เปิดร้าน “บาร์บีคิว” ลงทุนแค่ไหน กำไรเท่าไหร่??
ช่วงนี้จะขายอะไรดีที่ลงทุนน้อย แต่คนสนใจมาก มีโอกาสคืนทุนไว กำไรเร็ว ถ้าจะให้แนะนำก็คงต้องเป็นสินค้าจำพวกอาหาร โดยเฉพาะเมนูปิ้งย่างทั้งหลายที่
www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าขายง่ายและขายดีที่สุด เพราะอาหารปิ้งย่าง ราคาไม่แพง เป็นสินค้ามีเสน่ห์ในตัวเอง แต่ถามว่าจะขายอะไรดี หมูปิ้ง? ไก่ปิ้ง? หม่าล่า? ลูกชิ้นปิ้ง? หรือจะลองขาย “บาร์บีคิว” ก็น่าสนใจเพราะเสน่ห์ของบาร์บีคิวจะมีสีสันของพริกหยวก สับปะรด และอื่นๆ แทรกอยู่ในไม้เดียวกัน ที่สำคัญลงทุนไม่มาก ขายได้เรื่อยๆ ลองไปดูว่าลงทุนแค่ไหน ต้องทำอย่างไร และมีกำไรเท่าไหร่
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ มีอะไรบ้าง?
ที่ขาดไม่ได้คือ “เตาย่าง” เลือกเป็นเตาถ่านหรือเตาไฟฟ้าก็ได้ ราคาก็ตามคุณภาพที่เราเลือก แนะนำว่าลงทุนใหม่ๆ ไม่ต้องเลือกราคาแพงๆ แม้คุณสมบัติจะยังไม่ดีนัก แต่ถ้าขายไปสักพักแล้วพอมีกำไรค่อยเอาไปซื้อเตาที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้ ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องมีในการเปิดร้านก็เช่น ตะแกรง, ถาดอะลูมิเนียม, หม้อ, มีด, กระทะ, ทัพพี, ไม้เสียบ, แปรงสำหรับทาเนย, ขวดพลาสติกใส่ซอส และเครื่องไม้เครื่องมือ
สังเกตได้ว่าอุปกรณ์หลายชนิดไม่จำเป็นต้องไปซื้อใหม่ หาได้จากในครัว หยิบเอามาใช้งานได้เลย เป็นการประหยัดต้นทุนในเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี
วัตถุดิบสำคัญ มีอะไรบ้าง??
เรื่องอุปกรณ์อาจพอหยิบยืมจากในครัวได้ แต่วัตถุดิบนี่แหละคือต้นทุนหลักของการเปิดร้านบาร์บีคิว โดย วัตถุดิบที่ควรจะต้องมีเช่น เนื้อหมูสันนอก, เนื้ออกไก่ และเนื้อวัวสันแหลม (ริบอาย), มะเขือเทศสีดา, สับปะรด, พริกหยวก, น้ำมันหอย, ผงปรุงรสรสหมู, น้ำตาลทราย, เนย, พริกไทยป่น, ซอสมะเขือเทศ และซอสพริก ขอแนะนำว่าในการเปิดร้านเบื้องต้นไม่ควรลงทุนวัตถุดิบทีละมากๆ ให้เริ่มจากน้อยๆ แล้วพอขายดีมีลูกค้ามากขึ้นค่อยลงวัตถุดิบเพิ่มขึ้น
ขั้นตอนการทำ “บาร์บีคิว”
- นำวัตถุดิบหลัก อย่าง เนื้อหมูสันนอก, เนื้ออกไก่ และเนื้อวัวสันแหลม มาจัดการล้างให้สะอาด แล้วผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
- นำเนื้อหมู, เนื้อไก่ และเนื้อวัว มาหั่นสไลซ์เป็นแผ่น ๆ เสร็จแล้วใช้ไม้ทุบเนื้อเบา ๆ ให้ทั่วแผ่น เพื่อตัดเส้นใยกล้ามเนื้อ
- จากนั้นหั่นเป็นชิ้น ๆ ขนาดกว้าง 2 ซม. และยาวประมาณ 3.5 ซม. เตรียมไว้ในภาชนะ
- เตรียมส่วนผสมของซอสหมักหมู, ไก่ และเนื้อ ได้แก่ น้ำตาลทราย , ผงปรุงรสรสหมู, น้ำมันงา, น้ำมันหอย
- นำส่วนผสมซอสทั้งหมดลงในภาชนะ จัดการคนส่วนผสมให้เข้ากันดี
- นำเนื้อสัตว์ที่เตรียมไว้ใส่ตามลงไป ใช้มือคลุกเคล้าและนวดให้ส่วนผสมซอสกับเนื้อสัตว์เข้ากันดี
- นำไปหมักในตู้เย็นประมาณ 3 ชั่วโมงขึ้นไป ก่อนจะนำออกมาเสียบไม้
การเตรียมวัตถุดิบอื่นๆของบาร์บีคิว
ระหว่างรอการหมักเนื้อสัตว์ ให้จัดการเตรียมผักสดและผลไม้ชูรสชาติ อย่างเช่น มะเขือเทศ นำมาล้างให้สะอาด แล้วผึ่งให้สะเด็ดน้ำ เตรียมไว้, พริกหยวก นำมาล้างให้สะอาดแล้วหั่นเป็นชิ้น ๆ ขนาดพอคำ เตรียมไว้ ส่วน สับปะรด นำมาปอกเปลือก แซะเอาตาสับปะรดออก ล้างให้สะอาด ผึ้งให้แห้งแล้วหั่นเป็นชิ้น ๆ ขนาดพอคำเตรียมไว้
เทคนิคการเสียบบาร์บีคิว
เมื่อหมักเนื้อสัตว์ได้ที่ดีแล้วก็นำมาออกเสียบไม้ ซึ่งการเสียบให้เสียบจากด้านบนลงด้านล่าง โดยชั้นล่างสุด คือสับปะรด ตามด้วยพริกหยวก, มะเขือเทศ และเนื้อสัตว์ เสียบไปเรื่อย ๆ จนของหมด เสร็จแล้วจัดการแพ็กใส่กล่องพลาสติกเตรียมไว้ย่างขาย
โดยการเสียบบาร์บิคิวอาจจะเสียบให้มีขนาดเล็กลงก็ได้ ราคาก็ตั้งให้ถูกลง สำหรับไม้เล็กจะประกอบด้วยพริกหวาน 1 ชิ้น สับปะรด 1 ชิ้น เนื้อไก่หรือเนื้อหมู หรือเนื้อวัว 1 ชิ้นและปิดท้ายด้วยพริกหวานอีก 1 ชิ้นก็ได้
วิธีการย่างบาร์บีคิวสำหรับขาย
ภาพจาก pixabay
เริ่มจากการวอร์มเตาไฟฟ้าให้ร้อน ใช้ไฟร้อนปานกลาง เตรียมไว้ หากเป็นเตาถ่านให้ติดเตาตั้งตะแกรงย่างให้พร้อม เมื่อไฟที่ใช้ย่างร้อนได้ที่แล้ว ค่อย ๆ วางไม้บาร์บีคิวลงไปย่าง โดยเรียงให้เป็นระเบียบ เมื่อเนื้อฝั่งด้านล่างสุก ให้พลิกอีกด้านแล้วย่างจนสุก อย่าพลิกย่างไป-มา หลาย ๆ ครั้ง เพราะทำให้เนื้อสัตว์สูญเสียน้ำ เมื่อเนื้อสุกให้ใช้แปรงป้ายเนยมาทาให้ทั่วทั้งสองด้าน บาร์บีคิวจะส่งกลิ่นหอมยั่วยวนมาก เสร็จแล้วก็เอาขึ้นวางในถาดเตรียมไว้ เคล็ดลับที่น่าสนใจอีกอย่างคือการย่างมะเขือเทศ สับปะรด หอมหัวใหญ่ ควรย่างให้เกรียมพอดีรสชาติจะไม่ขม หรือเหม็นเขียว
รวมต้นทุนเปิดร้าน และกำไรจากการขาย บาร์บีคิว
ภาพจาก pixabay
สำหรับคนงบน้อย ทุนน้อย ถ้าใช้อุปกรณ์ในครัวจะประหยัดต้นทุนได้มาก หลักๆ คือเตาที่ไม่ควรเลือกราคาแพงเกินไป เบ็ดเสร็จต้นทุนเปิดร้านครั้งแรกประมาณ 3,000 บาท (ไม่รวมค่าเช่าที่และอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ) เงินทุนหมุนเวียนที่ควรมีประมาณ 1,500 บาทต่อวัน คำนวณว่าเงินทุนก้อนแรกสามารถทำบาร์บีคิวได้ประมาณ 400 ไม้ ขายไม้ละ 10 บาท รายได้ประมาณ 4,000 บาท เท่ากับจะมีกำไรเบื้องต้นประมาณ 1,000 บาท
แต่หากลงทุนน้อยกว่านี้ กำไรก็จะมากขึ้น หรือหากขายได้มากกว่า 400 ไม้รายได้ก็จะมากขึ้นเช่นกัน โดยเฉลี่ยร้านขายบาร์บีคิวทั่วๆไปจะมีกำไรต่อวันประมาณ 200-300 บาท กำไรต่อเดือนประมาณ 6,000 – 9,000 บาท (ขึ้นอยู่กับทำเลในการขาย) และหากผู้ลงทุนมีเทคนิคในการขาย มีกลยุทธ์ในการขาย รู้จักประยุกต์ใช้การตลาดออนไลน์ร่วมด้วย ก็อาจช่วยเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3B9XGfq
อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)