เปิดขั้นตอน สมัครเครื่องหมาย SHA และ SHA+ สำหรับธุรกิจที่พัก ร้านอาหาร บริษัทนำเที่ยว

หลังจากเปิดประเทศวันแรก (1 พ.ย. 2564) มีตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 2,424คนและคนไทยเดินทางกลับจากต่างประเทศอีกบางส่วนรวมมีคนเดินทางเข้าประเทศประมาณ 3,000 คน รวมวันที่ 1-5 พ.ย.นี้ มีสายการบินต่างชาติทั่วโลกที่จะทำการบินเข้า และออกประเทศไทย มีทั้งหมด 27 สายการบิน มีผู้โดยสารรวม 15,230 คน ขั้นตอนต่อไปของคนที่เดินทางเข้าประเทศเหล่านี้คือการตรวจสอบเอกสารและหลักฐานตามมาตรฐานความปลอดภัย จากนั้นจึงเดินทางไปยังที่พักตามมาตรฐาน SHA+

พูดถึงตรงนี้ www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่ามีหลายคนที่สงสัยว่า SHA , SHA+ คืออะไรเพราะตอนนี้มีคนพูดถึงมากลองไปดูข้อมูลเหล่านี้เพื่อทำความเข้าใจพร้อมกัน

SHA มาตรฐานความปลอดภัยของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

สมัครเครื่องหมาย SHA

ภาพจาก https://web.thailandsha.com/

SHA นั้นย่อมาจาก Amazing Thailand Safety & Health Administration เป็นโครงการที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. นั้น ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข หน่วยงานจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการยกระดับมาตรการความสะอาดหรือความปลอดภัยด้านสุขอนามัย

จุดมุ่งหมายของ SHA คือกระตุ้นให้สถานที่ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนั้นเพิ่มความรัดกุมกับสินค้าและบริการ โดยคำนึงถึงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 19 ให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นไปอย่างปลอดภัยและถูกต้องตามหลักสุขอนามัย โดยเครื่องหมาย SHA นั้น เป็นสัญลักษณ์ที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ โดยกำหนดให้ 10 กิจการต่อไปนี้สามารถของเครื่อหมาย SHA ได้

  1. ร้านอาหาร
  2. โรงแรมหรือที่พัก
  3. สถานที่ท่องเที่ยว
  4. ยานพาหนะ
  5. บริษัทนำเที่ยว
  6. กิจการเกี่ยวกับสุขภาพและความงาม
  7. ห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้า
  8. กีฬาเพื่อการท่องเที่ยว
  9. การจัดกิจกรรม/จัดประชุม/โรงละคร/โรงมหรสพ และร้านค้าต่าง ๆ

สมัครเครื่องหมาย SHA

ภาพจาก www.thailandsha.com/

ส่วนเครื่องหมาย SHA+ หมายถึงต้องมีพนักงานในสถานที่ประกอบการหรือกิจการที่ได้รับวัคซีน COVID-19 ครบโดส อย่างน้อย 70% ของพนักงานทั้งหมดในองค์กร

หลักเกณฑ์พิจารณาก่อนมอบเครื่องหมาย SHA

มาตรฐานเบื้องต้นจากกรมควบคุมโรคของทุกสถานประกอบการ มี 3 องค์ประกอบ คือ

  1. สุขลักษณะอาคารและอุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีอยู่ในอาคาร
  2. การจัดอุปกรณ์ทำความสะอาดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค
  3. การป้องกันสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานโดยมีรายละเอียดของมาตรฐานเฉพาะประเภทกิจการเพิ่มเติม

ซึ่งทาง ททท.จะเป็นผู้ควบคุมการออกตราสัญลักษณ์โดยการระบุหมายเลขของตราสัญลักษณ์ SHA ให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อบันทึกเป็นฐานข้อมูลรายชื่อ ซึ่งมีอายุ 2 ปี และหากพบว่าผู้ประกอบการไม่สามารถรักษามาตรฐาน SHA ได้ ในเบื้องต้นจะแจ้งให้ผู้ประกอบการพัฒนาและปรับปรุง หากยังไม่สามารถรักษามาตรฐานได้ก็จำเป็นต้องเพิกถอนตราสัญลักษณ์และตัดรายชื่อออกจากฐานข้อมูล SHA

ขั้นตอนการลงทะเบียนเพื่อรับตราสัญลักษณ์ SHA

สมัครเครื่องหมาย SHA
ภาพจาก https://bit.ly/3CBQdqY

  1. สถานประกอบการศึกษาแนวทางปฏิบัติตามมาตรฐาน SHA และปรับปรุงสถานประกอบการให้เป็นไปตามมาตรฐาน
  2. เริ่มต้นการสมัครสมาชิกผ่าน https://thailandsha.tourismthailand.org
  3. กรอกข้อมูลการสมัครสมาชิกให้ครบถ้วน ใส่ชื่อสถานประกอบการ (ตามป้ายร้านค้า) , ใส่อีเมลล์ และคลิ๊กยืนยัน
  4. ตรวจสอบอีเมลอีกครั้ง และคลิก “ยืนยันอีเมล” เพื่อเข้าสู่ระบบในหน้าเว็บไซต์
  5. กลับไปที่เมนูหลัก เพื่อทำการลงทะเบียนผู้ประกอบการโดยคลิก “ลงทะเบียนผู้ประกอบการ” หลังจากนั้นจึงคลิก เลือกประเภทกิจการ
  6. กรอกข้อมูลผู้ประกอบการ ให้ครบทุกช่อง พร้อมทั้งคลิก “อัปโหลดโลโก้” เพื่ออัปโหลดโลโก้ของร้าน และคลิก “Browse” และ “ยืนยัน” เพื่ออัปโหลดรูปที่ต้องการใช้ในการประชาสัมพันธ์
  7. กรอกข้อมูลติดต่อและข้อมูลอื่นๆ ของผู้ประกอบการ เช่น ธุรกิจของเราได้ลงทะเบียนแอปพลิเคชั่น “ไทยชนะ”, หรือเลือกว่าธุรกิจของเรา เป็นสมาชิกสมาคมใด และเลือกประเภทใบอนุญาตประกอบกิจการ และแนบไฟล์ใบอนุญาต เป็นต้น
  8. กรอกข้อมูลทำรายงานมาตรฐานเบื้องต้น และ ข้อกำหนดมาตรฐาน ให้ครบทุกข้อพร้อมแนบไฟล์รูปภาพเพื่อประกอบการพิจารณา แล้วคลิก “ต่อไป” จนครบทุกหน้า หลังจากนั้นจึงตรวจสอบข้อมูล และคลิก “รับรองว่าข้อความข้างต้นถูกต้องตามความจริง” พร้อมกด “ยืนยัน”
  9. เว็บไซต์จะแสดงหน้าจอผลการลงทะเบียนที่สำเร็จแล้ว ในขั้นตอนนี้สามารถตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนได้ที่เมนู “ตรวจสอบสถานะ”

ทั้งนี้การขอรับมาตรฐานจาก SHA ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น หลังจากที่ ททท. รวบรวมข้อมูลทำการตรวจสอบตามขั้นตอนต่างๆ จึงทำการมอบตราสัญลักษณ์ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 – 3 สัปดาห์

สมัครเครื่องหมาย SHA

ภาพจาก https://bit.ly/2Y6ehDm

ข้อมูลล่าสุดตอนนี้มีสถานประกอบการที่ได้รับมาตรฐานทั้งหมดจำนวน 3,386 รายการประกอบด้วย

  • ภัตคาร/ร้านอาหาร 1,350 ร้าน
  • โรงแรม/ที่พัก/โฮมสเตย์ 657 แห่ง
  • นันทนาการ/สถานที่ท่องเที่ยว 51
  • ยานพหานะ 319 รายการ
  • บริษัทนำเที่ยว 451 บริษัท
  • สุขภาพและความงาม 190 แห่ง
  • ห้างสรรพสินค้า/ศูนย์การค้า 88 แห่ง
  • กีฬาเพื่อการท่องเที่ยว 9 รายการ
  • การจัดกิจกรรมประชุม/โรงละคร 70 แห่ง
  • ร้านค้าของที่ระลึกและร้านค้าอื่นๆ 183 ร้าน

นอกจากนี้ยังมีกิจการที่ยื่นขอ SHA+ จำนวน 324 รายการ และผ่านการประเมิน SHA+ จำนวน 198 รายการ

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3w78Pg3 , https://bit.ly/2ZFnK5C , https://bit.ly/3GB6leZ , https://bit.ly/3w2iV1P

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3k0kdps


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

 

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด