เปิด 4 เคล็ดลับ “ทุนจีน” เทคนิค “กินรวบ” ที่ควรรู้!
ธุรกิจของ ทุนจีน ที่ปรากฏในเมืองไทยตอนนี้ผุดขึ้นมาราวกับดอกเห็ดเอาเท่าที่เห็นๆ และเป็นข่าวก็ไล่มาตั้งแต่ MIXUE , WeDrink , Zhengxin Chicken , Cotti Cofee , TEMU และยังไม่รวมอีกหลายธุรกิจทั้งขนาดเล็ก- ขนาดใหญ่ ที่จ่อเข้ามาในเมืองไทยต่อจากนี้
และเรื่องสินค้าจีนตอนนี้ก็ลามไปถึง “ชามตราไก่” ซึ่งผู้ประกอบการที่ลำปางบอก่าชามตราไก่จากจีนได้เข้ามาตีตลาดในประเทศไทย โดยขายราคาต่ำกว่าทุน 3-5 เท่า ส่งผลให้ผู้ประกอบการและโรงงานเซรามิคใน จ.ลำปาง ได้รับกระทบอย่างหนัก จนถึงขั้นขาดทุนและปิดตัวลงนับร้อยแห่งอีกด้วย
หากจะไปวิเคราะห์กันว่าทำไม ทุนจีน ถึงหลั่งไหลเข้ามาในเมืองไทยก้มีหลายแง่มุมน่าสนใจ เช่น
- สินค้าจีนมีข้อจำกัดในการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และยุโรป ทำให้ต้องหันมาระบายสินค้าหรือตั้งฐานการผลิตในไทย
- การลงทุนในประเทศอื่นเป็นวิธีหนึ่งในการสร้างและเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการเมือง
- การลงทุนในหลายประเทศช่วยลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาตลาดเดียว
- ในประเทศไทยเป็นตลาดใหญ่ ที่มีกำลังการซื้อสูง ยิ่งเป็นสินค้าที่ราคาไม่แพง คนไทยยิ่งชอบ
- การสนับสนุนจากรัฐบาลจีนในนโยบายนโยบาย “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiative) ที่สนับสนุนการลงทุนและการค้าในหลายประเทศ
และถ้าวิเคราะห์ไปถึงจุดเด่นของคนจีนที่ “หัวการค้า” มีแนวคิดแบบ “นักธุรกิจ” เป็นทุนเดิม ผสมผสานกับความได้เปรียบในหลายปัจจัยที่กล่าวมา การตีตลาดเมืองไทยจึงไม่ใช่เรื่องยากถึงขนาดที่มีคนกล่าวว่า “จีนบุกไทย ง่ายกว่าไทยไปบุกจีน”
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าในหมวดแฟชั่น เครื่องแต่งกาย และ เฟอร์นิเจอร์ ซึ่งวันนี้มีอัตราการผลิตในโรงงานไม่ถึง 50% ของกำลังการผลิต ซํ้าเติมในด้านต้นทุนที่ไม่สามารถแข่งขันได้ และในระยะยาว ธุรกิจเหล่านี้ส่อแวว “ไม่ได้ไปต่อ”
ถ้าเราไล่เรียงทีละประเด็นว่า “จีน” มีเคล็ดลับอะไรในการทำธุรกิจชนิดที่หลายคนมองว่าจะกินรวบ ก็พบว่า
1.จีนเริ่มต้นจากการเป็นโรงงานของโลก
ภาพจาก www.facebook.com/HisenseThai
ด้วยการรับจ้างผลิตของง่าย ๆ ก่อนจะค่อย ๆ เรียนรู้การผลิตและการพัฒนาธุรกิจที่ซับซ้อนมากขึ้น จนสามารถสร้างแบรนด์ตัวเองขึ้นมาตัวอย่างที่ชัดเจน คือ Hisense ที่เคยรับจ้างผลิตให้กับแบรนด์ญี่ปุ่นอย่าง Toshiba, Hitachi ก่อนหันมาทำเอง และปัจจุบันขายทีวี จนครองส่วนแบ่งตลาดได้เป็นอันดับ 2 ของโลก ก็ยังไม่รับรวมอีกหลายสินค้าทั้งสมาร์ทโฟน และรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบันด้วย
2.ชูจุดเด่นราคาถูก สินค้ามีให้เลือกเยอะ
กรณีของ Mixue, Wedrink, Cotti Coffee, Zhengxin รวมถึง TEMU เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด เน้นราคาให้ผู้บริโภคทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงได้ เริ่มต้นหลักสิบบาท และถูกกว่าแบรนด์อื่น ๆ ในตลาดจะเห็นว่า แบรนด์จีนส่วนใหญ่มักยึดกลยุทธ์เน้นกำไรน้อยเพราะขายราคาถูก แลกกับการเข้าถึงลูกค้าขนาดใหญ่ได้
3.ตัดต้นทุนที่ไม่จำเป็นออกไป
ภาพจาก https://th.shein.com
เป็นอีกกลยุทธ์ในการ “ดั๊มราคา” สินค้าและบริการ ที่ใช้ได้ผลมาก ยกตัวอย่างชัดเจนคือ SHEIN ที่ไม่มีหน้าร้านแบบ Zara, H&M หรือ Uniqlo มีแต่แพลตฟอร์มออนไลน์ของตัวเอง ทำให้ SHEIN เชื่อมต่อกับลูกค้าโดยตรง แถมยังไปทั่วโลกได้ง่ายกว่าและพอไม่มีหน้าร้าน ต้นทุนก็ลดลงมาก ยอดขายก็กลายเป็นกำไรได้มากขึ้น หรืออย่าง TEMU ใช้วิธีดีลกับโรงงานหรือผู้ผลิตสินค้าโดยตรง รอให้ลูกค้าเข้ามาสั่งแบบ Group Buying หรือสั่งมาทีเดียว ก่อนจะผลิตและส่งให้ลูกค้าภายหลัง
4.ยิ่งมีซัพพลายเออร์มาก ต้นทุนก็ยิ่งถูกลง
ภาพจาก https://www.facebook.com/BYDReverThailandOfficial
กรณีนี้ต้องยกตัวอย่างรถยนต์ไฟฟ้าที่เข้ามาตีตลาดเมืองไทย ค่ายรถอื่นๆ บ่นว่าสู้ราคาแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าจากจีนไม่ได้ก็เพราะในจีนมีบริษัทผลิตแบตเตอรี่อย่าง CATL รวมทั้ง BYD ที่มีโรงงานผลิตแบตเตอรี่ของตัวเอง
ทำให้สามารถควบคุมต้นทุนแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าได้ดี หรือการที่ Mixue มีโรงงานผลิตวัตถุดิบของตัวเอง มีครัวกลาง และระบบเครือข่ายคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพ ก็สามารถควบคุมต้นทุนธุรกิจตัวเองได้เช่นกัน
ซึ่งมีการวิเคราะห์กันไปอีกว่าในช่วงเปิดตลาดแบบนี้ ธุรกิจจีนจะใช้วิธีดั๊มราคาเพื่อดึงลูกค้า ในช่วงต้นก็หวังกำไรน้อยๆ เน้นขายในปริมาณมากๆ ถ้าไปดูตัวเลขก็ยิ่งชัดเจน โดยพบว่าธุรกิจจีนส่วนใหญ่มักมีอัตรากำไรสุทธิไม่ถึง 10% ยกตัวอย่างเช่น
- Hisense อัตรากำไรสุทธิ 3%
- BYD อัตรากำไรสุทธิ 5%
- SHEIN อัตรากำไรสุทธิ 5%
- Xiaomi อัตรากำไรสุทธิ 6%
แต่พอสินค้าเริ่มฮิตเริ่มติดตลาด และเริ่มมีส่วนแบ่งการตลาดมากขึ้น สินค้าเหล่านี้ก็จะเริ่มพัฒนาคุณภาพให้สูงขึ้น ราคาแพงขึ้น จนถึงเวลานั้นลูกค้าก็ต้องซื้อเนื่องจากไม่มีคู่แข่งที่ไหนเหลืออยู่แล้ว ด้วยประเด็นต่างๆ เหล่านี้จึงเป็นที่วิตกกังวลของ SMEs เมืองไทยรวมถึงธุรกิจต่างๆ ที่หากสู้ไม่ได้ก็มีแต่จะตายเรียบ
ในฐานะลูกค้าอาจมองว่าเป็นผลดีที่ได้สินค้าหลากหลายราคาไม่แพง แต่ถ้ามองการณ์ไกลในระยะยาวหากภาครัฐไม่มีมาตรการใดๆ มาสนับสนุนหรือช่วยเหลือผู้ประกอบการเมืองไทยให้ชัดเจน ผลกระทบที่ตามมาอาจได้ไม่คุ้มเสีย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)