เปิด 10 อาชีพเสริม หารายได้สุดเจ๋ง! ยุค COVID 19

ไตรมาสแรกของปีนี้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะเติบโตที่ 2.6% แต่จาก COVID 19 ระลอกใหม่ในเดือนเมษายน ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับลดการเติบโตเศรษฐกิจไทยเหลือ 1.8% ส่วนตัวเลขผู้ติดเชื้อก็ยังมีเพิ่มต่อเนื่อง ยอดเฉลี่ยต่อวันไม่ต่ำกว่า 2,000 คนและมีผู้ป่วยสะสมรวมกว่า 96,050 ราย และประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อเป็นอันดับที่ 99 ของโลก ซึ่งสถานการณ์แบบนี้เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด คนหาเช้ากินค่ำ คนที่รายได้แทบไม่พอใช้จ่าย มาเจอการระบาดรอบนี้แทบคิดกันไม่ออกว่าจะหารายได้เสริมจากทางไหนดี ด้วยเหตุนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จึงได้รวบรวม อาชีพเสริม ไว้เป็นตัวเลือกให้กับคนที่อยากมีรายได้เพิ่ม ได้ลองเลือกลงทุนในอาชีพเหล่านี้เผื่อบางทีจะได้ผ่อนหนักให้เป็นเบาได้บ้าง

1. ขายของออนไลน์

อาชีพเสริม

ภาพจาก freepik

น่าจะเป็นตัวเลือกแรกๆของ อาชีพเสริม ที่เราคิดออกยิ่งสถานการณ์ตอนนี้เป็นปัจจัยบวกมากขึ้นในค้าขายออนไลน์เหตุผลคือคนส่วนใหญ่ไม่อยากออกจากบ้าน ไม่อยากไปเดินห้างสรรพสินค้า การสั่งสินค้าออนไลน์จึงเป็นช่องทางลงทุนที่น่าสนใจ ใครที่มีแผนว่าจะเปิดร้านขายของออนไลน์ เวลานี้จึงอาจเป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุด ที่จะทำให้ร้านค้าของเราเป็นที่รู้จัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นสินค้าที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ สเปรย์ฆ่าเชื้อ เครื่องกรองอากาศ ที่แม้จะมีคู่แข่งเยอะมาก แต่ถ้าสินค้าเราดีมีคุณภาพ บริการดี ก็น่าจะมียอดขายที่ดีได้เช่นกัน

2. รับทำข้าวกล่องเดลิเวอรี่

อาชีพเสริม

ภาพจาก freepik

หลายคนพยายามเลี่ยงการเข้าไปในที่ชุมชน เช่น ตลาด ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า หรือบางคนเพิ่งกลับจากต่างประเทศเลยต้องกักตัวเอง 14 วัน เพื่อความปลอดภัย จึงสั่งอาหารทางออนไลน์แทน ซึ่งถ้าเรารับทำข้าวกล่องหรือขนมจัดส่งเดลิเวอรี่ได้ ก็เป็นช่องทางหารายได้ที่น่าสนใจ หรือถ้าร้านไหนขายอาหารอยู่แล้ว แต่ยังไม่เคยทำแบบออนไลน์ นี่เป็นโอกาสสร้างรายได้เพิ่มที่ดีมาก

3. สอนพิเศษ / ติวเตอร์ (เน้นตามบ้าน)

อาชีพเสริม

ภาพจาก freepik

โชคดีอย่างหนึ่งที่ตอนนี้อยู่ในช่วงปิดภาคเรียน แต่ปัญหาคือทุกโรงเรียนงดการสอนซัมเมอร์ พ่อแม่ผู้ปกครองจึงมองหาครูสอนพิเศษ หรือติวเตอร์มาสอนทดแทน ก็เป็นโอกาสของคนที่มีความสามารถด้านการเป็นติวเตอร์ ที่จะหารายได้ในช่วงนี้ได้มากขึ้น รวมถึงอาจพัฒนามาเป็นการสอนแบบคอร์สออนไลน์ ที่สามารถสอนผู้เรียนได้มากขึ้น เป็นอีกหนึ่งช่องทางสร้างรายได้ในช่วงเวลานี้

4. ทำน้ำสมุนไพรจำหน่าย

อาชีพเสริม

ภาพจาก freepik

กระแสรักสุขภาพตอนนี้มาแรง ยิ่งการแพร่ระบาดของโควิด-19 เข้ามาเสริมทำให้คนหันมาสนใจเรื่องสุขภาพมากขึ้นหลายเท่าตัว การทำน้ำสมุนไพรก็เป็นทางเลือกในการสร้างอาชีพที่น่าสนใจและมีสมุนไพรหลายอย่างที่เอามาทำน้ำขายได้ไม่ว่าจะเป็น น้ำฟ้าทะลายโจรที่เชื่อว่ามีสรรพคุณป้องกันและลดความเสี่ยงการติดเชื้อโควิด-19 ได้ หรือจะเป็นน้ำสมุนไพรอื่นๆ ที่มีสรรพคุณในการป้องกันโรค เช่น น้ำใบบัวบก น้ำมะตูม น้ำกระเจี๊ยบ น้ำขิง น้ำอัญชัญ เป็นต้น วิธีการทำน้ำสมุนไพรเหล่านี้ก็ไม่ยาก ขอแค่ให้สะอาด มีคุณภาพมาตรฐานที่ดี ยังไงก็มีลูกค้าพร้อมซื้อจำนวนมากแน่นอน

5. ทำเจลล้างมือขาย

อาชีพเสริม

ภาพจาก freepik

นอกจากหน้ากากอนามัยอีกหนึ่งไอเท็มที่คนพูดถึงมากก็คือ เจลล้างมือที่ขาดตลาดไม่แพ้กัน อาชีพเสริมทำเจลล้างมือขายจึงน่าสนใจ เพราะมีวิธีทำที่ไม่ยาก มีส่วนผสมหลักๆ เช่นคาร์โบพอล เป็นผงที่ทำให้เกิดเป็นเนื้อเจล โดยสามารถหาซื้อได้จากร้านขายเคมีภัณฑ์ , แอลกอฮอล์ 70% ที่ใช้สำหรับฆ่าเชื้อ หาซื้อได้จากร้านขายยาทั่วไป ,กลีเซอรีน ซึ่งสามารถหาซื้อได้จากร้านขายยาทั่วไปเช่นเดียวกัน ,น้ำสะอาด ใช้ประมาณครึ่งแก้ว โดยขั้นตอนในการทำแอลกอฮอล์เจล ได้แก่
  1. ละลายผงคาร์โบพอลก่อน โดยใช้ประมาณครึ่งช้อน ผสมกับน้ำครึ่งแก้ว ค่อยๆ คนจนเกิดเป็นเนื้อเจล และเป็นเนื้อเดียวกัน
  2. ผสมแอลกอฮอล์กับกลีเซอรีน โดยใช้แอลกอฮอล์ประมาณครึ่งขวด และกลีเซอรีน 1 ขวดเล็ก คนจนเป็นเนื้อเดียวกัน ทั้งนี้หากใช้แอลกอฮอล์อย่างเดียวจะทำให้ผิวแห้ง จึงเติมกลีเซอรีนเข้าไปด้วยเพื่อให้ความชุ่มชื้น
  3. นำส่วนผสมจากข้อ 1 และ 2 มาผสมให้เข้ากัน
  4. น้ำแอลกอฮอล์เจลที่ได้ ใส่ขวดที่เตรียมไว้และปิดฝาให้สนิท เพื่อนำไปใช้หรือบรรจุขวดจำหน่ายต่อไป

6. ทำงานแฮนด์เมด

อาชีพเสริม

ภาพจาก freepik

สถานการณ์ที่โควิด-19 ระบาดไปทั่ว กระทบมาถึงภาคการท่องเที่ยวที่รายได้ลดลงไปมาก อย่างไรก็ตามเราอาจใช้ช่วงเวลาที่วิกฤติแบบนี้ในการผลิตงานแฮนด์เมดต่างๆ ออกมาจำหน่ายทั้งหน้าร้านหรือว่าจะขายออนไลน์ก็ตาม แต่งานแฮนเมดด์ดังกล่าวก็ขึ้นอยู่กับความสามารถว่าเรามี สกิลที่จะทำอะไรได้บ้าง งานวาดภาพ งานปั้น งานประดิษฐ์ หรืองานที่ใช้ไอเดียต่างๆ สินค้าเหล่านี้แม้ภาะวะเศรษฐกิจจะไม่สู้ดีแต่ก็ยังเป็นสินค้าที่ขายได้ ขึ้นอยู่กับฝีมือของเราเป็นสำคัญ

7. สร้างคลับออนไลน์

8

ภาพจาก bit.ly/3hxeTJo

ยกตัวอย่างในประเทศจีนตอนที่สถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 รุนแรง ธุรกิจหลายแห่งต้องปิดตัวชั่วคราว บางธุรกิจก็ต้องหาทางออกในช่วงวิกฤติที่คนส่วนใหญ่ไม่กล้าออกจากบ้าน โดยมีรายงานผ่านเว็บไซต์ Weibo ของจีนมีคนเสิร์ชคำว่า “เบื่อ” มากขึ้นถึง 626% หรือมีการตั้งกระทู้ว่า “ทำอะไรดี ตอนอยู่บ้านเบื่อๆ” ตอนนี้เป็นกระทู้ที่ติดเทรนด์ไปเรียบร้อยแล้ว สิ่งเหล่านี้นำไปสู่ไอเดียของธุรกิจผับบาร์ที่มีการพัฒนามาเป็นคลาวคลับบิ้ง (cloud clubbing) หรือสถานที่ที่คนจะเข้ามาดูดีเจไลฟ์สดและสื่อสารกับคนดูเหมือนกับอยู่ในคลับจริงๆ แอพที่เป็นที่นิยมก็คือแอพอย่าง Douyin หรือ China’s TikTok อย่างคลับแห่งหนึ่งมีชื่อว่า TAXX ได้ถือโอกาสนี้เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสด้วยการปรับเปลี่ยนเป็นคลับออนไลน์

8. ปลูกต้นไม้ขาย

7

ภาพจาก bit.ly/2RTIvpS

จะไปไหนก็กลัวไวรัส ไปเดินห้างก็กลัวไม่ปลอดภัย แถมช่วงนี้มีข่าวงดจัดกิจกรรมสงกรานต์กันไปแล้วในหลายพื้นที่เรียกว่าเป็นช่วงเวลาที่เราจะได้อยู่บ้านมากที่สุดกันเลยทีเดียว อาชีพเสริมที่น่าสนใจในภาวะแบบนี้คือ การปลูกต้นไม้ขาย เนื่องจากเรามีเวลามากขึ้น อยู่กับบ้านมากขึ้น และคนส่วนใหญ่ก็หันมาสนใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย ต้นไม้ที่ขายก็อาจจะเริ่มจากง่ายๆ เช่น ไม้ขนาดเล็ก ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้มงคลต่างๆ เชื่อว่าขายได้แน่โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์

9. รับงานฟรีแลนด์

อาชีพเสริม

ภาพจาก freepik

นักศึกษาจบใหม่ช่วงนี้จำนวนมาก สวนทางกับภาวะเศรษฐกิจที่ไม่สู้จะดีนัก อัตราการจ้างงานจึงลดน้อยลง ไหนจะกระแสของเทคโนโลยี กระแสการแพร่ระบาดของไวรัส ล้วนส่งผลแง่ลบทั้งสิ้น คนที่มีความรู้ความสามารถ เช่น มีทักษะด้านคอมพิวเตอร์ ออกแบบกราฟฟิค โปรแกรมเมอร์ ภาษาอังกฤษ อาจหาช่องทางในการรับงานฟรีแลนด์ที่มีข้อดี คือมีอิสระไม่จำกัดเรื่องเวลาเข้างาน แต่ต้องมีความรับผิดชอบและทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีคุณภาพ อันจะส่งผลให้เรากลายเป็นที่รู้จักในกลุ่มคนมากขึ้น และจะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นได้

10. ลงทุนทองคำ

5

ภาพจาก bit.ly/3w63wfH

ใครที่พอจะมีกำลังทรัพย์หน่อย อาชีพเสริม ที่น่าสนใจช่วงนี้แนะนำว่าให้ลงทุนในกองทุนรวมทองคำ ซึ่งใช้เงินลงทุนเริ่มต้นไม่มาก ส่วนใหญ่กำหนดเงินลงทุนไว้ต่ำกว่า 10,000 บาท และสามารถทำการซื้อขายได้สะดวกโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปร้านทอง และปลอดภัยเนื่องจากไม่ต้องกังวลเรื่องการสูญหาย มีมืออาชีพคอยดูแลบริหารจัดการให้ และมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากส่วนต่างมูลค่าหน่วยลงทุน นอกจากนี้ หากต้องการขายทำกำไรหรือทยอยสะสมซื้อ ก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องซื้อหรือขายทองคำแท่งทั้งก้อน สถานการณ์ของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ยังไม่ชัดเจนว่าจะรุนแรงมากขึ้นหรือจะยาวนานอีกสักแค่ไหน แต่ภาพรวมตอนนี้คือกระทบกับรายได้ของคนหาเช้ากินค่ำ มนุษย์เงินเดือน พ่อค้าแม่ค้าและคนทำธุรกิจอีกจำนวนมาก ซึ่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใดๆ ก็ดูจะไม่ชัดเจนและไม่รู้ว่าภายหลังจากสถานการณ์คลี่คลายถึงตอนนั้นคนไทยจะต้องเผชิญอะไรต่อไป ในเมื่อหวังพึ่งคนมีอำนาจให้ช่วยเหลือไม่ได้ก็ต้องพยายามพึ่งตัวเองกันต่อไป อ้างอิงจาก https://bit.ly/3hAkrmr ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี ลักษณะงาน
  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187 ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด