เทคนิคเปิดร้านเบเกอรี่ (แบบไม่ต้องซื้อแฟรนไชส์)
อาหารในกลุ่มขนมปังหรือว่า เบเกอรี่ ปัจจุบันได้รับความนิยมไม่แพ้อาหารประเภทข้าวต่างๆ ยิ่งคนยุคนี้เวลาตอนเช้าเร่งรีบ ขนมปังและเบเกอรี่จึงเป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับรับประทานอิ่มท้องแบบไม่ต้องเสียเวลา แถมยังเป็นมื้อเบรคระหว่างทำงานได้ดีอีกด้วย
ธุรกิจร้านเบเกอรี่มีการเติบโตเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามความต้องการของลูกค้าที่มีมากขึ้นเช่นกัน หลายคนบอกว่า เปิดร้านเบเกอรี่จำเป็นต้องมีทักษะด้านการทำขนม คนไม่เก่งด้านนี้เปิดร้านเบเกอรี่ไม่ได้
แต่ www.ThaiSMEsCenter.com เห็นว่าเดี๋ยวนี้เรามีแฟรนไชส์เบเกอรี่ให้เลือกลงทุนมากมาย แต่สำหรับบางคนอาจคิดต่างคืออยากมีแบรนด์ของตัวเอง หรือคิดสูตรเบเกอรี่ด้วยตัวเอง จึงเกิดเป็นคำถามว่าถ้าอยากลงทุนร้านเบเกอรี่แบบไม่ซื้อแฟรนไชส์จะมีวิธีอย่างไรบ้าง
3 วิธีลงทุนร้านเบเกอรี่ แบบไม่ซื้อแฟรนไชส์
1.รับเบเกอรี่จากผู้ผลิตมาขาย
การขายในรูปแบบนี้ไม่ต้องลงทุนเรื่องอุปกรณ์ ไม่ต้องเสียแรง สามารถรับเบเกอรี่มาตั้งโต๊ะขายเอง ตามตลาดนัด หรือในที่ชุมชม ลงทุนวิธีนี้ถ้าได้ผู้ผลิตที่ฝีมือดี ยอดขายเราก็จะดีด้วย แต่วิธีนี้ก็มีข้อเสียว่า เราควบคุมเรื่องราคาเองไม่ได้เพราะต้นทุนมาจากผู้ผลิตเราก็ต้องขายในราคาที่บวกกำไร ถ้าต้นทุนมาแพงเราก็ต้องขายแพง อาจเสียเปรียบคนที่เขาผลิตสินค้าเองได้ แถมเรายังไม่สามารถเลือกรูปแบบสินค้าได้ตามที่ต้องการ ผู้ผลิตเขามีแบบไหนเราก็ต้องรับมาขายแบบนั้น
2.ทำเบเกอรี่ขายเอง
อยากทำเบเกอรี่ขายเองต้องเริ่มจากเราชอบและอยากทำ แน่นอนว่าต้นทุนการเปิดร้านเองนั้นสูงอยู่แล้ว แต่ก่อนที่จะลงทุน ควรคิดให้ดีก่อนว่า รสชาติอร่อยพอที่ลูกค้าจะติดใจมากน้อยแค่ไหน แต่การทำเบเกอรี่ขายด้วยสูตรตัวเองก็มีข้อดีคือเราควบคุมต้นทุนเองได้ ออกแบบเบเกอรี่ที่ต้องการได้ดังใจ ยิ่งทำไปนานๆ ยิ่งมีประสบการณ์โอกาสที่แบรนด์จะเป็นที่รู้จักก็มีมากขึ้นด้วย
3.ร้านเบเกอรี่พร้อมที่นั่ง
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายในการเปิดร้านเบเกอรี่ชัดเจนอยู่แล้วคือ เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่ชอบมาพักผ่อน พูดคุย หรืออ่านหนังสือ นอกจากนี้อาจเปิดเป็นร้านเครื่องดื่มเพิ่มเติมด้วย เช่น กาแฟ น้ำผลไม้ เป็นต้น ข้อดีของการเปิดร้านเต็มรูปแบบคือ ภาพลักษณ์ที่ชัดเจน และสามารถกลายเป็นธุรกิจที่มั่นคงและอาจขายเป็นแฟรนไชส์ของตัวเองได้ในอนาคตแต่ข้อเสียคือการลงทุนแบบนี้สูงมาก ทำเลร้านต้องดี และต้องมีประสบการณ์ในการบริหารจัดการร้านด้วย
ต้นทุนของการเปิดร้านเบเกอรี่ (ด้วยตัวเอง)
ต้นทุนในการเปิดร้านเบเกอรี่ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. ต้นทุนคงที่
เป็นต้นทุนสำหรับการซื้อเครื่องมือ ซึ่งในกรณีนี้หมายถึง เตาอบ เครื่องผสมแป้งและส่วนผสมอื่นๆ ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ เช่นเตาอบ โดยราคาอุปกรณ์เหล่านี้แปรผันตามคุณภาพ ถ้าซื้อราคาแพงฟังก์ชั่นการใช้งาน อายุการใช้งานก็จะดีกว่า แต่หากซื้ออุปกรณ์ในราคาที่ถูกลง อายุการใช้งานและฟังก์ชั่นต่างๆ ก็จะแปรผันไปตามราคาด้วย ประมาณการต้นทุนคงที่ (ส่วนของอุปกรณ์เครื่องมือโดยประมาณ)
- เครื่องผสมแป้ง 17,000 บาท
- เตาอบ 20,000 บาท
- อุปกรณ์อื่นๆ ประมาณ 2,000 บาท
ต้นทุนโดยประมาณ 39,000 บาท (คิดคำนวณเบื้องต้น ราคาแท้จริงแปรผันตามกลไกตลาดในปัจจุบัน)
2. ต้นทุนผันแปร
เป็นต้นทุนที่ใช้สำหรับการซื้อวัตถุดิบต่างๆ เช่น แป้ง น้ำตาล เนย เป็นต้น สินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าที่ต้องซื้อใหม่อย่างสม่ำเสมอ ต้นทุนสินค้าพวกนี้จะผันแปรไปตามราคาตลาดแต่ถ้าเราซื้อสินค้าในจำนวนมากๆ ก็สามารถต่อรองราคาได้ แต่อย่าลืมว่าถ้าเน้นให้ราคาถูกไว้ก่อน คุณภาพสินค้าก็อาจจะต่ำไปด้วยก็ได้ สำหรับต้นทุนวัตถุดิบนั้น สามารถคิดแยกส่วนตามแต่ชนิดเบเกอรี่ที่จะเลือกผลิต ซึ่งก็แล้วแต่บุคคลว่าจะผลิตขนมอะไรออกมาขาย ซึ่งจะต้องศึกษาตลาดผู้บริโภคให้ดีก่อนด้วย
ตลาดเบเกอรี่นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ
1. เบเกอรี่ระดับบน หรือ ระดับพรีเมี่ยม เป็นระดับเบเกอรี่ที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง และเป็นกลุ่มลูกค้าที่ให้ความสำคัญกับวัตถุดิบในการทำเบเกอรี่ ซึ่งต้องมาจากวัตถุดิบที่มีคุณภาพ หรูหรา อีกทั้งยังเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีความสนใจในรายละเอียดของบรรจุภัณฑ์ของสินค้าด้วย ซึ่งร้านเบเกอรี่ในโรงแรมก็เป็นอีกหนึ่งร้านที่อยู่ในกลุ่มนี้
2. เบเกอรี่ระดับกลาง เป็นระดับเบเกอรี่ที่ตอบโจทย์กลุ่มลุกค้าที่ไม่ได้มีกำลังซื้อที่สูงมากนัก จัดว่าอยู่ในระดับกลางๆ เบเกอรี่ในระดับนี้จะมีความลงตัวทั้งในเรื่องของรสชาติ คุณภาพ รวมไปถึงการทำบรรจุภัณฑ์ที่ดึงดูด แต่จะตั้งราคาขายที่ไม่แพง สามารถเอื้อมถึงได้
3. เบเกอรี่ระดับล่าง เป็นระดับเบเกอรี่ที่สามารถเห็นได้ทั่วไปในย่านชุมชน มีวิธีการขายที่เรียบง่าย ไม่ได้ใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีความพิเศษอะไรมากมาย ตั้งราคาขายตามความเหมาะสมของคุณภาพเบเกอรี่ ซึ่งตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่มีรายได้น้อยนั่นเอง
สูตรการคิดต้นทุนเบเกอรี่ เพื่อตั้งราคาขาย?
โดยทั่วไป คือคำนวณจากอัตราส่วนของต้นทุน วัตถุดิบเบเกอรี่ หากสามารถลดต้นทุนได้ก็จะสามารถเพิ่มกำไรได้ โดยพื้นฐานส่วนมากแล้วมักคิดต้นทุนให้มีอัตราส่วน 30-40% แน่นอนว่าสินค้าทุกชนิดไม่จำเป็นต้องใช้อัตราส่วนนี้ในการกำหนดราคาไปเสียทั้งหมด ในบรรดาเมนูที่ผลิตออกมา อาจมีสินค้าบางชนิดที่ใช้วัตถุดิบเบเกอรี่ที่จำเป็นเพียงแค่แป้ง ยีสต์ เนย ช็อกโกแลต น้ำและเกลือ เป็นต้น และมีสินค้าเบเกอรี่บางชนิดที่ต้องใช้ผลไม้หรือผักอื่นๆ เพิ่มเติม
หากพิจารณาเฉพาะต้นทุนแล้ว สินค้าที่มีส่วนผสมอื่น เช่น ผลไม้ก็ควรจะมีราคาที่สูงกว่า แต่โดยทั่วไปแล้วคงไม่มีใครอยากซื้อขนมทานเล่นชิ้นละ 500 บาท ดังนั้นในความเป็นจริงจึงต้องจับคู่สินค้าที่มีต้นทุนสูงและสินค้าที่มีต้นทุนต่ำมาเข้าคู่กันให้เหมาะสม โดยในแต่ละสูตรเบเกอรี่จะมีวัตถุดิบที่แตกต่างก็พยายามคิดแยกแต่ละตัวเอาตัวเลขมารวมกันเพื่อเป็นต้นทุนเช่น
แป้งเค้ก 1 กิโลกรัม หรือ 1000กรัม ราคา 50 บาท ในสูตรใช้แป้ง 150กรัม ต้นทุนแป้งเค้กต่อสูตรนี้กี่บาท ?
ต้นทุนต่อสูตร=(150 × 50)/1000 = 7.5 บาท
น้ำตาล 1 กิโลกรัม ราคา 23 บาท ในสูตรใช้น้ำตาล 175
ต้นทุนต่อสูตร=(175 ×23)/1000 = 4.025 บาท
นม 1 กล่อง ปริมาณ 200ml ราคา 12 บาท ในสูตรใช้นม 150 ml
ต้นทุนต่อสูตร=(150 ×2)/200 = 9 บาท
ก็เอาตัวเลขอย่าง 7.5 + 4.025 + 9 มาเป็นราคาต้นทุน ทั้งนี้ในแต่ละสูตรเบเกอรี่มีวัตถุดิบและปริมาณการใช้ที่แตกต่าง การคำนวณนี้จึงเป็นการทำแบบคร่าวๆ ให้มองเห็นภาพชัดเจน ทีนี้พอทราบต้นทุนวัตถุดิบแล้ว ก็อย่าลืมเอาต้นทุนด้านอื่นๆเช่นสถานที่ อุปกรณ์ ไฟฟ้า แรงงาน การตลาด มาคำนวณรวมกันให้ดีจะได้เป็นราคาขายต่อเมนูที่เหมาะสมและไม่ขาดทุน ซึ่งตัวเลขต้นทุนต่อเมนูเหล่านี้ก็จะผันแปรไปตามวัตถุดิบที่ใช้ ทำเลที่ตั้งร้าน งบการตลาด จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเบเกอรี่บางร้านราคาถึงแพงกว่าอีกบางร้าน
ไม่อยากยุ่งยาก เลือกลงทุนกับแฟรนไชส์เบเกอรี่
สำหรับคนที่มองว่าอยากลงทุนธุรกิจเบเกอรี่แต่ตัวเองยังไม่มีประสบการณ์ไม่มีความชำนาญและกลัวว่าสินค้าจะสู้คู่แข่งที่เปิดมานานไม่ได้ การเลือกลงทุนกับแฟรนไชส์เบเกอรี่ก็เป็นวิธีที่น่าสนใจเพราะแฟรนไชส์เหล่านี้ มีประสบการณ์ มีเทคนิคการบริหารจัดการร้าน มีการฝึกอบรมให้ผู้ลงทุนก่อนเปิดร้านจริง เรียกว่าเป็นตัวช่วยในการทำธุรกิจที่ดี มีหลายแฟรนไชส์น่าสนใจเช่น
มารุ วาฟเฟิล ค่าแฟรนไชส์เริ่มต้น 25,900 บาท เปิดร้านได้ทันที ไม่ต้องซื้ออะไรเพิ่ม
เปา เหล่า กง งบในการลงทุนเบื้องต้น 200,000 – 700,000 บาท
โตเกียวแลนด์ มีหลายแพคเกจลงทุนให้เลือก เริ่มต้น 69,000 – 300,000 บาท
ปังอั้ยยะ ปังปิ้งไส้เยิ้ม งบในการลงทุนเบื้องต้น 180,000 – 450,000 บาท
เครปอะเดย์ งบในการลงทุนเบื้องต้น 59,000 – 149,000 บาท
สวีทการ์เด้น งบในการลงทุนเบื้องต้น 299,000 – 599,000 บาท
เอ็น แอนด์ บี มีหลายแพคเกจลงทุนให้เลือก งบการลงทุน 500,000 – 2,000,000 บาท
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ลงทุนเองที่จะพิจารณาว่าเราอยากเปิดร้านเบเกอรี่ด้วยตัวเองหรือเลือกลงทุนกับแฟรนไชส์ แต่ไม่ว่าจะเลือกทางไหนอย่างไร สิ่งสำคัญคือต้องใส่ใจและลงมืออย่างจริงจัง ไม่มีธุรกิจใดที่จะได้กำไรโดยไม่ลงทุนลงแรงทุกอย่างมีต้นทุนในตัวเอง บริหารดี สินค้าคุณภาพดี มีการตลาดที่ดี คือเคล็ดลับสู่ความสำเร็จในธุรกิจทุกประเภท
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
สนใจเลือกลงทุนแฟรนไชส์เบเกอรี่ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://bit.ly/37KtU2l
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
อ้างอิงจาก https://bit.ly/2VlnGDe