เปรียบเทียบชัด! เปิดแฟรนไชส์ขายที่บ้านหรือเช่าพื้นที่ อะไรดีกว่า

“ทำเล” ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของการเปิดร้านในรูปแบบแฟรนไชส์ เพราะมีส่วนช่วยเพิ่มยอดขาย รายได้ให้เป็นไปตามเป้าหมาย และมีฐานกลุ่มลูกค้าเป้าหมายรองรับ ไม่ว่าจะเป็นทำเลย่านคนพลุกพล่าน ย่านชุมชน ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า สถาบันการศึกษา หน้าบ้าน หน้าตึกแถว รวมไปถึงทำเลในปั้มน้ำมัน ซึ่งทำเลเหล่านี้มีทั้งการเสียค่าเช่าและไม่เสียค่าเช่า ถ้าเสียค่าเช่าแต่มีคนพลุกพล่านก็ดีไป แต่ถ้าไม่เสียค่าเช่าแต่ไม่มีลูกค้ารองรับก็ไม่ดี

ถ้าถามว่า หากต้องการเปิดร้านแฟรนไชส์ขายที่หน้าบ้านหรือเช่าพื้นที่ อะไรดีกว่ากัน วันนี้ www.ThaiSMEseCenter.com มีข้อมูล เปรียบเทียบชัด ให้เห็นความแตกต่างของแต่ละทำเล ทั้งขายที่บ้านและเข่าพื้นที่เปิดร้าน

เปิดแฟรนไชส์ขายที่บ้าน

เปรียบเทียบชัด

#ข้อดี

  1. ต้นทุนในเรื่องของค่าเช่าพื้นที่ต่ำ หรือไม่ได้เสียค่าเช่า หากเป็นหน้าบ้านตัวเอง หรือคนในครอบครัว
  2. ลดต้นทุนในเรื่องของการเดินทาง การขนส่ง ประหยัดค่าน้ำมันในการขับรถไกลๆ
  3. ลดปัญหาการจราจรติดขัด ลดเวลาในการเดินทาง และเปิด-ปิดร้าน
  4. สามารถออกแบบตกแต่งได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องทำตามข้อกำหนดแลพกฎระเบียบของเจ้าของพื้นที่ให้เช่า
  5. เปิด-ปิดร้านได้ตามเวลาและความสะดวกของตัวเอง
  6. สามารถขายผ่านหน้าร้านและช่องทางออนไลน์ได้ ผ่านแอปพลิเคชั่นเดลิเวอรี่อาหารต่างๆ หรือเดลิเวอรี่ด้วยตัวเอง
  7. ได้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายชัดเจนตามความต้องการ

เปรียบเทียบชัด

#ข้อเสีย

  1. ไม่ใช่ทำเลการค้าในเชิงพาณิชย์ บางครั้งอาจไม่สามารถสร้างยอดขายตามเป้าหมาย เหมือนเช่าพื้นที่
  2. ขายและบริการลูกค้าได้เฉพาะกลุ่มเดิมๆ ที่พักอาศัยในย่านชุมชนหรือหน้าบ้าน ไม่มีลูกค้าใหม่ๆ สัญจรผ่าน
  3. ไม่มีร้านค้าในลักษณะเดียวกัน หรือประเภทเดียวกัน หรือร้านคู่แข่ง ที่จะใช้ในการดึงดูดกลุ่มลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการ
  4. ต้องเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องของค่าไฟ ค่าน้ำ และระบบสาธารณูปโภคอื่นๆ
  5. เปิดร้านขายในบ้าน อาจไม่มีพื้นที่สำหรับจอดรถลูกค้า จึงทำให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการน้อย

เปิดแฟรนไชส์เช่าพื้นที่

เปรียบเทียบชัด

#ข้อดี

  1. เจ้าของพื้นที่ทำการตลาดและโฆษณาประชาสัมพันธ์ ชวยลดต้นทุนในเรื่องการตลาด
  2. สร้างยอดขายได้ตามเป้าหมาย มีฐานกลุ่มลูกค้าชัดเจน และมีโอกาสได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ
  3. ร้านสามารถขายได้ทันที แจ้งเกิดได้ไว เข้าถึงกลุ่มลูกค้ารวดเร็วและหลากหลาย
  4. มีร้านค้าคู่แข่ง หรือร้านค้าประเภทเดียวกัน ช่วยดึงดูดลูกค้าให้เข้าไปใช้บริการ
  5. มีระบบสาธารณูปโภคให้บริการ อำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า

3

#ข้อเสีย

  1. เสียค่าเช่าพื้นที่ ค่าน้ำ ค่าไฟ และมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของการตกแต่งร้านตามรูปแบบทำเล หรือสถานที่ให้เช่า
  2. ต้องมีเงินทุนหมุนเวียนสูง เช่น บางที่ต้องเสียค่ามัดจำล่วงหน้า หรือหากเป็นในห้างสรรพสินค้า ก็จะมีการจ่ายยอดขายคืนกลับให้ร้านเป็น GP หรือบางห้างฯ เรียกว่า Front Margin ต้องมีเงินสำรองเพื่อหมุนเวียนร้านในแต่ละรอบเดือนนั่นเอง
  3. ต้นทุนในเรื่องของการเดินทาง และขนส่งเพิ่มขึ้น หากรถติดอาจเดินทางล่าช้า
  4. ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบและเงื่อนไขต่างๆ ของทำเลแต่ละพื้นที่
  5. หากเป็นทำเลนอกห้าง พื้นที่โล่งแจ้ง อาจมีอุปสรรคในเรื่องของฝน และแดด

นั่นคือ ข้อดีและข้อเสียของการเปิดร้านแฟรนไชส์ขายหน้าบ้าน และเปิดร้านขายแฟรนไชส์ตามสถานที่ให้เช่าต่างๆ แต่ถึงอย่างไรผู้ที่สนใจเปิดร้านแฟรนไชส์จะต้องหาข้อมูลและศึกษาธุรกิจแฟรนไส์ที่ตัวเองสนใจ ว่าเป็นธุรกิจที่เหมาะสมกับการนำไปเปิดร้านขายในทำเลพื้นที่เหล่านั้นหรือไม่

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3fQKRlG

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช