เทรนด์ใหม่! #แฟรนไชส์จับคู่ เปิดข้าง เน้นลงทุนทีเดียวได้ 2 แบรนด์

ปี 2567 แนวโน้มธุรกิจแฟรนไชส์ได้รับความนิยมยังเป็นกลุ่มสะดวกทาน สะดวกซื้อ สะดวกซัก สะดวกบริการ เกี่ยวข้องปัจจัย 4 มนุษย์ขาดไม่ได้ แฟรนไชส์เหล่านี้เติบโตตามพฤติกรรมผู้บริโภค การฟื้นตัวภาคท่องเที่ยว มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาล

ธุรกิจแฟรนไชส์มีการปรับไซส์เล็กลง ใช้พื้นที่น้อย งบลงทุนต่ำ ดึงลูกค้าซื้อแฟรนไชส์ง่ายขึ้น รวมถึงเปิดร้าน Stand Alone เหมือน 7-Eleven ตั้งเป้าขยาย 700 สาขา มีพื้นที่จอดรถหน้าร้าน รองรับติดตั้งตู้ชาร์จรถ EV

แฟรนไชส์จับคู่

ภาพจาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส และเซเว่นอีเลฟเว่น

สำหรับเทรนด์ธุรกิจแฟรนไชส์กระแสแรง น่าจับตามองมากที่สุดในปี 2567 คือ Duo Brands Franchise แฟรนไชส์ที่เปิดร้านคู่กัน หรือใช้ประตูเข้าร้านเดียวกัน ผู้ซื้อแฟรนไชส์ลงทุน 1 แต่ได้ 2 แบรนด์ สามารถช่วยลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ เพิ่ม Cross-Selling ให้กับแฟรนไชส์ซีได้อีกด้วย สามารถดึงดูดลูกค้าได้หลากหลายกลุ่ม

แฟรนไชส์จับคู่

ภาพจาก www.facebook.com/extaplus

ธุรกิจแฟรนไชส์ใช้โมเดลดังกล่าว เริ่มต้นที่ “ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส และเซเว่นอีเลฟเว่น” (eXta Plus & 7-Eleven) เปิดโอกาสให้แก่ผู้สนใจที่เป็นเภสัชกร หรือญาติพี่น้องเป็นเภสัชกร เข้ามาบริหาร “ธุรกิจ 7-Eleven และ ร้านยา eXta Plus” ใช้เงินลงทุนเริ่มต้น 2,330,000 บาท ระยะสัญญา 10 ปี

สนใจแฟรนไชส์ โทร. 091-8080762, 091-8080763, 091-8080764

แฟรนไชส์จับคู่

ภาพจาก www.facebook.com/ramenozawa

แบรนด์แฟรนไชส์ โอซาว่า ราเมน เอ็กซ์ คาราอะเกะ เคียวได (OZAWA RAMEN X KARAAGE KYOUDAI) เป็นร้านราเมงและไก่ทอดคาราอาเกะ โมเดลธุรกิจของโอซาว่า ราเมน ไม่ได้ขายแค่อาหารอร่อยเท่านั้น แต่ต้องการทำให้ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในร้าน ได้ประสบการณ์ทานราเมนที่ดีที่สุด โดยสาขาต้นแบบ OZAWA RAMEN X KARAAGE KYOUDAI เปิดอยู่ที่ปั้มน้ำมันปตท.และคอมมูนิตี้มอลล์ วิภาวดี 62

สนใจแฟรนไชส์ โทร. 095-2495633

แฟรนไชส์จับคู่

ภาพจาก https://bit.ly/3Il2B3c

อีกแบรนด์แฟรนไชส์เปิดโมเดล Duo Brands Franchise คือ DAKASI x KARIKORI ผสมกันระหว่างร้านชานมไข่มุกกับน้ำแข็งไสสไตล์ญี่ปุ่น เปิดให้บริการแล้วที่ชั้น 1 เมเจอร์รัชโยธิน ต้องบอกว่าดูโอ้แบรนด์แฟรนไชส์ มาแรงแน่ๆ ในปีนี้

แฟรนไชส์จับคู่

ภาพจาก https://bit.ly/3TedkTf

แฟรนไชส์ กงสี ทีบาร์ ร้านเครื่องดื่มประเภทชานมไข่มุก ยังให้ลูกค้าซื้อแฟรนไชส์ไปเปิดคู่กับร้านแฟรนไชส์อื่นๆ ได้เช่น KONGSI TEA BAR X GOHAN ร้านชาคู่กับร้านข้าวหน้าเนื้อญี่ปุ่น ตั้งอยู่สาขาเชิงทะเล ภูเก็ต, KONGSI TEA BAR X GOODMOOD ร้านชาเปิดกับร้านครังซองต์ สาขาสนามบิน ภูเก็ต และ KONGSI TEA BAR X DAILY DONUTS แฟรนไชส์ร้านชา และ แฟรนไชส์โดนัท ได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี

แฟรนไชส์จับคู่

ภาพจาก https://bit.ly/3UWvk5N

หากย้อนไปเมื่อปี 2563 แบรนด์ธุรกิจห้าดาวเครือ CPF เดินหน้าเปิดโมเดล แฟรนไชส์จับคู่ Duo Brands Franchise ผนึกทั้งแฟรนไชส์ FIVE STAR และ STAR COFFEE เปิดร้านคู่กัน ต้องการให้ 2 แฟรนไชส์เดินเคียงคู่กัน เสริมแรงซึ่งกันและกัน บริการอาหารพร้อมรับประทานมากกว่า 30 เมนู อาทิ ไก่ย่างห้าดาว ไก่ทอดห้าดาว ไก่จ๊อห้าดาว พร้อมเครื่องดื่มต่างๆ จากสตาร์คอฟฟี่

ไม่เพียงเท่านี้หากยังจำได้ช่วงราวๆ ปี 2561 แฟรนไชส์ไก่ย่าง เชสเตอร์ (CHESTER’S) ก็ยังรุกโมเดลธุรกิจ Duo เปิดร้าน Chester’s Coffee ให้บริการเครื่องดื่มชา กาแฟ ในร้าน Chester’s Grill

จะเห็นได้ว่าตลอดปี 2567 เทรนด์ธุรกิจ แฟรนไชส์จับคู่ Duo Brands Franchise จะเริ่มเห็นมากขึ้น เพราะโมเดลการเปิดร้านคู่กันหรือเปิด 2 แบรนด์ในร้านเดียวกัน ทำให้ธุรกิจทั้ง 2 สามารถช่วยเหลือดึงดูดลูกค้าแทนกันได้ ทำโปรโมชันร่วมกัน ใช้บิลแลกซื้อส่วนลดอีกแบรนด์ได้ ลูกค้ามาพื้นที่หรือร้านเดียวกันสามารถเชื่อมทะลุถึงกันได้ จับกลุ่มลูกค้าได้หลากหลาย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

ข้อมูลจาก

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช