขึ้นเช่น โมจิ ขนมเปี๊ยะ บานอฟฟี่ สตรอเบอรี่ครีมพาย ฯลฯ ซึ่งเป็นสูตรที่ศึกษาและทดลองทำกันเอง เน้นการทำตลาดผ่านช่องทางออนไลน์และการร่วมงานอีเว้นท์ต่างๆ รวมถึงได้มีการส่งสินค้าให้กับเน็ตไอดอลรีวิว ซึ่งจะทำให้ลูกค้าตามมาสนับสนุนขนมของทางร้านจากการรีวิวของเน็ตไอดอลค่อนข้างมากพอสมควร
นอกจากนี้ยังมีการทำคอนเท็นต์โปรโมทผ่านสื่อออนไลน์ เช่น TikTok ทำให้ขนมของทางร้านเป็นที่รู้จักมากขึ้น จากเดิมที่เปิดส่งต่างจังหวัดจะมีรายได้หลักพันต่อวัน แต่พอลองทำคอนเท็นต์ลง TikTok ทำให้มียอดการสั่งซื้อจากลูกค้าต่างจังหวัดก้าวกระโดดขึ้นไปเป็นหลักหมื่นบาท
กำลังการผลิตในตอนนี้เน้นผลิตแบบวันต่อวัน เพราะมีวัตถุดิบอย่างผลไม้สดร่วมด้วย ซึ่งใน 1 วันสามารถผลิตไดฟุกุได้ประมาณ 600-700 ลูก และรูปแบบการขายจะขายตามขนาดของสตรอเบอรี่ที่มีหลายไซส์และหลายราคา ซึ่งราคาจะอยู่ที่ 45-110 บาท นอกจากนี้ ไดฟุกุสตรอเบอรี่สามารถมีอายุการเก็บรักษาได้ประมาณ 2 วันในตู้เย็น
ภาพจาก https://bit.ly/3UBiU0r
ซึ่งเคล็ดลับความสำเร็จคือใจสู้และไม่ยอมแพ้ เพราะในการขายช่วงแรก รายได้อาจมีเพียงหลักร้อย ซึ่งไม่คืนทุนแน่ แต่ถ้ามุ่งมั่นและตั้งใจทำต่อจะค่อยๆ มีลูกค้าเพิ่มขึ้น และอาจคืนทุนได้เร็ว จึงถือได้ว่าการขายไดฟุกุออนไลน์มีความน่าสนใจที่เหมาะกับการสร้างอาชีพในยุคนี้ แต่ก็ต้องขยันและตั้งใจทำจริงเป็นสำคัญด้วย
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3sJhxAE , https://bit.ly/3G0d5TF , https://bit.ly/38CRC6X , https://bit.ly/3yLsoxL , https://bit.ly/3PokZdT
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3AnSQh6
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)