เทียบกันชัด ๆ 7 ร้านสะดวกซื้อ แฟรนไชส์ | ค่าลงทุน | รายได้

การจะทำธุรกิจแฟรนไชส์นั้นเรื่องแบรนด์ก็เป็นหนึ่งข้อสำคัญในการที่จะตัดสินใจลงทุน เนื่องจากผู้บริโภคมักจะเข้าร้านที่มีแบรนด์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

เพราะแบรนด์ที่มีชื่อเสียงมักจะมาพร้อมกับคุณภาพและมาตรฐานต่าง ๆ ซึ่งในยุคนี้ร้านสะดวกซื้อเป็นอีกหนึ่งแฟรนไชส์ที่มาแรง เนื่องจากไม่ได้มีเพียงแค่สินค้าเท่านั้น แต่ยังมีการบริการมากมาย อาทิ จ่ายค่าน้ำค่าไฟ อินเตอร์เน็ตหรือแม้แต่รับส่งพัสดุ

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาคุณผู้อ่านไปดูกันชัด ๆ ว่าแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ 7 แบรนด์มีอะไรที่แตกต่างกันบ้าง หากคุณผู้อ่านสนใจที่จะหาข้อมูลเกี่ยวกับค่าลงทุนของแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อแบรนด์ บทความนี้ช่วยคุณได้ ไปตามส่องทีละแบรนด์กันเลย

1. 7-11

14

ภาพจาก bit.ly/2StuOtK

7-Eleven เป็นกิจการค้าปลีกในลักษณะร้านอิ่มสะดวก ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค การให้บริการต่างๆเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความพึงพอใจสูงสุด จนถึงปัจจุบัน 7-Eleven ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก

ทั้งนี้ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ทำการขยายกิจการให้กว้างขึ้นโดยใช้ระบบแฟรนไชส์ หรือการให้อนุญาตสิทธิช่วง ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้สนใจ สามารถเข้ามาบริหารกิจการ ที่คุ้มค่าต่อการลงทุน

ภายใต้ระบบอันทันสมัย โดยบริษัทฯ จะให้ความช่วยเหลือในการดำเนินธุรกิจอย่างใกล้ชิด ให้ความรู้ความเข้าใจในการบริหารงาน หลักการคัดเลือกสินค้า ระบบการเงิน มีแผนส่งเสริมการขายและแผนการโฆษณาทั่วประเทศอย่างสม่ำเสมอ

รวมทั้งจัดส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการไปช่วยแนะนำและแก้ปัญหาต่างๆ สำหรับท่านที่สนใจสามารถคลิกดูรายละเอียดต่างๆ เพื่อการเข้าร่วมเป็นหนึ่งในแฟรนไชส์ ของร้าน 7-Eleven

13

ภาพจาก bit.ly/2JKPPxq

รายได้ : 3 แสนล้านบาท
จำนวนสาขา : 10,500 สาขา

ค่าอุปกรณ์การขายรวมสินค้า :

  • แบบที่ 1 ค่าใช้จ่ายในการขอรับสิทธิ์ 480,000 บาท
  • แบบที่ 2 1,730,000 บาท

เงินค้ำประกัน :

  • แบบที่ 1 จ่าย 1,000,000 บาท
  • แบบที่ 2 จ่าย 900,000 บาท

ต้องมีเงินให้แฟรนไชส์ทั้งหมด :

  • แบบที่ 1ลงทุน 1.48 ล้าน
  • แบบที่ 2 ลงทุน 2.5 ล้านบาท

ระยะเวลาทำสัญญา :

  • แบบที่ 1 สัญญา 6 ปี
  • แบบที่ 2 สัญญา 10 ปี

2. Family Mart

12

ภาพจาก bit.ly/2ObJ4ZT

แฟมิลี่มาร์ท เป็นกิจการค้าปลีกลักษณะร้านสะดวกซื้อ (Convenience Store) ที่ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค ที่เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง จึงอำนวยความสะดวกสำหรับลูกค้าทั้งในด้านเวลา สถานที่ และสินค้าที่มีให้เลือกอย่างครบครัน

โดยเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555 บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปเรชัน จำกัด บริษัทในกลุ่มเซ็นทรัล ได้ลงนามในสัญญาเข้าซื้อหุ้นของ บริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด ในจำนวน 50.29% จึงทำให้กลุ่มเซ็นทรัลกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทฯ

และยังทำให้กลุ่มเซ็นทรัลกลายเป็นผู้บริหารร้านสะดวกซื้อแฟมิลี่มาร์ทในประเทศไทย ซึ่งจากการลงนามในครั้งนี้ ทำให้กลุ่มเซ็นทรัลได้จัดวิธีการบริหารใหม่ทั้งหมด

โดยเปลี่ยนชื่อ บริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด เป็น บริษัท เซ็นทรัล แฟมิลี่มาร์ท จำกัด จัดรูปแบบร้านค้าต้นแบบเพื่อกำหนดรูปแบบของสาขาแฟมิลี่มาร์ทหลังจากนี้ และเริ่มนำสินค้าประเภทอาหารสดจากร้านค้าที่บริหารโดย เซ็นทรัล เรสเทอรองค์ กรุ๊ป เข้ามาขาย เช่นข้าวกล่องจากร้าน เดอะเทอเรซ โดนัทจากมิสเตอร์โดนัท เป็นต้น

11

ภาพจาก facebook.com/FamilyMartThailand

รายได้ : 4 พันล้าน
จำนวนสาขา : 1,100 สาขา

ค่าอุปกรณ์การขายรวมสินค้า :

  • แบบที่ 1 ค่าจัดเตรียมการในการเปิดร้าน 50,000 บาท ค่าสินค้าบางส่วน 380,000 บาท เงินสำรองทอน 20,000 บาท
  • แบบที่ 2 ค่าจัดเตรียมการในการเปิดร้าน 50,000 บาท ค่าสินค้าบางส่วน 380,000 บาท เงินสำรองทอน 20,000 บาท

เงินค้ำประกัน : 300,000 บาท ไม่รวม VAT

ต้องมีเงินให้แฟรนไชส์ทั้งหมด :

  • แบบที่ 1 (มีทำเลของตัวเอง) 2.5 ล้านบาท
  • แบบที่ 2 (ไม่มีมีทำเล) ลงทุน 1.2 ล้านบาท

ระยะเวลาทำสัญญา :

  • แบบที่ 1 สัญญา 9 ปี
  • แบบที่ 2 สัญญา 9 ปี

3. ซันสโตร์

10

ภาพจาก facebook.com/sunstore2002

ร้านสะดวกซื้อ ซันสโตร์ (Sun – Store) ก่อตั้งขึ้นโดยทีมงาน www.sunstore2002.com ซึ่งเป็นทีมงานที่มีประสบการณ์ทางด้านธุรกิจค้าปลีกมินิมาร์ท และร้านสะดวกซื้อจากแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อชั้นนำจากต่างประเทศ

รวมถึงเคยมีส่วนสร้าง Brand แฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อของคนไทยอีกหลาย Brand มามากกว่า 30 ปี ทำให้ทราบถึงจุดเด่นจุดด้อยของระบบแฟรนไชส์ของทั้งสองระบบเป็นอย่างดี

ปัจจุบันคงกล่าวได้ว่าส่วนแบ่งทางการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อตกเป็นของธุรกิจแฟรนไชส์ Brand ชั้นนำจากต่างประเทศมากกว่า 80% และส่วนที่เหลืออีกประมาณ 20% เป็นส่วนแบ่งของแฟรนไชส์คนไทย เหตุผลที่ส่วนแบ่งส่วนใหญ่เป็นของแฟรนไชส์ชั้นนำ เพราะการสร้าง Brand อย่างเป็นระบบ และระบบการบริหารจัดการที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ

แต่สาเหตุที่ไมสามารถครอบครองส่วนแบ่งได้ทั้งหมด เนื่องจากมีผู้ประกอบการบางส่วนที่ไม่ต้องการผูกมัดตนเองกับเงื่อนไขสัญญาที่ค่อนข้างเข้มงวด จึงทำให้เกิดแฟรนไชส์ใหม่ๆ ของคนไทยขึ้น ด้วยการจ้างอดีตพนักงาน

หรืออดีตผู้บริหารของแฟรนไชส์ต่างเข้ามาวางระบบ และรวมถึงซัพพลายเออร์ผู้ผลิตอุปกรณ์ค้าปลีกบางรายที่หันมาสร้าง Brand ของตนเอง เพื่อต่อยอดให้กับธุรกิจเดิม แต่ด้วยลักษณะการประกอบการที่เน้นปริมาณจากการขยายสาขา เพื่อผลกำไร มากกว่าเน้นคุณภาพ จึงทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาจนถึงขั้นฟ้องร้องกันดังที่ปรากฏตามสื่อมากมาย

ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมาแล้วเบื้องต้นทีมงาน www.sunstore2002.com จึงได้นำแนวคิดคิดที่ดีของทั้งสองระบบดังกล่าวมาผสมผสาน และพัฒนา เพื่อให้เกิดระบบการบริหารจัดการแบบสายกลาง ที่สามารถตอบสนองความต้องการ และตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี จึงเป็นที่มาของร้านสะดวกซื้อ ซันสโตร์ (Sun – Store) ร้านสะดวกซื้อที่ให้ราคาที่ถูกกว่า

9

ภาพจาก facebook.com/sunstore2002

รายได้ : 1,126,500
จำนวนสาขา : 400 ร้านค้า ทั้งใน และต่างประเทศ

ค่าอุปกรณ์การขายรวมสินค้า :

  • แบบที่ 1 (ขนาดพื้นที่อาคารพาณิชย์ 1 คูหา) สินค้างวดแรก 300,000 บาท
  • แบบที่ 2 (ขนาดพื้นที่อาคารพาณิชย์ 2 คูหา) สินค้างวดแรก 550,000 บาท

เงินค้ำประกัน : ไม่ได้ระบุ
ต้องมีเงินให้แฟรนไชส์ทั้งหมด : 690,000 – 1,400,000 บาท
ระยะเวลาทำสัญญา : 6 ปี


4. เจลลี่เบิร์ด เฮลท์ตี้โซน

8

ภาพจาก bit.ly/2Z78Ejz

จำหน่ายสินค้าเพื่อสุขภาพแนวใหม่ที่มุ่งตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคคนไทย ซึ่งขณะนี้กระแสการตอบรับสินค้าประเภทนี้มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่หันมาใส่ใจสุขภาพของตนเอง

ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะในกลุ่มผู้ใหญ่หรือวัยสูงอายุเท่านั้น แต่ในกลุ่มวัยรุ่นและคนวัยทำงานก็ให้ความสำคัญในการบริโภคสินค้าเพื่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ทำให้เชื่อว่านี่คือโอกาสของร้านค้าปลีกแนวใหม่ ที่สามารถจะเติบโตได้ในอนาคต

โดยสาขาแรกเปิดให้บริการมาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2552 ที่ผ่านมา ในทำเลย่านพัฒนาการ 61 หน้าหมู่บ้านเมืองทอง 2 ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนพักอาศัยขนาดใหญ่ ทำให้ธุรกิจมีผลตอบรับที่ดีและมียอดขายเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ส่วนประเภทของสินค้าที่จำหน่ายภายในร้านมีมากกว่า 500 รายการ ครอบคลุมตั้งแต่สินค้าอุปโภคบริโภค ,อาหารและเครื่องดื่ม, อาหารเสริม ,สกินแคร์และผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ

นอกจากนั้นยังจำหน่ายสินค้าเพื่อสุขภาพที่บริษัทผลิตขึ้นเองภายใต้แบรนด์ “เจลลี่เบิร์ด” อีกหลากหลายผลิตภัณฑ์ อาทิ เฉาก๊วยธัญพืช , น้ำผลไม้ , เครื่องดื่มสมุนไพร , เจลลี่มิลค์ , น้ำเต้าหู้ผสมเจลลี่ และสาหร่ายทอดกรอบ เป็นต้น

7

ภาพจาก jellybird.com

รายได้ : 5,285,535 บาท
จำนวนสาขา : 2 สาขา
ค่าอุปกรณ์การขายรวมสินค้า : ไม่ได้ระบุ
เงินค้ำประกัน : ไม่ได้ระบุ

ต้องมีเงินให้แฟรนไชส์ทั้งหมด :

  • แบบที่ 1 (ร้านขนาด 1คูหา (HEALTHY FUN) 4.0 x 8.0 เมตร) ราคา 890,000 บาท
  • แบบที่ 2 (ร้านขนาด 2คูหา (HEALTHY RICH) 8.0 x 8.0 เมตร) ราคา 1,290,000 บาท
  • แบบที่ 3 (เหมาะสำหรับพื้นที่ขนาดเล็กเช่นทำเลบนรถไฟฟ้าหรือย่านธุรกิจ) ราคา 5.5 แสนบาท

ระยะเวลาทำสัญญา : ไม่ได้ระบุ


5. 108 shop

6

ภาพจาก bit.ly/2JHFB0O

โครงการ 108shop โครงการที่ช่วยธุรกิจค้าปลีก เทียบเท่ามาตราฐานสากล เช่น รูปแบบร้าน สินค้า ระบบโลจิสติกส์ และการบริการ โดยใช้เงินลงทุนที่น้อยที่สุดแต่ได้กำไรสูงสุด ทั้งนี้ บริษัทฯ ทำการขยายกิจการให้กว้างขึ้นโดยใช้ระบบแฟรนไชส์ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้าบริหารกิจการ ที่คุ้มค่าต่อการลงทุนภายใต้ระบบอันทันสมัย

โดยจะให้ความช่วยเหลือในการดำเนินธุรกิจอย่างใกล้ชิด ให้ความรู้ความเข้าใจในการบริหารงาน หลักการคัดเลือกสินค้า การจัดส่งสินค้า และ การดูแลร้าน รวมทั้งจัดส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ ไปช่วยแนะนำและแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อการเข้าร่วมเป็นร้านแฟรนไชส์ของ 108shop ที่ดีและมีคุณภาพ และให้ผู้ประกอบการ สามารถมีกิจการในร้านสะดวกซื้อ อย่างเต็มรูปแบบ

108 Shop Mini Outlet เป็นโครงการที่เกิดขึ้นภายใต้นโยบายบริษัทกลุ่มเครือสหพัฒน ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภคที่มีประสบการณ์และความชำนาญ เพื่อพัฒนาธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็กและร้านค้าปลีกเล็กๆ ที่กำลังจะถูกกลืนหายไปตามยุคและสมัย ขึ้นมาแข่งขันต่อสู้กับธุรกิจและการแข่งขันที่มีการพัฒนาตลอดเวลา ในรูปแบบของร้าน

108 Shop Mini Outlet ร้านสะดวกซื้อที่สามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการด้วย

  • การลงทุนตามจริง
  • ร้านขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ก็สามารถเปิดได้
  • ลงทุนน้อย คืนทุนเร็ว
  • ไม่ต้องแบ่งผลกำไร
  • เน้นพัฒนาผู้ค้าปลีกรายย่อยทั่วประเทศให้อยู่รอด สามารถต่อสู้กับคู่แข่งที่มีการลงทุนที่สูงกว่าได้อย่างยั่งยืน

5

ภาพจาก bit.ly/30Ob7ji

รายได้ : 798 ล้านบาท (คาดว่ารายได้รวมกับ Lawson)
จำนวนสาขา : 650 สาขา
ค่าอุปกรณ์การขายรวมสินค้า : การสั่งซื้อสินค้าครั้งแรกอาจมีมูลค่าตั้งแต่ 1,000 – 20,000 บาท จนถึงมูลค่า 200,000 – 400,000 บาท แล้วแต่ขนาดของพื้นที่ของร้าน
เงินค้ำประกัน : 100,000 บาท

ต้องมีเงินให้แฟรนไชส์ทั้งหมด :

  • แบบที่ 1 (ขนาดพื้นที่อาคารพาณิชย์ 1 คูหา) ราคา 520,000 บาท
  • แบบที่ 2 (ขนาดพื้นที่อาคารพาณิชย์ 2 คูหา) ราคา 720,000 บาท

ระยะเวลาทำสัญญา : ไม่ได้ระบุ


6. FreshMart

4

ภาพจาก bit.ly/2YfTCLf

เฟรชมาร์ท เป็นแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อที่ดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนาน และบริหารงานอย่างมืออาชีพโดยคนไทยเพื่อคนไทย รูปแบบร้านที่ดูทันสมัย สะอาด สดใส และการบริการที่ดีเยี่ยม

ทำให้ธุรกิจของเราเป็นที่รู้จักแพร่หลาย และมีสาขาทั่วประเทศมากกว่า 600 สาขาในปัจจุบัน ทีมงานของเฟรชมาร์ทที่คอยเคียงข้าง ให้คำปรึกษา และช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ร่วมทุน ทำให้ท่านอุ่นใจในการดำเนินธุรกิจร่วมกับเรา

3

ภาพจาก bit.ly/2JX2nR8

รายได้ : 1,819,505
จำนวนสาขา : 600 สาขา
ค่าอุปกรณ์การขายรวมสินค้า : ไม่ได้ระบุ
เงินค้ำประกัน : ไม่ได้ระบุ
ต้องมีเงินให้แฟรนไชส์ทั้งหมด : 790,000 บาท
ระยะเวลาทำสัญญา : 10 ปี


7. Lawson

2

ภาพจาก bit.ly/2YrhTOJ

ลอว์สัน เป็นเครือข่ายร้านสะดวกซื้อของญี่ปุ่น ปัจจุบันเป็นร้านเครือข่ายรายใหญ่อันดับสองของญี่ปุ่น รองจากเซเว่น อีเลฟเว่น เดิมเป็นเครือข่ายร้านสะดวกซื้อจากรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งโดยนาย เจ. เจ. ลอว์สัน ในปี พ.ศ. 2482 และได้ขายกิจการและเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “แดรี มาร์ท” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528

ในประเทศญี่ปุ่น ลอว์สันเป็นกิจการร่วมทุนระหว่าง ลอว์สัน อิงค์ กับ ไดเอะอิ เครือข่ายซูเปอร์มาร์เกตจากเมืองโคเบะ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2518 ปัจจุบันลอว์สัน เจแปน อิงค์ ถือหุ้นทั้งหมดโดยไดเอะอิ

ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของมิตซูบิชิ ดำเนินกิจการร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่น, ต้าเหลียน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง ประเทศจีน, จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ฮาวาย สหรัฐอเมริกา

สำหรับประเทศไทย ลอว์สัน ร่วมมือกับเครือสหพัฒนพิบูล ร่วมกันจัดตั้ง บริษัท สห ลอว์สัน จำกัด โดยสหพัฒนพิบูลถือหุ้น 51% และลอว์สันถือหุ้น 49% เพื่อดำเนินกิจการร้าน ลอว์สัน 108 โดยแปรสภาพร้าน 108 ช้อปเดิมบางส่วน จำนวน 300 ร้าน

และจะใช้งบประมาณ 2,000 ล้านบาท เปิดสาขาใหม่ประมาณ 1,000 สาขาภายในปี 2561 ของบริษัทสหพัฒนพิบูล ลอว์สัน 108 เปิดให้บริการสาขาแรกที่อาคารสหพัฒนพิบูล ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556

1

ภาพจาก bit.ly/2JHZlkK

รายได้ : 798 ล้านบาท (คาดว่ารายได้รวมกับ 108 shop)
จำนวนสาขา : 100 กว่าสาขา
ค่าอุปกรณ์การขายรวมสินค้า : ไม่ได้ระบุ
เงินค้ำประกัน : ไม่ได้ระบุ
ต้องมีเงินให้แฟรนไชส์ทั้งหมด : 2-2.5 ล้านบาทต่อสาขา
ระยะเวลาทำสัญญา : ไม่ได้ระบุ

ทั้งหมดนี้คือ 7 ร้านสะดวกซื้อที่น่าลงทุน แม้ว่าบางแบรนด์อาจจะยังไม่มีสาขาที่ครอบคลุมทำให้ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง แต่ราคาที่ใช้ในการลงทุนอยู่เพียงหลักแสนถึงล้านต้น ๆ เท่านั้น ซึ่งหากเลือกทำเลดี ๆ รายได้ต่อสาขาอาจจะสร้างกำไรให้แก่เรา

และร้านสะดวกซื้อเป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศไทย เนื่องจากเมื่อมีสินค้าแปลกใหม่ ร้านสะดวกซื้อก็จะจับกระแสเหล่านั้น มีบริการสารพัดรูปแบบตอบโจทย์ผู้คนที่เร่งรีบในยุคนี้ แถมยังเปิดตลอด 24 ชั่วโมงอีกต่างหาก www.ThaiFranchiseCenter.com ก็เห็นว่าการลงทุนแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อเป็นโอกาสในการสร้างกำไรที่ดี หากมีการบริการจัดการและรักษาคุณภาพได้อย่างดี


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

อ้างอิงข้อมูล

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2VytxYE

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต