เทรนด์สถานีชาร์จรถ EV ครบวงจรมาแน่! “ตู้เต่าบิน” เปิดโมเดล “เต่าบินคาเฟ่” ขยายสู่ปั้ม GINKA EV มาพร้อมสารพัดตู้และคาเฟ่
กระแสคนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยแรงขึ้นต่อเนื่อง รัฐบาลเดินหน้าให้การสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างจริงจังมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Charger Station มีความคึกคักตามไปด้วย แต่ละค่ายวางแผนดำเนินธุรกิจแบบครบวงจร เปิดโมเดลแฟรนไชส์ปั๊ม EV พร้อมบริการสารพัดตู้และคาเฟ่ในสถานีเดียวกัน
ภาพจาก facebook.com/TaoBinBeverage
เริ่มจากค่าย “ตู้เต่าบิน” (TAO BIN) คาเฟ่อัตโนมัติ 24 ชั่วโมง โดยบริษัท ฟอร์ท เวนดิ้ง จำกัด (บริษัทในเครือ FORTH และ FSMART) ประสบความสำเร็จอย่างมาก บริษัทฯ สามารถติดตั้งตู้เต่าบินไปแล้วกว่า 7,000 ตู้ในช่วงสิ้นปี 2566 อีกทั้งยังแตกไลน์โมเดลใหม่พัฒนาไปสู่ร้านในรูปแบบป๊อปอัพสโตร์ “เต่าบินคาเฟ่” (TAO BIN CAFE) คาเฟ่อัตโนมัติบริการด้วยตนเอง เปิดให้บริการสาขาแรกที่เดอะมอลล์ ไลฟ์ สโตร์ บางกะปิ ชั้น G
ให้บริการเครื่องดื่มกว่า 300 เมนู (ตู้เต่าบินทั่วไป 200 เมนู) รวมทั้งเมนูขนมหวานและไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟ เป็นร้านมีที่นั่ง โดยเมนูเครื่องดื่มและของหวานลูกค้ากดสั่งเองได้จากตู้อัตโนมัติ จากนั้นรอคิวรับสินค้าขนมหวานและไอศกรีม จะมีพนักงานทำให้ที่เคาน์เตอร์ ได้บรรยากาศมากกว่ากดจากตู้เต่าบินปกติทั่วไป
ภาพจาก facebook.com/TaoBinBeverage
สาเหตุที่บริษัทเปิด “เต่าบินคาเฟ่” เพราะที่ผ่านมามีผู้สนใจติดต่อจะขอเป็นแฟรนไชส์ตู้เต่าบินจำนวนมาก แต่การติดตั้งตู้เต่าบินเพียงตู้เดียว ไม่สามารถทำกำไรได้ง่าย ถ้าเป็นโมเดล “เต่าบินคาเฟ่” ใช้ Concept คาเฟ่อัตโนมัติยุคใหม่ เน้นบริการตัวเอง
ถือเป็นการบริหารจัดการร้านคาเฟ่ที่แก้ไขปัญหา (pain point) คาเฟ่ปัจจุบัน ทั้งเรื่องเมนูที่หลากหลาย แต่สามารถควบคุมรสชาติได้ทุกแก้ว ตลอดจนการบริหารจัดการบุคคลได้ง่าย ลดค่าใช้จ่าย ช่วยเพิ่มโอกาสการขายได้มากขึ้น
ภาพจาก facebook.com/TaoBinBeverage
ร้านโมเดลใหม่สามารถเปิดขายได้ 24 ชั่วโมง ใช้พนักงานสาขาละ 1-2 คน เพราะเป็นเครื่องดื่มชงแบบอัตโนมัติอยู่แล้ว โมเดลเต่าบินคาเฟ่จะเป็นโมเดลต้นแบบในการขายแฟรนไชส์ต่อไปในอนาคต เพราะมีโอกาสสร้างรายได้และกำไรมากกว่าตู้เต่าบิน
โดยในปี 2567 บริษัทฯ มีแผนเปิด “เต่าบินคาเฟ่” นอกห้าง รูปแบบ Stand Alone มีบริการทั้งเครื่องดื่ม อาหาร รวมถึงพื้นที่บริการลูกค้า โดยมีสถานีบริการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า (EV Station) GINKA อยู่ด้านนอกด้วย
“เต่าบินคาเฟ่” ขยายสู่ปั้ม GINKA EV รวมสารพัดบริการในปั๊ม
ภาพจาก facebook.com/GINKAChargePoint
สำหรับการลงทุนเปิดสถานีบริการ EV GINKA จะมี 2 รูปแบบ ได้แก่
1. ปั๊ม EV ขนาดเล็ก พื้นที่ 100-200 ตารางเมตร มีบริการคาเฟ่อาหารและเครื่องดื่มอัตโนมัติ โดยมีเคาน์เตอร์ “เต่าบินคาเฟ่” บริการเครื่องดื่ม 300-400 เมนู พร้อมสารพัดตู้อัตโนมัติ ทั้งตู้ชานมไข่มุก ตู้ขายก๋วยเตี๋ยว ตู้ขายไก่ทอด ตู้ขายลูกชิ้น
2. ปั๊ม EV ขนาดใหญ่ พื้นที่ 1-2 ไร่ มีที่จอดรถ มีจุดชาร์จด่วน ห้องน้ำ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม พร้อมบริการเคาน์เตอร์ “เต่าบินคาเฟ่” พร้อมสารพัดตู้อัตโนมัติอาหารหลากหลายในรูปแบบร้านสะดวกทาน
ภาพจาก https://bit.ly/48OjkaP
การลงทุนปั๊ม GINKA EV ทั้ง 2 รูปแบบ มีทั้งบริษัทลงทุนเองและขายแฟรนไชส์ให้นักลงทุน ใช้พนักงานแค่ปั๊มละ 1-2 คน สำหรับดูแลความสะอาดและเติมสินค้าในตู้อัตโนมัติ
นอกจากนี้ FSMART ยังเปิดให้เจ้าของพื้นที่ อาทิ คาเฟ่ ร้านอาหาร โรงแรม หรือสำนักงาน ลงทุนติดตั้งสถานีชาร์จ EV ในรูปแบบ GINKA Charge Point โดยต้องจัดเตรียมพื้นที่ พร้อมระบบไฟฟ้า จัดเตรียมอุปกรณ์ส่วนเพิ่มในการติดตั้งเครื่องชาร์จ หลังจากนั้นทางทีม GINKA EV ส่งผู้เชี่ยวชาญสำรวจพื้นที่ติดตั้ง นำเครื่องชาร์จเข้าติดตั้ง พร้อมระบบการใช้งานและบำรุงรักษาตลอดสัญญา โดย
ภาพจาก facebook.com/GINKAChargePoint
รูปแบบการลงทุนแฟรนไชส์ตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า GINKA EV มี 2 แบบ คือ
- AC 7.2 KW ราคาเริ่มต้น 89,000 บาท
- AC 22 KW ราคาเริ่มต้น 109,000 บาท
ภาพจาก facebook.com/GINKAChargePoint
จะเห็นได้ว่าเทรนด์การเปิดสถานีชาร์จรถ EV กำลังได้รับความนิยมจากผู้ประกอบการเอกชนมากขึ้น แม้แต่ซีพีออลล์ยังรุกโมเดลที่จอดรถพร้อมที่ชาร์จรถ EV มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบร้าน7-Eleven จากเดิมเช่าอาคารพาณิชย์มาเป็นการเช่าพื้นที่ว่างเปล่าเพื่อสร้างร้านแบบ Stand Alone ให้บริการที่จอดรถเป็นลานกว้าง มีพื้นที่ให้เช่าร้านค้า ร้านอาหาร เครื่องดื่ม
พร้อมร่วมมือกับสถานีชาร์จรถ EV ค่ายต่างๆ โดยที่ผ่านมาได้เปิดให้บริการสถานีชาร์จรถ EV ไปแล้วที่ 7-Eleven สาขาท่าเรือแหลมบาลีฮาย บางละมุง และมีการตั้งเป้าโมเดลนี้ครอบคลุมทั่วประเทศ ไม่เพียงเท่านี้ยังมีสถานีบริการน้ำมันค่ายต่างๆ เตรียมติดตั้งสถานีชาร์จรถ EV ในปั๊มน้ำมันของตัวเองอีกด้วย รองรับเทรนด์รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
ภาพจาก https://bit.ly/48OjkaP
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
แหล่งข้อมูล
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)