เทรนด์ตลาดครึ่งปีหลัง 2024 คนรายได้น้อย “ขายของดี แค่ตอนจัดโปร”
เป็นความจริงที่เจ็บปวดแต่ก็ต้องยอมรับและทนสู้ชีวิตกันต่อไป สถานการณ์ที่คนส่วนใหญ่เจอตอนนี้คือรายได้น้อย รายจ่ายมาก ไม่ต้องคิดเรื่องเงินออม แค่ให้รอดไปแต่ละเดือนก็แย่แล้ว
ดูที่รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน = 29,502 บาท
ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน = 24,362 บาท
เท่ากับว่าคนไทยตอนนี้ต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายมากกว่า 80% ของรายได้ต่อเดือน
ที่มาของรายจ่ายก็แตกต่างกันไปตามแต่ละครอบครัวหลักๆ คือ ค่าอุปโภคบริโภค , ค่าที่อยู่อาศัย , เครื่องใช้ภายในบ้าน , ค่ายานพาหนะและการเดินทาง , ชำระหนี้ต่างๆ เป็นต้น
ดังนั้นเทรนด์การตลาดในครึ่งปีหลัง 2024 ก็เป็นโจทย์ที่บรรดาร้านค้า หรือคนทำธุรกิจต้องคิดให้หนักว่าจะขายแบบไหนอย่างไร ให้อยู่รอดในยุคนี้
ยิ่งบรรดามีคู่แข่งจากทุนจีนที่เข้ามาร่วมแชร์ส่วนแบ่งการตลาดเท่ากับเปิดศึกรอบด้านทั้งคู่แข่งทางธุรกิจและกำลังซื้อที่ลดน้อยลงชัดเจน แต่มองในอีกมุมหนึ่งที่เป็นผลดีต่อลูกค้าคือเมื่อมี การแข่งขันสูง ย่อมนำมาซึ่ง “ทางเลือก” ที่มากขึ้น
และเทรนด์การเลือกซื้อสินค้านับแต่นี้คนส่วนใหญ่จะเน้นที่ความคุ้มค่า คุ้มราคา โอกาสยึดติดกับแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งถาวรลดน้อยลง ความเป็น Brand Loyalty จะหายไปเยอะมาก
ลองไปดูปัจจัยน่าสนใจเกี่ยวกับการตัดสินใจซื้อสินค้าว่าต่อไปนี้จะดูที่อะไร
- 30% ของผู้บริโภคจะเปลี่ยนแบรนด์สินค้าเมื่อมีโปรโมชั่น หรือส่วนลดพิเศษ
- 28% ของผู้บริโภคจะเปลี่ยนไปซื้อร้านค้าที่ให้ส่วนลดพิเศษที่ดีที่สุด
ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าในพฤติกรรมลูกค้าในครึ่งปีหลังปี 2024 จะเน้นที่ Value for money ซึ่งไม่ใช่แค่การจัดโปรโมชั่น หรือส่วนลดพิเศษเท่านั้นหากแต่ลูกค้าต้องการความรู้สึกคุ้มค่าร่วมด้วย และสิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญของแบรนด์ในการสร้างยอดขายได้ดีที่สุด
แต่ก็อย่าลืมว่าในมุมของผู้ประกอบการเอง ก็ต้องแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในหลายด้านไม่ต่างจากลูกค้า เท่ากับว่าถ้ามาแข่งกันจัดโปรเพื่อกระตุ้นยอดขายอย่างเดียว แทนที่จะแก้ปัญหาได้อาจกลายเป็นการเพิ่มปัญหาในระยะยาวมากกว่า
วิธีการหนึ่งที่น่าสนใจคือ “Economies of Scale” หรือการลดต้นทุนต่อหน่วย เพื่อเอาส่วนต่างไปเพิ่มในกำไรที่มากขึ้น
กรณีนี้มีตัวอย่างน่าสนใจคือ ซุปเปอร์ชีป ที่โตจากโชห่วยเล็กๆ สู่ห้างค้าปลักอันดับ 1 ในภูเก็ต รายได้รวมแตะหมื่นล้านบาท และมีสาขากว่า 50 แห่งใน 4 จังหวัดภาคใต้ กลยุทธ์หนึ่งที่นำมาใช้คือ การตัดต้นทุนที่ไม่จำเป็น เพื่อกดราคาสินค้าขายให้ถูกที่สุด เช่น รูปแบบร้านบางแห่งไม่มีการติดแอร์ ลักษณะเป็นพื้นที่โล่งขนาดใหญ่คล้ายโกดังเก็บสินค้า แต่ก็มีร้านที่ขายในรูปแบบมินิมาร์ทร่วมด้วย ก็เป็นทางเลือกให้กับลูกค้าในทุกความต้องการ
ภาพจาก https://bit.ly/4dtcBWa
ซึ่งเป็นการตลาดที่เรียกว่า Shrinkflation ที่มีความน่าสนใจเนื่องจากไม่ใช่แค่ลดราคา แต่ยังเพิ่มภาพลักษณ์ให้แบรนด์ดุมีมูลค่า จึงควรนำมาใช้ในครึ่งปีหลังอย่างมาก รวมถึงการที่สินค้า “แตกไลน์” เพื่อให้มีตัวเลือกกับผู้บริโภคที่มากขึ้นก็เป็นอีกวิธีสร้างรายได้ แต่สินค้าใหม่นี้ต้องตั้งราคาให้พอเหมาะ ขนาดสินค้ามีความเหมาะสมกับราคา โดยผลสำรวจบอกว่า 89% ของผู้บริโภคเปิดรับแบรนด์ใหม่ และสินค้าใหม่ ที่น่าสนใจมากกว่า
ถึงแม้ว่าในช่วงครึ่งปีหลัง 2567 ผู้ประกอบการต้องสู้ในหลายปัจจัยเพื่อให้อยู่รอด มีคำกล่าวว่าธุรกิจในยุคนี้จะหากำไรที่ละมากๆเหมือนสมัยก่อนไม่ได้แค่เอาตัวให้รอดได้ก็ถือว่าเก่งมากแล้ว ก็ต้องมาดูว่าท่ามกลางวิกฤติที่มากมายจะมีปัจจัยอะไรที่สนับสนุนให้ธุรกิจลืมตาอ้าปากได้บ้าง หรือจะหวังพึ่งมาตรการรัฐอย่างดิจิทัลวอลเลต ที่ตอนนี้ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะกระตุ้นกำลังซื้อให้ดีขึ้นแค่ไหน
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)