เทรนด์ Content Marketing มาแรง! ปี 2023

ต้องยอมรับว่าการทำ Content Marketing มีความท้าทายมากขึ้นทุกๆ ปี จึงทำให้เจ้าของธุรกิจและนักการตลาดดิจิทัลจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการทำคอนเทนต์ต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป สำหรับในปี 2023 รู้หรือไม่ว่าการทำ Content Marketing จะเปลี่ยนแปลงไปในด้านไหนบ้าง

Content Marketing

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะมาแชร์ เทรนด์ Content Marketing มาแรงปี 2023 จากการสัมภาษณ์ “คุณแบงต์-สิทธินันท์ พลวิสุทธิ์ศักดิ์” Owner & CEO ของ Content Shifu ที่เจ้าของธุรกิจและนักการตลาดจะต้องรู้!!

1. คอนเทนต์ที่มีการ “ปฏิสัมพันธ์”

Content Marketing

นักการตลาดต่างๆ บอกว่า คอนเทนต์ที่มีการ “ปฏิสัมพันธ์” หรือ Interactive Content นั้นจะเป็นที่นิยม ตัวอย่าง Interactive Content ที่ถูกใช้บ่อยๆ เช่น Quiz หรือ Poll นอกจากนั้นแล้ว คอนเทนต์ประเภท Gaming, Augmented Reality (AR), Virtual Reality (VR) ที่กระตุ้นให้คนมาเล่นและมีส่วนร่วมก็เป็นอีกรูปแบบที่มาแรงเช่นกัน

จะเห็นได้จากการที่เริ่มมีแพลตฟอร์มที่อยู่ในรูปแบบ xx to Earn ถูกปล่อยออกมาและเป็นที่นิยมมากขึ้น เช่น Play to Earn หรือ Exercise to Earn เช่น Wirtual จะเห็นได้ว่ามนุษย์เราเองเป็นสัตว์สังคม ชอบการมีส่วนร่วม ไม่ว่ายังไงก็แล้วแต่ ถ้ามีทางเลือกหรือช่องทางให้มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กันได้ เพื่อแสดงความคิดเห็น แสดงออก ก็ย่อมเป็นทางเลือกที่ดีอย่างแน่นอน

2. Storydoing เป็นสิ่งสำคัญ

Content Marketing

ในปีที่ผ่านมาการทำคอนเทนต์ที่แสดงให้เห็นถึง Brand’s Values หรือคุณค่าของแบรนด์ต่างเป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะคนอยากปฏิสัมพันธ์ หรือซื้อสินค้า/บริการ จากแบรนด์ที่ยึดถือคุณค่าเดียวกับพวกเขา ตัวอย่าง การที่ Microsoft เปิดตัวและทำแคมเปญเกี่ยวกับ Adaptive Accessories ที่ช่วยให้ผู้พิการสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ของ Microsoft ได้ง่ายยิ่งขึ้น

ซึ่งการทำ Content Marketing ในรูปแบบ Storytelling ไม่เพียงพอ แต่ต้องทำ Storydoing ด้วย อย่างที่ Microsoft ไม่ได้แค่บอกว่าพวกเขาแคร์ผู้พิการ แต่พวกเขาลงมือสร้างอุปกรณ์สำหรับผู้พิการขึ้นมาจริงๆ เพราะคนชอบซื้อของจากแบรนด์ที่ยึดถือคุณค่าคล้ายๆ กัน

3. Niche is Bliss เจาะจงไปเลย

ต่อไปการทำคอนเทนต์ไม่ควรที่จะถูกทำขึ้นมาเพื่อคนทุกคน เพราะถ้าคุณเป็นทุกสิ่งให้กับทุกคนแล้ว แสดงว่าคุณไม่ได้เป็นอะไรสำหรับใครเลยในโลก ที่ความสนใจของคนมีความเฉพาะทางมากยิ่งขึ้น ใครที่ทำคอนเทนต์แบบเจาะจงสำหรับคนแค่บางกลุ่ม จะได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น

เช่น ร้าน Jone’s Salad ที่โฟกัสเรื่องการคอนเทนต์สายสุขภาพผ่านการเล่าเรื่องด้วยการ์ตูนน่ารักๆ เป็นหลัก หรือ เพจทำที่บ้าน ที่โฟกัสเรื่องการแชร์ความรู้และประสบการณ์ธุรกิจสำหรับทายาทที่ต้องรับช่วงต่อจากที่บ้าน นักการตลาดยิ่งทำคอนเทนต์ได้เจาะจง ยิ่งน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

4. วิดีโอ คลิปสั้นๆ

โดยเฉพาะวิดีโอในรูปแบบ Short-form ที่ทั้ง TikTok, YouTube (YouTube Shorts), Facebook (Facebook Reels) และ Instagram (Instagram Reels) ต่างลงมาเล่นตลาดนี้ สถิติจาก Thailand Digital Advertising Spend 2022 ของทาง DAAT ที่ทำการสำรวจข้อมูลจาก Agency ใหญ่ๆ ในประเทศไทยได้บอกไว้ว่า ในปี 2023 TikTok เป็น Media อันดับแรกที่พวกเขาวางแผนว่าจะใช้ให้กับแบรนด์ในอนาคต ซึ่ง Agency ถือเป็นกระบอกเสียงของแบรนด์เหมือนกัน

นอกจากนี้ ไม่ใช่แค่วิดีโอสั้นที่ไปได้ดี วิดีโอแบบยาวเองก็ยังคงเป็น Format ที่ยังมีความสำคัญอยู่เหมือนกัน ข้อมูลจาก Google ได้บอกไว้ว่าเทรนด์การค้นหา Video Essays หรือวิดีโอที่มีความยาวระหว่าง 25 นาทีจนถึง 1 ชั่วโมง ก็เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน โดยสรุปก็คือ วิดีโอไม่ว่าจะสั้นหรือยาวต่างก็เป็นเทรนด์ขาขึ้น มีประโยชน์และจุดประสงค์ในตัวเอง

5. Partnership ต้องไปด้วยกัน

ในปีที่ผ่านมามีตัวอย่างของการทำ Collaboration & Partnership จาก Brand หรือ Influencer ดังๆ ที่ทำให้ 1+1 นั้นเป็นมากกว่าแค่ 2 อยู่หลายเคส เช่น การร่วมมือกันของแบรนด์ที่อยู่กับคนไทยมาอย่างยาวนานอย่างห่านคู่ (แบรนด์เสื้อ) และช้างดาว (แบรนด์รองเท้า) ที่ผลิตสินค้า Limited Edition ออกมา และกลายเป็นกระแสที่คนอยากจะสั่งกันทั่วบ้านทั่วเมือง

นอกจากไอเดียแบบ Brand x Brand แล้ว การที่ Brand เอา Influencer มาร่วมมือกันก็เป็นอีกท่าที่นิยมในปีที่ผ่านมา และในปี 2023 และปีถัดๆ ไปก็อาจจะเห็นวิธีนี้มากขึ้นเช่นกัน หรืออย่างกรณี Louis Vuitton จับเอาคู่แข่งตลอดกาลในวงการฟุตบอลอย่าง Lionel Messi และ Christiano Ronaldo มาอยู่ร่วม Frame เดียวกัน ซึ่งส่งผลให้กลายเป็นคอนเทนต์เป็นกระแสที่โด่งดังในชั่วข้ามคืน ทำให้ Louis Vuitton ได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ด้วยไปเต็มๆ

6. ของเก่านำมาเล่าใหม่

คอนเทนต์เก่าแต่ถ้าเอามาเล่าให้คนใหม่ คอนเทนต์นั้นๆ ก็จะกลายเป็นของใหม่ หรือ คอนเทนต์ที่เก่าแต่เอามาเล่าด้วยวิธีการแบบใหม่ ฟอร์แมตแบบใหม่ หรือแพลตฟอร์มที่ต่างไป คอนเทนต์นั้นๆ ก็จะกลายเป็นของใหม่ สิ่งที่นักการตลาดสายคอนเทนต์คุ้นเคยดีก็อาจจะเป็นการทำ Content Repurposing ในรูปแบบง่ายๆ

เช่น เอาเนื้อหาจากในบทความมาแปลงเป็น Social Post หรือ Social Album นอกจากนั้นแล้ว เทรนด์การเอาคลิปที่ถ่ายและตัดต่อบน Social Media Platform บางตัว ไปลงแพลตฟอร์มอื่น เช่น เอาคลิปที่ตัดต่อและเผยแพร่บน TikTok ไปโพสต์ต่อบน Facebook & Instagram ก็กลายเป็นอีกเทรนด์ที่น่าสนใจมากขึ้นกว่าเดิมอีกเช่นกัน

7. Automation เครื่องทุ่นแรง

จะเห็นได้ว่าระบบ Automation เริ่มถูกเอามาใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในปี 2023 โซลูชั่นต่างๆ ก็จะยิ่งดีและยิ่ง Advance มากยิ่งขึ้น เช่น การเอา Automation มาใช้ทุ่นแรงในการทำ Content Marketing เช่น การใช้พวก Social Media Management Platform เช่น Hootsuite หรือ Buffer ในการบริหารจัดการ Social Media หลายๆ ตัวพร้อมกัน หรือการใช้เครื่องมืออย่าง Publer ที่สามารถช่วยให้คุณตั้งเวลาใส่คอมเมนต์อัตโนมัติหลังจากที่คุณโพสต์เนื้อหานั้นๆ ไป (อาจจะเพื่อใส่แหล่งอ้างอิง หรือทำให้คนรู้สึกว่าคอนเทนต์นั้นๆ มีคนเข้ามาปฏิสัมพันธ์ด้วยแล้ว

นอกจากนั้นแล้ว พวก AI Writer โดยเฉพาะ AI Writer ที่ใช้ AI จาก GPT-3 ของ OpenAI ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่น่าจับตามองมากๆ ที่ผ่านมาระบบ AI ยังเขียนภาษาอังกฤษได้ไม่ดี แต่ล่าสุด AI Writer สามารถเขียนคอนเทนต์ภาษาอังกฤษได้ดีและเร็ว เมื่อมีข้อมูลมากขึ้น AI ก็จะเริ่มฉลาดขึ้น ซึ่งในความเห็นของคุณแบงค์ ก็คือ ถ้าเป็นคอนเทนต์ภาษาอังกฤษ คิดว่าบทบาทของ AI ที่มีต่อการทำคอนเทนต์จะน่าจับตามองมากๆ ในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ส่วนคอนเทนต์ภาษาไทย จากที่คุณแบงค์ทดลองมาพบว่า ยังอยู่แค่ในระดับอ่านพอรู้เรื่อง แต่ยังไม่สามารถเอาไปใช้งานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

8. อีเวนต์ออนไลน์

คุณแบงค์มองว่า Event Marketing เป็นอีกกระบวนการหนึ่งของการทำ Content Marketing ถ้าทำดีๆ นอกจากจะได้ชื่อเสียงเพิ่มขึ้น ยังช่วยให้ยอดขายดีขึ้นตามไปด้วย ในช่วงไตรมาส 3-4 ของปีที่ผ่านมา เห็นได้ว่าอีเวนต์ต่างๆ เริ่มกลับมาจัดกันมากขึ้น แต่การจัดงานอีเวนต์จะไม่เหมือนกับช่วงก่อนโควิด-19 เพราะไม่ได้ถูกจัดแค่ในรูปแบบ On Ground แต่หลายๆ งานทำแบบ Hybrid มีทั้ง On Ground และ Online ที่จะดูสดหรือดูย้อนหลังก็ได้

อย่างเช่น Creative Talk Conference, Digital SME Conference Thailand หรือ iCreator Conference ต่างก็จัดงานแบบ Hybrid คุณแบงค์เชื่อว่าการจัดงานอีเวนต์ในปีต่อๆ ไป น่าจะมีวิธีการและเทคโนโลยีที่หลากหลายและตื่นเต้นมากขึ้น ถ้าใครอยากจะทำ Event Marketing แนะนำให้ลองไปดูตัวอย่างงานของคนที่เคยจัดมาแล้ว กับดูเรื่องการใช้งานเทคโนโลยีดีๆ เพราะมันจะช่วยให้การทำ Content Marketing ผ่านการจัดอีเวนต์ออกมาได้น่าสนใจมากขึ้น

9. Data Collection & Content Personalization

ภาพจาก www.facebook.com/bankac120

ย้อนกลับไปเมื่อกลางปี 2022 ประเทศไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act หรือ PDPA) ทำให้ธุรกิจต้องหันมาให้ความสำคัญกับการเก็บและบริหารจัดการข้อมูลของลูกค้าหรือผู้ติดตามด้วยตัวเองมากขึ้น จะหวังพึ่งแต่ Third Party Data เช่น ข้อมูลจาก Pixel ของ Facebook ไม่ได้

ลูกค้าคาดหวังว่าคอนเทนต์ที่พวกเขาจะได้รัต้องมีความเป็น Personalize เป็นคอนเทนต์เฉพาะสำหรับตัวเองโดยเฉพาะ ดังนั้น การทำคอนเทนต์ในปี 2023 จะไม่ใช่การทำคอนเทนต์แบบเดียวกันที่ทุกคนจะได้รับอีกแล้ว แต่สิ่งที่นักการตลาดจะต้องเริ่มคิด ก็คือ จะทำอย่างไรที่จะสามารถส่งมอบคอนเทนต์ที่เหมาะกับผู้ติดตามแต่ละคนได้

อย่างกรณี Content Shifu เริ่มเก็บข้อมูลดูว่าผู้ติดตามทำงานในตำแหน่งไหน เช่น Management, HR หรือ IT หรือทำงานในอุตสาหกรรมไหน เช่น Media, Marketing Agency/Consulting หรือ Consumer Goods ซึ่งในบางครั้งทีมงานก็จะทำการส่งคอนเทนต์ไปหาเฉพาะคนที่ Profile บางอย่างโดยเฉพาะ เช่น ถ้ามีคอนเทนต์เกี่ยวกับ Corporate Training กลุ่มคนที่จะได้รับเนื้อหาเรื่องนี้ก็จะเป็น HR ที่เป็นคนดูแลเรื่องนี้โดยตรง ไม่ใช่พนักงานทั่วไปที่ไม่ได้เป็นคนตัดสินใจ เป็นต้น

ติดตามคลังคอนเทนต์ความรู้ชั้นดีในด้าน Inbound Marketing, Content Marketing และ Martech

https://www.facebook.com/bankac120

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช