เทคนิคเปิดร้านสเต๊ก (แบบไม่ต้องซื้อแฟรนไชส์)
สเต๊กเป็นหนึ่งในเมนูหากินง่ายๆ ปัจจุบันเราสามารถหารับประทานได้ทั่วไปไม่ชอบแบบพรีเมี่ยม ก็มีร้านสเต๊กริมทาง หรือตามร้านอาหารต่างๆ ที่เปิดให้บริการจำนวนมาก ถามว่าทำไม “สเต๊กถึงเป็นที่นิยม?” คำตอบก็ง่ายๆ คือ ตอบโจทย์คนยุคใหม่ ไม่ต้องรอนาน จานเดียวก็อิ่มท้อง แถมราคาก็ไม่แพง และในเมื่อมีความต้องการของลูกค้ามากมาย เป็นเรื่องธรรมดาเช่นกันที่จะมี “ร้านสเต๊ก” เกิดขึ้นจำนวนมาก
บางร้านอยู่รอด บางร้านไม่รอด เรื่องแบบนี้ไม่ใช่คิดจะเปิดก็เปิดมันต้องมีเทคนิค มีวิธีบริหารจัดการ ต้องเรียนรู้ว่าควรทำอะไรแบบไหนอย่างไร ในปัจจุบัน ร้านสเต๊กมีให้เลือกลงทุนทั้งแบบซื้อแฟรนไชส์และลงทุนเอง www.ThaiSMEsCenter.com นำข้อมูลของการเปิดร้านสเต๊กด้วยตัวเองมาฝาก ประกอบการตัดสินใจว่าจะดีหรือไม่ดีกว่าการลงทุนในรูปแบบแฟรนไชส์
การเลือกทำเลเปิดร้านสเต๊ก
ภาพจาก www.facebook.com/Jeffersteakrestaurant/
สเต๊กเป็นอาหารจานด่วนที่ไม่แตกต่างจากการเปิดร้านอาหารทั่วไป ทำเลของร้านสเต๊กให้เน้นไปที่ย่านชุมชน ตลาดนัด ใกล้แหล่งสถานศึกษา สถานที่ทำงาน แหล่งบันเทิงต่างๆ หรือย่านที่มีคนพลุกพล่าน จะมีโอกาสขายได้ดีกว่า สำคัญคือเราต้องโฟกัสสเต๊กที่เจาะกลุ่มตลาดระดับกลางถึงล่าง เพราะมีปริมาณลูกค้ามหาศาล และเข้าถึงได้ง่าย สัมพันธ์กับการตั้งราคาที่ควรอยู่ระดับไม่เกินจานละ 60 บาท
ส่วนใหญ่ใช้กลยุทธ์เลข “9” เช่น 39 บาท 49 บาท 59 บาท เป็นต้น ในปัจจุบัน สเต๊กไม่ใช่อาหารระดับสูงที่คนไทยเข้าไม่ถึง เดี๋ยวนี้มีสเต๊กในราคาง่ายๆ และอิ่มอรอ่ยไม่ต่างจากสเต๊กระดับพรีเมี่ยม แถมยังซื้อง่าย รับประทานง่ายไม่ยุ่งยากและมีคุณค่าทางโภชนาการ ในการเลือกทำเลเปิดจึงต้องคำนึงถึงคุณภาพให้เหมาะสมกับราคา รวมถึงการบริการ ความสะอาดต่างๆ ต้องสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้มากที่สุด
เมนูที่ร้านสเต็กควรมี
ภาพจาก www.facebook.com/Jeffersteakrestaurant/
เปิดร้านสเต็ก เมนูอาหารที่ควรมี เมนูหลักๆ ที่ขาดไม่ได้ในร้านสเต็กก็คือ สเต็กหมู ไก่ เนื้อ ส่วนทีโบน ส่วนพอร์คชอป และเมนูเครื่องเคียงอื่นๆ อย่างสลัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสลัดไก่ หมู ปลา กุ้ง ปูอัด รวมไปถึงเฟรนช์ฟรายส์ นักเก็ต ขนมปัง ไส้กรอก และซุป ในส่วนของวัตถุดิบสเต็กที่เอามาทำในต่ละเมนูนั้น
หากเป็นร้านที่เป็นรูปแบบเเฟรนไชส์ก็สามารถซื้อวัตถุดิบจากแฟรนไชส์ที่หมักและแร่มาเป็นชิ้นๆ แล้ว สามารถนำมาทอดได้เลย แต่หากเป็นร้านที่เปิดเองก็สามารถซื้อวัตถุดิบได้จากตลาดหรือแหล่งขายส่งวัตถุดิบต่างๆ ในราคาถูกได้ ซึ่งร้านที่เปิดเองก็จำเป็นจะต้องมีสูตรต่างๆ อย่างสูตรน้ำเกรวี่ สูตรในการหมัก หรือสูตรน้ำสลัด เป็นต้น
อุปกรณ์สำคัญในร้านสเต๊กและงบประมาณการลงทุน (แบบเปิดด้วยตัวเอง)
ภาพจาก www.facebook.com/Jeffersteakrestaurant/
ไม่จำเพาะตายตัวว่างบการลงทุนจะอยู่เท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับขนาดร้านและการตกแต่ง รวมถึงทำเลก็เป็นตัวแปรในการกำหนดต้นทุนเบื้องต้น หากเริ่มต้นแบบร้านขนาดเล็กริมทาง ที่นั่งประมาณ 10-15 โต๊ะ คำนวณงบประมาณเบื้องต้นประมาณ15,000-20,000 บาท ก็สามารถเปิดร้านได้แล้ว โดยอุปกรณ์หลักคือ
- เตาสเต๊ก 3,000-5,000 บาท
- โต๊ะ (ราคาแล้วแต่แบบที่เลือก)
- โต๊ะวางจาน โต๊ะวางของ 2 ตัวยาว ตัวละ 800-1,200 บาท
- เก้าอี้ (ราคาแล้วแต่แบบ)
- ร่มชายหาด(250-300) +ขา(300-400) ถ้าขายในร้านที่มีหลังคาก็จะประหยัดส่วนนี้ไป
- มีดสเต๊ก โหลละ 270-300 บาท
- จาน ใบละ 15-20 บาท
- หลอดไฟ ห้อยร่ม
อื่นๆ เช่น กระทะทอดเฟรนซ์ฟราย ใช้แบบธรรมดา 150-200 บาท กระทะทอดปลา ถาดใส่เนื้อ ขวดซอส ส้อม เป็นต้น
ต้นทุนของวัตถุดิบ / ต้นทุนต่อจาน
ภาพจาก www.facebook.com/francisesteakchogun/
ในส่วนของต้นทุนวัตถุดิบ หากไม่ต้องซื้อวัตถุดิบจากแฟรนไชส์ แต่สามารถทำวัตถุดิบเองได้ ต้นทุนจะถูกมาก อย่างเช่น หมู ต้นทุน 17-20 บาท/ชิ้น ไก่ต้นทุน 10-15 บาท/ชิ้น พอร์คช็อพต้นทุน 35 บาท/ชิ้น ปลาดอลลี่ต้นทุน 22 บาท/ตัว เนื้อ ต้นทุน 35-40 บาท/ชิ้น เป็นต้น ด้วยต้นทุนวัตถุดิบที่ต่ำ จึงสามารถขายในราคาถูกได้และมีกำไรที่สูง
ต้นทุนต่อจาน (เป็นราคาโดยประมาณ ราคาแท้จริงขึ้นอยู่กลไกตลาด)
- หมูสันคอ หมูสันนอก กก.ละ 125-150 บาท(ส่ง-ปลีก) หั่นได้ 7 ชิ้น ราคาขาย 50-60 บาท
- เนื้อสัน กก.ละ 190-220 บาท หั่นได้ 6 ชิ้น ราคาขาย 70-80 บาท
- อกไก่ กก.ละ 70-90 บาท หั่นได้ 10 ชิ้่น (1 อกผ่ากลางได้ 2 ชิ้น) ราคาขาย 50-60 บาท(กำไรดีแต่คนกินน้อย)
- ทีโบน (กก.ละ 400 บาท ทีโบนโคธรรมดา กก.ละ 370 บาท ) ขาย 160-170 บาท
- พอร์คช็อป ชิ้นละ 35-40 บาท ขาย 70-80 บาท
- ปลาดอลลี่ ตัวละ 25 บาท ปลาย่างขายตัวละ 60-80 บาท ปลาทอด(คลุกเกล็ดขนมปัง) 1 ตัวหั่นครึ่งได้ 2 ชิ้น ขายชิ้นละ 5060 บาท
- เบคอน 1 ถุง 200 บาท เยอะแยะมากมาย กำไรดีมาก ขาย 5 ชิ้น 60 บาท
- ไส้กรอก-หมูรมควัน อันละ 50 บาท ขาย 80 บาท
- ผักสลัด เฟรนซ์ฟราย ขนมปังและส่วนที่แต่งบนจาน ต้นทุนต่อจาน 5 บาท
ทั้งนี้ราคาเบื้องต้นที่กล่าวไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่าต้องเป็นราคานี้ แค่ประมาณการและทำให้เห็นข้อมูลในภาพรวมเบื้องต้นของคนที่อยากเปิดร้านสเต๊กด้วยตัวเองว่าโครงสร้างโดยรวมเป็นทิศทางไหน ซึ่งการลงทุนเองเราต้องเรียนรู้ทุกอย่างตั้งแต่เริ่มเอง สร้างชื่อเสียงของแบรนด์ด้วยตัวเอง แต่หากลงทุนซื้อแฟรนไชส์เราจะมีทีมงานที่คอยสนับสนุนทั้งการเปิดร้าน และวัตถุดิบต่างๆ ก็ถือว่าประหยัดเวลาในการเริ่มต้นได้มากขึ้น
ไม่อยากยุ่งยาก เลือกลงทุนแฟรนไชส์สเต๊ก ง่ายกว่า!
สำหรับการลงทุนกับแฟรนไชส์ก็เป็นอีกทางเลือกของคนอยากเริ่มต้นเปิดร้านแบบรวดเร็วและก้าวไปสู่รายได้ที่ไม่ต้องมานับจากหนึ่ง อุปกรณ์ วัตถุดิบ การบริหารจัดการ ชื่อเสียงของแบรนด์ เราสามารถต่อยอดจากแฟรนไชส์ที่ลงทุนได้ทันที ปัจจุบันมีแฟรนไชส์สเต๊กมากมายที่ให้เลือกลงทุน เช่น
ภาพจาก www.facebook.com/Jeffersteakrestaurant/
เจฟเฟอร์ สเต๊ก งบประมาณในการลงทุนประมาณ 5,000,000 บาท (ขึ้นอยู่กับขนาดร้าน การตกแต่ง และทำเล)
ภาพจาก www.facebook.com/Narniasteak
นาเนีย สเต๊ก งบประมาณในการลงทุน 25,000 – 100,000 บาท
ภาพจาก www.facebook.com/francisesteakchogun/
โชกุน สเต๊ก ฟรีค่าแฟรนไชส์ (จ่ายแค่ค่าอุปกรณ์) มีแพคเกจชุดโปรโมชั่นตั้งตัว ราคา 11,900 บาท
ทั้งนี้การจะเลือกลงทุนในแบบตัวเองหรือแฟรนไชส์ก็แล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละท่าน ทั้งการลงทุนเองหรือแบบแฟรนไชส์ต่างก็มีข้อดี ข้อเสียในตัวเองด้วยกันทั้งนั้น สำคัญคือไม่ว่าจะเลือกลงทุนแบบไหน ถ้าไม่ตั้งใจ ไม่เอาใจใส่ ไม่ทุ่มเทให้กับการลงทุน ต่อให้แบรนด์ดีแค่ไหน ทำเลดีอย่างไร โอกาสประสบความสำเร็จก็จะน้อย ตรงกันข้ามหากตั้งใจ และทำจริง แม้เป็นร้านสเต๊กเล็กๆ ริมทางก็มีโอกาสขยายเป็นร้านใหญ่มีกำไรได้มากขึ้น
แบบทดสอบความพร้อมเปิดร้านขายสเต็ก https://bit.ly/3cNTerQ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
สนใจเลือกลงทุนแฟรนไชส์ร้านสเต๊ก ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://bit.ly/32e1hJr
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/2SM66qv , https://bit.ly/38MvnGr , https://bit.ly/3bRgN2B
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2TUkdcy