เปิดร้าน 7-Eleven ต้องใช้เงินเท่าไหร่ รายได้มากแค่ไหน คุ้มหรือไม่คุ้ม?
เปิดร้าน 7-Eleven ต้องใช้เงินเท่าไหร่ รายได้มากแค่ไหน คุ้มหรือไม่คุ้ม? เปิดแฟรนไชส์ร้าน 7-Eleven หรือการเป็น Store Business Partner จะมีให้เราเลือก 2 รูปแบบ
รูปแบบที่ 1
- เงินลงทุน 4.8 แสนบาท
- เงินประกัน 1 ล้านบาท
รวมแล้วต้องมีเงินให้กับทาง 7-Eleven 1.48 ล้านบาท อายุสัญญา 6 ปี
ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะเข้าไปเป็นผู้จัดการร้าน มีเงินเดือน 29,000 บาท ต้องบริหารค่าใช้จ่ายให้ได้ตามงบ ย้ำว่าค่าใช้จ่ายนะครับไม่ใช่ยอดขาย ค่าใช้จ่ายก็มี ค่าจ้างพนักงาน ค่าน้ำค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์หลัก
ถ้าบริหารแล้วได้ตามเป้างบค่าใช้จ่าย จะมีปันผลแบ่งยอดกำไรจากการขายให้ 20-30% ในส่วนที่มียอดขายเกินเป้า
แล้วถามว่า ผู้จัดการร้านจะเข้าไปดูแลร้าน 7-Eleven ที่ไหน มาดูข้อมูลพื้นฐานกันก่อนว่าปัจจุบันร้าน 7-Eleven มีจำนวนราวๆ 14,000 สาขาทั่วประเทศ
แบ่งเป็นร้านซีพีออลล์ 49%, ร้าน Store Business Partner (แฟรนไชส์ซี) 45% และร้านที่ได้รับสิทธิช่วงอาณาเขต (แฟรนไชส์ซีต่างจังหวัด) 6%
โดยร้าน 7-Eleven ที่ซีพีออลล์บริหารเองนั่นแหละ จะเป็นร้านที่คนสมัครแฟรนไชส์รูปแบบนี้เข้าไปดูแล และเราสามารถเลือกสาขาไหนก็ได้
มาดูรูปแบบที่ 2 กันต่อ
- เงินลงทุน 1.73 ล้านบาท
- เงินประกัน 9 แสนบาท
รวมแล้วต้องมีเงินให้กับทาง 7-Eleven 2.63 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี
ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้ส่วนแบ่งจากกำไร 54% (ยังไม่ได้หักค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจ้างพนักงาน และอื่นๆ ในร้าน)
ในส่วนเงินค้ำประกันของทั้ง 2 รูปแบบลงทุน จะได้รับคืนเมื่อสิ้นสุดสัญญา โดยจะได้รับดอกเบี้ยคืนทุกปี ตามอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารกรุงเทพ ณ วันที่ 1 มกราคม
หลายคนเริ่มสงสัยแล้วว่า เอ๊ะ! ทำไม ผู้ซื้อแฟรนไชส์ 7-Eleven ไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า วัสดุอุปกรณ์ และการตกแต่งร้านเลยเหรอ ลืมบอกไปว่าเงินในส่วนตรงนี้ทางซีพีออลล์จะออกให้ทั้งหมด
มาดูกันต่อเลยว่า รายได้ของ 7-Eleven แต่ละสาขาเป็นเท่าไหร่
- 7-Eleven มีจำนวนลูกค้าต่อสาขาต่อวันเฉลี่ย 916 คน
- ยอดซื้อต่อบิล 84 บาท
- ยอดขายเฉลี่ย 76,582 บาทต่อสาขาต่อวัน
- หากคิดเป็นรายเดือนจะอยู่ที่ 2,297,460 บาท
- กำไรของธุรกิจค้าปลีกประมาณการคร่าวๆ อยู่ที่ 15%
เมื่อนำยอดขายมาหัก 15% ออกก็จะเหลือรายได้ 344,619 บาท/เดือน/สาขา (ยังไม่หักค่าจ้างพนักงาน และค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆ)
มาดูค่าใช้จ่ายในร้านมีอะไรบ้าง
- ค่าจ้างพนักงาน 6 คน 72,000 บาท/เดือน
- ค่าน้ำ+ค่าไฟ 50,000 บาท/เดือน
- สินค้าหมดอายุ+อุปกรณ์ต่างๆ ชำรุด 20,000 บาท/เดือน
รวมค่าใช้จ่ายในร้านเฉลี่ย 142,000 บาท/เดือน
มาดูรายได้กัน 344,619 – 142,000 = 202,619
นำมาหักส่วนแบ่งที่เราจะมีรายได้ 54% = 109,414 บาท/เดือน
แต่อย่าลืมหักค่าแรงของเราด้วย ถ้าคิดค่าแรง 50,000 ก็จะเหลือกำไร 109,414 – 50,000 = 59,414 บาท/เดือน
ในส่วนของ ค่าเช่าตึก + ค่าเช่าที่ดิน ซึ่งบางสาขาเราจะเห็นเป็นลานจอดรถกว้างมาก ทางซีพีออลล์จะเป็นผู้รับชอบค่าใช้จ่ายในส่วนตรงนี้ทั้งหมด รวมถึงรายได้จากค่าเช่าพื้นที่ขายของ ค่าติดตั้งตู้ ATM และอื่นๆ ก็จะเป็นของซีพีออลล์
มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะร้องโอ้ว!! เปิดร้าน 7-Eleven รายได้ดีขนาดนี้เหรอ ขอบอกให้รู้ก่อนเลยคับว่า รายได้ที่เห็นนี้เป็นค่าเฉลี่ยแต่ละสาขาทั่วประเทศของ 7-Eleven บางสาขารายได้เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วไม่ถึงหลักแสนก็มี แต่บางสาขาที่อยู่ในทำเลดีๆ ลูกค้าใช้บริการเป็นพันคนต่อวัน รายได้อาจจะดีหน่อยตกอยู่ที่ 2-3 แสนบาท/เดือน
กรณีที่สาขาไหนมียอดขายดี ลูกค้าเยอะๆ เราอาจจะเคยเห็นร้าน 7-Eleven เปิดสาขาใกล้ๆ กัน เหตุผลก็เพราะทาง 7-Eleven มองว่าพื้นที่นั้นมีความเจริญ จำนวนลูกค้าเพิ่มมากขึ้น ทำให้การบริการของสาขาเดิม ไม่ทันกับความต้องการของลูกค้า จึงเป็นสาเหตุให้มีร้าน 7-Eleven เข้ามาเปิดใหม่ เพื่อบริการลูกค้าได้รวดเร็ว
แต่ก่อนเปิดสาขาใหม่ใกล้สาขาเดิม บริษัทฯ จะให้สิทธิ Store partner เจ้าเดิมพิจารณาความพร้อมในการเปิดสาขาใหม่ ถ้าพร้อม Store partner ก็สามารถใช้สิทธิบริหารร้านใหม่ได้เลย แต่ถ้าไม่พร้อม บริษัทฯ จะเปิดร้านรอไว้ เพื่อให้ Store partner มารับโอนไปในอนาคตเมื่อพร้อม ซึ่งในระหว่างนั้นบริษัทฯ ก็จะมีการประกันรายได้ให้สาขาเดิมด้วย
ปัจจัยสำเร็จของการเปิดร้าน 7-Eleven นอกจากทำเลที่ตั้ง จำนวนลูกค้า การบริหารจัดการบุคลากรแล้ว คนที่เป็น Store Business Partner ควรดูแลร้านด้วยตนเอง เพราะบางครั้งการจ้างคนอื่นมาบริหาร อาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม หรือโดนโกง และอาจจะทำให้ร้านของเราเสียหาย ไม่มีความเป็นมาตรฐาน อาจจถูกยกเลิกสัญญาได้
ใครมีความรู้หรือประสบการณ์เปิดร้าน 7-Eleven สามารถแชร์ความคิดเห็นเข้ามากันได้เลยคับ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187