เทียบชัดๆ Eat Am Are vs Sizzler

ถ้าพูดถึงร้านสเต็กในเมืองไทยเชื่อว่าหลายคนคงจะมีร้านโปรดในดวงใจอยู่แล้ว ซึ่งหนึ่งในร้านโปรดที่หลายๆ คนชื่นชอบเชื่อว่าน่าจะมีชื่อของ Eat Am Are และ Sizzler อยากทราบหรือไม่ว่า ทั้งสองแบรนด์มีจุดเด่นและมีความน่าสนใจอย่างไร ร้านไหนมีรายได้ดีกว่ากัน วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบครับ

Eat Am Are

Eat Am Are

ภาพจาก https://bit.ly/3GVO6CS

Eat Am Are ร้านสเต็กสไตล์อเมริกัน อยู่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท อีท แอม อา กรุ๊ป จำกัด โดยมีคุณธัช เกษมสิทธิโชค เป็นกรรมการและผู้บริหาร ปัจจุบันมี 10 สาขา เป็นหนึ่งในร้านสเต็กที่ได้รับความนิยมอย่างมากในเมืองไทย โดยเฉพาะเรื่องของความอร่อยและราคาแบบสบายกระเป๋า ทำเลทองในการเปิดร้านส่วนใหญ่อยู่ตามห้างสรรพสินค้า, ช้อปปิ้งมอลล์ หรือทำเลทองทั่วกรุงเทพฯ ใกล้แหล่งชุมชน ผู้คนสัญจรผ่านไปมาได้สะดวกสบาย

สำหรับเมนูหลักๆ ที่ขึ้นชื่อและได้รับความนิยมของร้านสเต็ก Eat Am Are อาทิ สเต็กไก่สไปซี่, ซี่โครงหมูบาร์บีคิว, สเต็กปลาย่าง, สเต็กหมูพริกไทยดำ, พอร์คช็อป, ฟิชแอนด์ชิพ, ไส้กรอกหมูรมควัน เป็นต้น ซึ่งจะเลือกทานแบบเดี่ยวๆ หรือจับคู่กับเนื้อประเภทอื่นแบบชุด Combo ก็ได้ นอกจากนี้ Eat Am Are ยังมีซุป,สปาเก็ตตี้ และของทอดต่างๆ ด้วย อาทิ ซุปเห็ด, ซุปข้าวโพด, สปาเก็ตตี้ทะเลผัดขี้เมา, มันบดทอด, สลัดแอปเปิ้ล ฯลฯ

ภาพจาก https://bit.ly/3GVO6CS

เอกลักษณ์ของ Eat Am Are คือ อาหารจานใหญ่ มีเมนูหลากหลาย สามารถเลือกสั่งได้ทั้งเมนูแบบ Combination ซึ่งเป็นเมนูแบบจับคู่อาหาร มีให้เลือกหลายระดับราคา และเมนูเดี่ยว โดยมีให้เลือกทั้ง หมู, เนื้อ, ไก่, ปลาและไส้กรอก รสชาติการหมักเนื้อสัตว์ของเขา เป็นรสชาติที่ค่อนข้างเข้มข้นถูกปากคนไทย วิธีการย่างสเต็กของทางร้านใช้วิธีการย่างแบบที่ยังคงความชุ่มฉ่ำของตัวเนื้อ ย่างเสร็จเสิร์ฟกันมาแบบชิ้นโตๆ คู่กับเครื่องเคียงที่มีให้เลือกกว่า 10 รายการ

นอกจากจากร้านจะขายสเต็กแล้ว ยังมีเมนูสลัด มีทั้งสลัดผักสด ซีซ่าร์สลัดและสลัดแอปเปิ้ล ทางร้านจะใช้ผักสดเสิร์ฟในชามใบโตราดด้วยน้ำสลัดที่มีรสชาติกลมกล่อม สำหรับใครชอบทาน “ซีซ่าร์สลัด” ทางร้านจะมีเบคอนทอดกรอบๆ เป็นชิ้นสี่เหลี่ยมโรยมาด้านบนคู่กับชีสป่นและขนมปังกรอบ นอกจากนี้ยังมี “สปาเก็ตตี้และเบอเกอร์” ทั้งสปาเก็ตตี้ขี้เมาทะเลที่เสิร์ฟคู่กับขนมปังชีส, สปาเก็ตตี้คาโบนาร่าเสิร์ฟคู่กับขนมปังชีส, ดับเบิ้ลเบคอนชีส เบอเกอร์, เทริยากิ พอร์คเบอเกอร์ ฯลฯ

รายได้ Eat Am Are

ภาพจาก https://bit.ly/3GVO6CS

  • บริษัท อีท แอม อา กรุ๊ป จำกัด
  • จัดตั้ง 22 ก.ย. 2557
  • ทุนจดทะเบียน 11 ล้านบาท
  • ปี 2562 รายได้ 279.5 ล้านบาท กำไร 2.49 ล้านบาท
  • ปี 2563 รายได้ 226.9 ล้านบาท กำไร 1.9 ล้านบาท
  • ปี 2564 รายได้ 270.7 ล้านบาท กำไร 2.2 ล้านบาท

Sizzler

ภาพจาก facebook.com/SizzlerThai/

Sizzler ร้านสเต็ก ซีฟู้ด และสลัด สัญชาติอเมริกัน มีจุดเริ่มต้นเมื่อปี 2501 โดย มร.เดล จอห์นสัน และภรรยา เฮเลน ก่อตั้งสาขาแรกขึ้นที่เมืองคลูเวอร์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา โดยชื่อของ Sizzler มาจากเสียง “ฉ่า” ของสเต็ก เมื่อเสิร์ฟบนกระทะร้อน หลังจากนั้นในปี 2509 มร. จอห์นสัน ได้เสนอขายกิจการร้าน Sizzler ให้กับ มร. จิมคอลลินส์ ซึ่งภายหลังกลายเป็นเจ้าของกิจการแฟรนไชส์ที่ใหญ่ที่สุดของธุรกิจฟาสต์ฟู้ดในฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกา

ในปี 2528 ร้านสเต็ก ซีฟู้ด และสลัด Sizzler ได้ขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ไปยังตลาดประเทศออสเตรเลีย ภายใต้การดำเนินงานของ บริษัท คอลลินส์ ฟู้ด โดยเปิดบริการสาขาแรกอยู่ที่เมืองแอนเนอร์เลย์ รัฐควีนส์แลนด์ หลังจากนั้นได้ขยายสาขากระจายไปทั่วรัฐควีนส์แลนด์ นิวเซาท์เวลล์ ออสเตรเลียเหนือ และออสเตรเลียตะวันตกในปัจจุบัน

สำหรับในประเทศไทย Sizzler อยู่ภายใต้การบริหารจองบริษัท เอสแอลอาร์ที จำกัด ในเครือบริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) โดยได้นำ Sizzler เข้ามาเปิดสาขาแรกที่อาคาร Fifty Fifth Plaza สุขุมวิท 55 (ปิดบริการแล้ว) เมื่อปี 2535 หลังจากนั้น Sizzler ได้ขยายสาขาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีราวๆ 64 สาขาทั่วประเทศ ตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำ

ภาพจาก facebook.com/SizzlerThai/

ความโดดเด่นของ Sizzler ทุกสาขาในประเทศไทย ดำเนินงานตามหลักการของ Sizzler ทั่วโลกที่มีมาตรฐานเดียวกัน โดยมีอาหารหลายชนิดให้เลือกทั้งสเต็กเนื้อ ไก่ หมู อาหารทะเลทั้งทอดและย่าง รวมทั้งสลัดบาร์ที่ใหญ่ที่สุดแบบไม่จำกัด มีทั้งผักสดๆ ซุป และพาสต้าให้เลือกมากมาย ลูกค้าสามารถเติมได้ไม่จำกัด พร้อมทั้งของหวานและผลไม้ครบครัน

อย่างไรก็ตาม ผลพวงจากภาวะเงินเฟ้อและต้นทุนที่พุ่งสูงขึ้น ส่งผลให้สารพัดวัตถุดิบปรับขึ้นราคาลากยาวตั้งแต่ต้นปี 2565 จึงทำให้ Sizzler ปรับขึ้นราคา “บุฟเฟต์สลัดบาร์” ที่คุ้มค่าที่สุด 139 บาท เฉพาะวันจันทร์-ศุกร์ โดยเป็นการปรับขึ้นราคาขึ้นมา 199 บาท ซึ่งจากเดิมราคาดังกล่าวเป็นราคาขายเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์เท่านั้น

ปัจจุบัน Sizzler เปิดให้บริการไปแล้ว 64 สาขา วางเป้าหมายในปี 2566 เปิดสาขาใหม่เพิ่ม 4-5 สาขา โดยคาดว่าจะเปิดแน่นอนแล้ว คือ สาขาเซ็นทรัล รามอินทรา (หลังรีโนเวต) และจังซีลอน ภูเก็ต

แต่ปัญหาหลังผ่านโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย “Sizzler” ยังต้องเผชิญอีกหนึ่งปัญหา ก็คือ เสียงตำหนิจากลูกค้ากับความหลากหลายบน “สลัดบาร์” ที่ลดลง แต่บริษัทไม่นิ่งนอนใจ ได้นำ Feedback มาปรับแก้ไขสลัดบาร์ให้หลากหลายขึ้นแล้ว

รายได้ Sizzler

ภาพจาก facebook.com/SizzlerThai/

  • บริษัท เอสแอลอาร์ที จำกัด
  • จัดตั้ง 16 ต.ค. 2542
  • ทุนจดทะเบียน 400 ล้านบาท
  • ปี 2562 รายได้ 2,690 ล้านบาท กำไร 124 ล้านบาท
  • ปี 2563 รายได้ 1,757 ล้านบาท ขาดทุน 53 ล้านบาท
  • ปี 2564 รายได้ 1,455.6 ล้านบาท ขาดทุน 38.8 ล้านบาท

จะเห็นได้ว่าร้านสเต็ก Eat Am Are แม้จะมีจำนวนสาขาน้อยกว่า Sizzler หลายเท่าตัว แต่มีรายได้และผลกำไรไม่ขาดทุน แม้ว่าจะเกิดการระบาดของโควอด-19 มาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 แต่รายได้ของ Eat Am Are ในปี 2563 อยู่ที่ 226.9 ล้านบาท สามารถทำกำไร 1.9 ล้านบาท ขณะที่ปี 2564 มีรายได้ 270.7 ล้านบาท กำไร 2.2 ล้านบาท

ส่วน Sizzler แม้จะมีสาขา 64 สาขามากกว่า Eat Am Are หลายเท่าตัว แต่เนื่องจากทำเลเปิดร้านของ Sizzler อยู่ตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำ เมื่อห้างฯ ปิดให้บริการ จึงทำให้ Sizzler ขาดทุน แม้ว่าแต่ละปีจะมีรายได้หลักพันล้านบาท โดยในปี 2563 มีรายได้ 1,757 ล้านบาท ขาดทุน 53 ล้านบาท ส่วนปี 2564 รายได้ 1,455.6 ล้านบาท ขาดทุน 38.8 ล้านบาท

นั่นอาจสะท้อนให้ผู้ประกอบการได้เห็นว่า จำนวนสาขามากแค่ไหน ก็ไม่เท่ากับการบริหารจัดการที่มีคุณภาพมาตรฐาน สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคแต่ละพื้นที่ให้ได้มากที่สุด

 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูลจาก

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3Xwx9Ex


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช