เทรนด์มาแรง! ธุรกิจร้านค้าปลีก ปี 2022

นับตั้งแต่การระบาดโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 จนถึงปัจจุบัน นอกจากจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจต่างๆ มากมาย ยังเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคให้หันมาซื้อสินค้าผ่านช่องทางแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น

แน่นอนว่าธุรกิจที่เปิดให้บริการเฉพาะออฟไลน์หากไม่ปรับรูปแบบบริการทั้งออฟไลน์และออนไลน์ก็ไม่สามารถอยู่รอดได้ เช่นเดียวกับธุรกิจค้าปลีกที่ได้รับผลกระทบจากการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ หลายๆ แบรนด์ต้องเร่งปรับโมเดลธุรกิจใหม่เพื่อความอยู่รอดอย่างยั่งยืน

หากถามว่าอนาคตเทรนด์ธุรกิจร้านค้าปลีกทั่วโลกจะเป็นอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ผู้ประกอบการธุรกิจร้านค้าปลีกและผู้บริโภคได้รับทราบ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลง

1. ร้านค้าปลีกปิดร้านต่อเนื่อง

ธุรกิจร้านค้าปลีก

ภาพจาก freepik.com

ในสหรัฐอเมริกาเห็นได้ชัดเจนว่าร้านค้าปลีกหลายๆ แบรนด์มีการปิดกิจการต่อเนื่อง ก่อนที่จะมีการระบาดโควิด-19 ด้วยซ้ำ และในปี 2022 ร้านค้าปลีกหลีกเลี่ยงการปิดร้านไม่ได้ เมื่อการช้อปปิ้งออนไลน์เริ่มเข้ามามีบทบาท ยิ่งการระบาดโควิด-19 เป็นตัวเร่งให้ธุรกิจค้าปลีกปิดกิจการ แม้ว่าประชาชนจะกลับสู่ชีวิตปกติหลังโควิด-19 แต่อัตราการปิดอาจลดลง

2. ก้าวไปสู่การช้อปปิ้งออนไลน์

48

ภาพจาก freepik.com

จุดหักเหที่เห็นได้ชัดในการปิดร้านค้าที่มีหน้าร้านจริง คือ ยอดขายจากออนไลน์เพิ่มขึ้น จากการศึกษาของ Verizon Look Forward รายงานโดย Retail Customer Experience พบว่า 60% ของผู้บริโภคบอกว่าซื้อของจากหน้าร้านจริงในช่วงก่อนเกิดโรคระบาดลดลงเหลือ 37% และในอนาคต 42% ของผู้บริโภคจะซื้อทั้งออฟไลน์และออนไลน์

3. จัดส่งฟรีและรวดเร็วตอบโจทย์ผู้บริโภค

47

ภาพจาก https://bbc.in/2ZU8gKF

ผู้บริโภคอาจซื้อสินค้าทางออนไลน์มากขึ้น และคาดหวังการจัดส่งที่รวดเร็วกว่าเดิม ผู้ให้บริการออนไลน์อย่าง Amazon กำลังปรับรูปแบบให้บริการจัดส่งที่รวดเร็ว นอกจากนี้ 90% ของผู้บริโภคบอกว่าจะซื้อสินค้าออนไลน์บ่อยขึ้นหากได้รับตัวเลือกในการจัดส่งฟรี นอกจากนี้ 24% ของผู้บริโภคยอมรับว่าพวกเขาจะใช้จ่ายมากขึ้นหากมีการจัดส่งฟรี

4. ร้านค้าปลีกออกแบบพื้นที่ให้ปลอดภัย

46

ภาพจาก freepik.com

ร้านค้าที่มีหน้าร้านจริงมีการออกแบบพื้นที่ใหม่เพื่อให้ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการรู้สึกปลอดภัยจากโควิด-19 ลูกค้าจำนวนมากยังคงต้องการไปซื้อสินค้าที่ร้านค้าที่มีหน้าร้านจริง เนื่องจากชอบประสบการณ์ในร้านค้าและชอบที่จะพูดคุยโดยตรงกับเจ้าของร้านก่อนซื้อสินค้า แต่ลูกค้าต้องการความปลอดภัยก่อนที่จะเข้าไปในร้าน

5. การชำระเงินด้วยตนเองในร้าน

45

ภาพจาก freepik.com

ตัวอย่างหนึ่งของการออกแบบร้านค้าใหม่ได้เพิ่มการใช้การชำระเงินด้วยตนเอง (เกี่ยวข้องกับการชำระเงินแบบไม่ต้องสัมผัส) จากการศึกษาของ Verizon Look Forward พบว่า 23% ของผู้บริโภคบอกว่า พวกเขาใช้บริการการชำระเงินด้วยตนเอง โดยร้านค้าบางแห่งได้ยกเลิกบริการชำระเงินที่เคาน์เตอร์ POS ปรับไปใช้ระบบชำระเงินด้วยมือถือ

6. การชำระเงินแบบไม่ต้องสัมผัส

44

ภาพจาก freepik.com

การชำระเงินแบบไม่ต้องสัมผัสได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในช่วงปี 2020-2021 จากการศึกษาของ Verizon Look Forward พบว่า 1 ใน 3 ของผู้บริโภคใช้ระบบชำระเงินด้วยบัตรเครดิตแบบไม่ต้องสัมผัส 36%, การชำระเงินผ่านมือถือแบบไม่ต้องสัมผัส 33%) และบริการจัดส่งของร้านของชำกว่า 38% แบบไม่ต้องสัมผัสเป็นครั้งแรกในช่วงการระบาดโควิด

7. ร้านค้าปลีกนำเทคโนโลยี AI มาใช้

43

ภาพจาก freepik.com

การใช้งาน AI ในร้านค้าปลีก ได้แก่ การจัดการสินค้าคงคลัง การเข้าถึงข้อมูลแบบไดนามิก การแชทแบบโต้ตอบ การดูแลด้วยภาพ การค้นพบตามคำแนะนำ การสนับสนุนการสนทนา การมีส่วนร่วมกับลูกค้า และอื่นๆ บริษัทต่างๆ ใช้ AI เพื่อสร้างประสบการณ์การช็อปปิ้งที่เป็นส่วนตัวให้กับลูกค้ามากขึ้น

8. การไลฟ์สตรีมมิ่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น

42

ภาพจาก freepik.com

ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกหันมานิยมสตรีมมิงแบบสดเพื่อขายสินค้า และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในช่วงปี 2020 และ 2021 ผู้บริโภคที่กักตัวอยู่บ้านหันมาดูการสตรีมมิงสดจากร้านค้า เนื่องจากสามารถมีส่วนร่วมเมื่อช็อปปิ้งออนไลน์ ผู้บริโภคใช้เวลาหลายชั่วโมงในการดูคนดัง และผู้มีอิทธิพลที่จัดรายการบันเทิงในหัวข้อต่างๆ ที่ออกแบบมาเพื่อขายสินค้า

9. การใช้ Social Commerce บน Instagram

41

ภาพจาก https://bit.ly/3a3a9Xd

ผู้ค้าปลีกหันมาใช้ Social Commerce สร้างประสบการณ์ในการช็อปปิ้งแบบส่วนตัวให้ลูกค้า เช่น การชำระเงินบน Instagram ช่วยให้ผู้ค้าปลีกมอบประสบการณ์แบบครบวงจรให้กับลูกค้าได้ ด้วยเหตุนี้แบรนด์ค้าปลีกจึงสามารถโต้ตอบกับลูกค้าได้ กำหนดส่วนลดเฉพาะบุคคล รับคำติชม โดยที่ทุกคนไม่ต้องออกจาก Instagram

10. ร้านค้าปลีกยึดโมเดลตลาด Omni channel

40

ภาพจาก https://bit.ly/2ZKy4bW

นับจากนี้ไป Omni-Channel จะกลายเป็นโมเดลที่ทุกแบรนด์ค้าปลีกต้องให้ความสำคัญอย่างจริงจัง บนโลกที่ไร้รอยต่อ การซื้อขายสินค้าก็จะถูกทลายเส้นแบ่งระหว่างออนไลน์กับออฟไลน์เช่นกัน ทุกแบรนด์ต้องเดินหน้าพัฒนาเครื่องมือใหม่ๆ เพื่อมอบประสบการณ์การช้อปปิ้งที่สะดวกสบาย และตอบโจทย์ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

ที่สำคัญคือการยกระดับการขนส่งโลจิสติสก์เพื่อให้ร้านค้าออฟไลน์มีความเป็นดิจิทัลมากขึ้น และต้องพัฒนาแพลตฟอร์มการชำระเงินแบบดิจิทัล รวมถึงช่องทางการชำระเงินออนไลน์จากธนาคาร เรียกว่าแบรนด์ไหนเข้าใจผู้บริโภคมากกว่า เลือกเครื่องมือได้ถูกต้อง และเข้าถึงได้ไวกว่า ย่อมสร้าง ‘Seamless Shopping Experience’ ให้กับลูกค้าได้อย่างแท้จริง

นั่นคือ 10 เทรนด์มาแรงสำหรับธุรกิจร้านปลีกในปี 2022 ผู้ประกอบการค้าปลีกต้องเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลง รู้ก่อนปรับตัวก่อน ย่อมได้เปรียบ และอยู่รอดอย่างยั่งยืน เพราะโลกธุรกิจไม่เหมือนอีกต่อไป

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3l4XKIE

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

 

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช