เปลี่ยนแล้วดีไหม? เมื่อ Au Bon Pain รีแบรนด์ชื่อเป็น “อุบลพรรณ”
เป็นเวลากว่า 23 ปีที่คนไทยได้รู้จักกับ Au Bon Pain (อ่านว่า โอ-บอง-แปง) ร้านเบเกอรี่คาเฟ่ชื่อดังที่เข้ามาเปิดสาขาในเมืองไทยครั้งแรกตั้งแต่ปี 2540 โดยชื่อของ Au Bon Pain เป็นภาษาฝรั่งเศสแปลว่า “ร้านที่มีขนมปังอร่อย”
แต่ถึงแม้จะมีชื่อแบรนด์เป็นภาษาฝรั่งเศสแต่ผู้ให้กำเนิด Au Bon Pain กลับเป็นชาวบอสตัน (สหรัฐอเมริกา) ที่ชื่อ “หลุยส์ เคน” ที่ได้แนวคิดในการอบขนมใหม่สดแบบฝรั่งเศสและนำเสนอสินค้าในลักษณะของคาเฟ่เทอเรส ที่มีความหลากหลายของสินค้าต่างๆ
ภาพจาก www.facebook.com/AuBonPainThailand
ทั้งนี้ www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าคนไทยไม่น้อยก็คุ้นกับชื่อของ Au Bon Pain เป็นอย่างดีกระทั่งล่าสุดที่ทำเอาสาวก Au Bon Pain ตกใจกันขีดสุด เมื่อเพจเฟสบุ๊ค Au Bon Pain (Thailand) ประกาศผ่านหน้าเพจว่า “R.I.P. อ.อุบลพรรณ” พร้อมขึ้นตัวอักษรสีขาวพื้นหลังดำเสมือนการไว้อาลัย
เล่นเอาสาวกต่างรีบสืบค้นกันเป็นการใหญ่ว่าเกิดอะไรขึ้นกับ Au Bon Pain จนเรื่องนี้มาถึงบางอ้อที่สุดท้ายแล้วมันคือการ “รีแบรนด์ใหม่” จาก Au Bon Pain เป็น “อุบลพรรณ” พร้อมตั้งชื่อเล่นสั้นๆ อีกว่า “เฌอแปง” มาพร้อมโลโก้ใหม่สีเหลืองสดใส คำถามที่ตามมาหลังจากนี้คือ “เปลี่ยนชื่อทำไม” และ “จะมีอะไรใหม่หลังการเปลี่ยนชื่อบ้าง
จุดกระแสแรง! เล่นคำ R.I.P. คนแห่คอมเม้นต์กันเพียบ
ภาพจาก www.facebook.com/AuBonPainThailand
งานนี้เรียกว่า “เล่นใหญ่ใจถึง” กับทีมตลาดของ Au Bon Pain ที่เลือกจุดกระแสด้วยการใช้คำ R.I.P. ที่งานนี้ไม่ได้หมายถึง Rest in Peace แต่หมายถึง R – Renewed ,I – Identity, P – Personality ขอบอกว่างานนี้ได้ผลแม้จะมีเสียงวิจารณ์ว่าทำไมเล่นแรงแบบนี้ แต่อีกส่วนหนึ่งก็มองว่าไอเดียดี ดึงคนให้สนใจได้มาก โดยกระแสเสียงตอบรับหากวัดเป็นตัวเลขทางออนไลน์ซึ่งโชว์อยู่บนหน้า Facebook Fanpage สามารถเรียกยอด Share และยอด Like พร้อมการคอมเมนท์จากลูกเพจได้จำนวนมาก
ที่สำคัญชื่อ ”อุบลพรรณ” ง่ายๆ บ้าน น่าจะมีส่วนทำให้หลายคนจำง่ายขึ้น ซึ่งแต่ก่อนที่จะรีแบรนด์ หลายคนก็คอมเม้นต์ว่าก็เรียกชื่อ “อุบลพรรณ” หรือบางทีก็เรียกว่า “อุบลเพ็ญ” แต่เป็นการเรียกกันเล่นๆในหมู่ลูกค้าของ Au Bon Pain ที่ไม่นึกว่าวันหนึ่งจะมีการเปลี่ยนเอาชื่อ อุบลพรรณ มาตั้งเป็นชื่อแบรนด์จริงๆ
กระแสตอบรับหลังเปลี่ยนจาก Au Bon Pain เป็น อุบลพรรณ
ภาพจาก www.facebook.com/AuBonPainThailand
นอกจากการเปลี่ยนชื่อใหม่ อุบลพรรณ by Au Bon Pain ก็ยังมีโปรโมชั่นพิเศษตามมาด้วย เช่นเมื่อซื้อแซนด์วิชชิ้นแรกในราคาปกติ (มูลค่า 170 – 225 บาท) รับสิทธิ์แลกซื้อชิ้นที่ 2 เพียง 9 บาท , เมื่อซื้อเครื่องดื่มทุกรายการแก้วแรก ขนาดกลางขึ้นไป ในราคาปกติ (ร้อน, เย็น และปั่น มูลค่า 75 – 165 บาท)แลกซื้อเครื่องดื่มแก้วที่ 2 ในราคาเพียง 9 บาท , เมื่อซื้อเบเกอรี่ชิ้นแรกในราคาปกติ (มูลค่า 65 – 95 บาท)พิเศษแลกซื้อชิ้นที่ 2 ในราคา 9 บาท
นอกจากนี้ถ้าสำรวจไปที่คอมเม้นต์ของลูกค้าพบว่าส่วนใหญ่คิดว่าดี บางคนบอกว่าเรียกชื่อ “อุบลพรรณ” มาเป็น 10 ปีแล้ว หรือการที่มาตั้งชื่อเล่นว่า “เฌอแปง” ก็ทำให้เรียกแบรนด์นี้ง่ายขึ้น จากที่เจาะตลาดคนวัยหนุ่มสาว วัยทำงาน ก็อาจจะเจาะตลาดเพิ่มในกลุ่มผู้ใหญ่ที่จะเรียกชื่อแบรนด์ได้ง่ายขึ้น จำง่ายขึ้น สร้างการรับรู้ให้คนมีต่อแบรนด์ได้ดีกว่าเดิม อันจะเป็นการช่วยเพิ่มยอดขายได้ในอนาคตด้วย
รีแบรนด์แล้วดี! กลยุทธ์เพิ่มยอดขายมากขึ้น
ภาพจาก www.facebook.com/srichand1948/
ลองสำรวจลงไปในตลาดเห็นมีหลายธุรกิจที่รีแบรนด์แล้วยอดขายดีขึ้น อย่างผงหอมศรีจันทร์ ที่มีลูกค้าส่วนใหญ่วัย 35 ปี เมื่อรีแบรนด์เป็น “SRICHAND” ก็สามารถเพิ่มยอดขายไปยังต่างประเทศได้และการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัยก็เจาะกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นได้มากขึ้น
หรืออย่างศรีสวัสดิ์ เงินติดล้อที่รีแบรนด์ใหม่ตัดคำว่า “ศรีสวัสดิ์” ออกเหลือเพียง “เงินติดล้อ” พร้อมออกโฆษณาที่เข้าถึงลูกค้ามากขึ้น และทำให้หลายคนมีความเข้าใจในธุรกิจมากขึ้น ภาพลักษณ์ของธุรกิจก็ดีขึ้นกว่าเดิม ก่อให้เกิดลูกค้ารายใหม่เพิ่มมากขึ้นด้วย
แต่ทั้งนี้กลยุทธ์การรีแบรนด์ก็ต้องให้มีความสมเหตุสมผลและนอกจากการเปลี่ยนชื่อหรือโลโก้ใดๆ สิ่งที่ควรพัฒนาตามมาด้วยก็คือคุณภาพสินค้าและบริการ เพราะถือเป็นจุดขายที่สำคัญสุดในการทำธุรกิจและเป็นตัวชี้วัดความอยู่รอดของธุรกิจได้เป็นอย่างดี
ภาพจาก www.facebook.com/AuBonPainThailand
แต่อย่างน้อยเราก็ต้องยอมรับว่าการรีแบรนด์ของ Au Bon Pain น่าจะทำได้ถูกที่ ถูกเวลา และเลือกวิธีการได้อย่างเหมาะสม แค่การดึงเอาคนที่ไม่เคยรู้จัก Au Bon Pain ให้เข้ามาดูว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมต้องเปลี่ยนชื่อ แค่นี้ก็ทำให้คนรู้จัก
Au Bon Pain มากขึ้นก้าวต่อไปคนเหล่านี้ต้องอยากรู้ว่าสินค้านั้นดีอย่างไร อร่อยแค่ไหน และในส่วนของลูกค้าประจำของ Au Bon Painที่มีอยู่มากมาย การเปลี่ยนชื่อก็ทำให้เกิดกิมมิคใหม่ๆ ที่สามารถเรียกชื่อกันได้ง่ายขึ้น
สามารถพูดถึงได้ง่ายขึ้นอันเป็นพื้นฐานของคนไทยที่มักจะคุ้นเคยกับภาษาไทยแบบบ้าน เพราะที่ผ่านมาก็มีหลายแบรนด์ที่เป็นชื่อสากลแต่คนไทยก็เอามาเรียกใหม่ตามสไตล์ตัวเอง การรีแบรนด์ครั้งนี้จึงน่าจะเป็นอีกครั้งที่ทำให้ อุบลพรรณ by Au Bon Pain มียอดขายได้มากยิ่งกว่าเดิม
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)