เปิดร้าน “ชาบูเสียบไม้” สร้างรายได้วันละ 500-1,000 บาท

ร้านชาบูหลายแห่งพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสทำชาบูไร้หม้อ แค่สั่งชาบูเสียบไม้ก็ได้ทานรสชาติเนื้อนุ่มๆ พร้อมน้ำจิ้มรสเด็ด ใส่พริกและกระเทียม เสิร์ฟมาพร้อมซุปดำสูตรที่กลมกล่อม ราคาถูกกว่าทานแบบหม้อ

ทั้งอร่อยและประหยัดโดยมีทั้งชาบูเสียบไม้ที่สามารถกินได้ทันทีให้เลือกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น หมูหมักนุ่ม, หมูบาร์บีคิว, หมูพริกไทยดำ, สามชั้นเบคอน, เห็ดพันเบคอน, ปลาดอรี่, ปลาหมึกบั้ง เป็นต้น

www.ThaiSMEsCenter.com มองว่านี่คืออีกหนึ่งอาชีพที่เราก็สามารถเริ่มทำได้ เพียงแต่ต้องรู้จักการทำน้ำซุป วิธีเลือกวัตถุดิบให้หลากหลาย รายได้ต่อวันของร้าน ชาบูเสียบไม้ ถ้าอยู่ในทำเลที่ดีอาจได้กำไรวันละ 500 -1,000 บาท

เริ่มต้นเปิดร้านชาบูเสียบไม้ ต้องทำอย่างไร?

ชาบูเสียบไม้

ภาพจาก bit.ly/2TpXnNS

1.เลือกวัตถุดิบให้หลากหลาย

โดยจุดเด่นของชาบูคือมีวัตถุดิบมากมายเมื่อนำมาทำชาบูเสียบไม้ก็ควรมีตัวเลือกมากเช่นกัน ที่นิยมกันส่วนมากก็เช่น ซาชิมิปูอัด, หมูม้วนผักกาด, หมูสไลซ์, สามชั้นสไลซ์, ค็อกเทลเบคอน, ผักรวมมิตร, โบโลน่า, หมูหมักงา, กุ้ง, ปลาหมึก, ปลาดอลลี่ เป็นต้น

2.มีสูตรน้ำซุปอร่อย

โดยน้ำซุปเป็นหัวใจของชาบู คนที่อยากเปิดร้านชาบูเสียบไม้ให้ลูกค้าติดใจต้องฝึกทำน้ำซุปซึ่งมีหลายสูตรเช่น น้ำซุปชาบูน้ำดำ , น้ำซุปต้มยำ , น้ำซุปสาหร่าย , น้ำซุปแจ่วฮ้อน , น้ำซุปผัก , น้ำซุปกระดูกหมู เป็นต้น

17

ภาพจาก bit.ly/3kxo66b

3.รู้จักการคำนวณต้นทุน

เพราะชาบูเสียบไม้ต้องใช้วัตถุดิบหลากหลาย ซึ่งวัตถุดิบแต่ละชนิดมีราคาต้นทุนที่ต่างกัน เมื่อนำมาเสียบไม้เราต้องคำนวณได้ว่าควรตั้งราคาขายเท่าไหร่เพื่อให้คุ้มค่ากับต้นทุน โดยส่วนใหญ่ราคาขายต่อไม้อยู่ที่ 10-15 บาท เป็นการถัวเฉลี่ยต้นทุนที่ส่วนใหญ่ตกไม้ละประมาณ 6-7 บาท

4.เลือกทำเลขายที่เหมาะสม

ปัจจุบันมีร้านชาบูเสียบไม้หลายแห่ง โดยทำเลที่น่าสนใจควรอยู่ในแหล่งชุมชน คนพลุกพล่าน หรือในตลาดนัด ใกล้โรงงาน สถานศึกษา หรือออฟฟิศ ซึ่งหากใครมีทำเลหน้าบ้านในย่านเหล่านี้จะถือว่าได้เปรียบมาก

16

ภาพจาก bit.ly/3wPGcmz

5.ขยายตลาดในช่องทางโซเชี่ยล

เป็นการสร้างตลาดให้คนรู้จักมากขึ้นโดยใช้ไม่ต้องเปลืองงบในการลงทุนเพิ่ม เพียงแค่รู้จักใช้โซเชี่ยลมีเดียของตัวเองให้เป็นประโยชน์เช่น Facebook , Line , Instragram เป็นต้น เราสามารถอัพเรื่องราวหรือภาพสวยๆ โพสต์ให้คนรู้จักร้านเราได้มากขึ้น อาจมีลูกค้าเพิ่มมากขึ้นด้วย

คำนวณต้นทุนกำไรต่อไม้ “ชาบูเสียบไม้”

15

ภาพจาก bit.ly/36PuGN6

เราทราบดีว่า “ชาบูเสียบไม้” จุดเด่นคือวัตถุดิบที่หลากหลาย ซึ่งเราต้องไปเลือกซื้อจากตลาดหรือในห้างสรรพสินค้า โดยวัตถุดิบแต่ละอย่างก็มีราคาที่แตกต่าง ปริมาณที่แตกต่าง เมื่อนำมาเสียบไม้ก็ทำให้ต้นทุนในวัตถุดิบแต่ละไม้นั้นต่างกัน ยกตัวอย่าง หมึกหลอดยัดไส้ปูอัด ต้นทุนต่อชิ้นประมาณ 3 บาท 1 ไม้ เสียบ 3 ชิ้น ต้นทุนต่อไม้ประมาณ 10 บาท

เต้าหู้ปลา ต้นทุนตกเม็ดละ 1 บาท 1 ไม้เสียบ 4 ชิ้น ขายไม้ละ 10 บาท หรือลูกชิ้นไก่เสียบ 4 เม็ด ขายไม้ละ 10 บาท ไส้กรอกค็อกเทล เสียบไม้ละ 3 ชิ้น เป็นต้น ในส่วนของผักเช่น เห็ดเข็มทองประมาณ 15-20 กรัม ต้องแบ่งจำนวนก่อนแล้ว

นำเบคอนมาห่อกับเห็ดเข็มทองใช้ไม้เสียบพักไว้ก่อน (ต้องม้วนให้แน่น) 1 ไม้เสียบได้ประมาณ 3 ชิ้น ,เห็ดออริจิ 1 ไม้ประมาณ 3 ชิ้น , บล็อกเคอรี่ 1 ไม้ประมาณ 3 ชิ้น เป็นต้น ราคาขายโดยเฉลี่ยของชาบูเสียบไม้จึงไม่ควรต่ำกว่าไม้ละ 10 บาท เพื่อเป็นการถัวเฉลี่ยกำไรที่ไม่เท่ากันในวัตถุดิบแต่ละอย่าง

สูตรการทำซุปชาบูน้ำดำ

14

ภาพจาก bit.ly/3hLageK

และเพื่อให้คนที่สนใจเปิดร้านมองเห็นภาพมากขึ้น สิ่งที่ควรทำฝึกทำคือน้ำซุปที่มีหลายสูตรในที่นี้จะยกตัวอย่างซุปชาบูน้ำดำที่หลายคนรู้จักกันดี โดยมีวิธีการทำดังนี้

  1. ใส่น้ำเปล่าลงในหม้อ (ปริมาณขึ้นอยู่กับความเข้มข้นที่ชอบ) นำขึ้นตั้งไฟต้มจนเดือด
  2. ใส่เนื้อปลาโอแห้งลงไป ต้มต่อ 2 นาทีจนเริ่มเดือดแล้วตักเนื้อปลาออก
  3. ปรุงรสด้วยซอสถั่วเหลืองญี่ปุ่นและน้ำตาลทรายแดงป่น คนให้เข้ากัน จากนั้นเติมเหล้าสาเกและมิรินลงไปคนให้เข้ากันอีกครั้ง ชิมรสให้ออกหวานและเค็มตามชอบ

ซึ่งแน่นอนว่าในการคำนวณต้นทุนกำไร เราต้องบวกต้นทุนจากการทำน้ำซุปแต่ละชนิดเข้าไปด้วย เพื่อให้เป็นตัวเลขต้นทุนที่ชัดเจนให้เราตั้งราคาขายได้มีกำไรอย่างแท้จริง

ทำเลดีกำไรต่อวัน 500-1,000 บาท

13

ภาพจาก bit.ly/2VLGTjJ

ปัจจุบันมีร้านชาบูเสียบไม้หลายแห่งที่คนรู้จักกันดี เช่น ร้านชาบูเต็มสิบ , ร้าน Shabu Express , ร้าน Shabu in Black , ร้านคอชาบู เป็นต้น ส่วนใหญ่ขายชาบูเสียบไม้ราคาไม้ละ 10-15 บาท ผักฟรี น้ำซุปฟรี บางคนมีทำเลการขายที่ดี มีกลยุทธ์การตลาดที่น่าสนใจ รายได้ต่อวันหลังหักค่าใช้จ่ายอาจได้ถึง วันละ 700-1,000 บาท

อาจมองดูเป็นตัวเลขที่น่าสนใจแต่ก็ใช่ว่าจะขายได้เท่ากันทุกวัน กำไรต่อเดือนรวมๆ แล้วอาจไม่สูงเท่ากับการเปิดร้านชาบูโดยตรง หรือเปิดร้านหมูกระทะ แต่ในสถานการณ์เช่นนี้ การสร้างรายได้เพิ่ม และมีเงินหมุนเวียนใช้ในแต่ละวันก็ถือเป็นเรื่องดีที่สุด บางคนที่ลงทุนทำร้านชาบูเสียบไม้ประสบความสำเร็จถึงขนาดเปิดขายแฟรนไชส์ได้ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีการลงทุนที่น่าสนใจในยุคนี้

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3hOtiRd

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด