เทคนิคขี่ app Delivery ให้ได้ 4 หมื่นต่อเดือน
ในช่วง 2-3 ปีมานี้ เรียกได้ว่าเป็นช่วงขาขึ้นของธุรกิจ delivery service จากปัจจัยต่างๆ ที่เอื้ออำนวยให้ขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของตลาด e-commerce B2C
พฤติกรรมผู้บริโภคยุคออนไลน์ หรือ เทรนด์เทคโนโลยีที่ทำให้แอพต่างๆ ฉลาดและตอบโจทย์ความต้องการผู้ใช้ได้ดีขึ้น Food Delivery จึงเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่คาดการณ์ว่าจะเติบโตสดใส และปัจจุบัน
www.ThaiSMEsCenter.com เห็นว่ามีหลายค่ายธุรกิจที่หันมาเอาดีด้านนี้ก่อให้เกิดตัวเลือกทั้งในส่วนของร้านค้าร้านอาหาร รวมถึงคนที่สนใจอยากมีรายได้เพิ่ม ซึ่งหลายคนก็เลือกสมัคร Food Delivery ซึ่งแน่นอนว่าอาชีพนี้ก็ต้องมีเทคนิคที่ดีเพื่อให้มีรายได้มาเลี้ยงตัวเองและครอบครัวมากขึ้น
มูลค่าตลาด Food Delivery
ภาพจาก bit.ly/37EwY0Q
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า ธุรกิจ Food Delivery ในปี 2562 จะมีมูลค่าอยู่ที่ 33,000 – 35,000 ล้านบาท เติบโตต่อเนื่องราวร้อยละ 14 จากปีก่อน และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8 ของมูลค่าธุรกิจร้านอาหารของประเทศไทยในปี 2562
นอกจากนี้ยังมีรายงานอีกว่าแอปพลิเคชั่นสั่งอาหาร อาจมีส่วนช่วยให้มูลค่าของธุรกิจ Food Delivery มีการขยายตัวมากยิ่งขึ้น โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคในการเดินทางไปยังร้านอาหารมาเป็นค่าจัดส่งสินค้า ซึ่งรายได้ส่วนนี้ที่เพิ่มขึ้นยังได้กระจายตัวไปยังผู้เล่นต่างๆในห่วงโซ่ธุรกิจ
ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่จักรยานยนต์รับจ้างที่เพิ่มช่องทางสร้างรายได้ให้กับตัวเอง หรือจะเป็นร้านอาหารขนาดเล็กและขนาดกลางที่สามารถใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มนี้ในการขยายฐานลูกค้าโดยไม่ต้องเพิ่มทรัพยากรเงินทุนและแรงงานในส่วนของระบบขนส่งเอง ทำให้อาจมียอดขายเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของฐานลูกค้าใหม่ๆ ซึ่งอาจมีส่วนแบ่งของรายได้มูลค่าประมาณ 2.6 หมื่นล้านบาท
ซึ่งปัจจุบันมี Food Delivery หลากหลายค่ายให้ร้านอาหารได้เลือกเข้าร่วมหรือแม้แต่คนที่อยากมีรายได้เองก็สามารถเลือก Food Delivery เหล่านี้ได้ตามต้องการ ในที่นี้เราลองยกตัวอย่างของ Food Delivery ที่น่าสนใจมาให้ดู 5 แบรนด์ด้วยกันคือ
1.GrabFood
ภาพจาก bit.ly/2DeKQAZ
รายได้จากค่าส่ง GrabFood แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
- ค่าบริการส่งอาหาร 50 บาทต่อครั้ง (หักค่าคอมมิชชั่น 15% ได้รับจริง 42.50 บาท)
- ค่าส่งที่เก็บเงินสดจากลูกค้า 10 บาทต่อครั้ง (หักค่าคอมมิชชั่น 15% ได้รับจริง 8.50 บาท)
- ค่าส่งเพิ่มเติมตามระยะทาง 10 บาทต่อกิโลเมตร (มากกว่า 6 กิโลเมตร) (หักค่าคอมมิชชั่น 15%)
2.LINE MAN และ LALAMOVE
ภาพจาก bit.ly/2DgfbPL
สัดส่วนของรายได้แบ่งเป็น
- ค่าบริการส่งอาหารเริ่มต้น 55 บาทต่อครั้ง (หักค่าคอมมิชชั่น 15% ได้รับจริง 46.75 บาท)
- ค่าส่งเพิ่มเติม 9 บาทต่อกิโลเมตร หากระยะทาง 1 กิโลเมตรขึ้นไป (หักค่าคอมมิชชั่น 15% ได้รับจริง 7.65 บาท)
- บริการช่วงนอกเวลาทำการตั้งแต่ 21.00-22.59 น.ได้เพิ่ม 50 บาท(หักค่าคอมมิชชั่น 15% ได้รับจริง 42.5 บาท)
- บริการช่วงนอกเวลาทำการ ตั้งแต่ 23.00-06.00 น.ได้เพิ่ม 100 บาท(หักค่าคอมมิชชั่น 15% ได้รับจริง 85 บาท)
3.Foodpanda
ภาพจาก https://bit.ly/35p8FSO
รายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 100 บาทต่อชั่วโมง (หักภาษี ณ ที่จ่าย 3%) และมีโอกาสสร้างรายได้สูงถึง 36,000 บาทต่อเดือน
4.GET Driver
ภาพจาก https://bit.ly/33n9vhD
ขึ้นอยู่กับระยะทาง ช่วงเวลา สภาพจราจร และความต้องการของลูกค้าในช่วงเวลานั้น ๆ โดยเฉลี่ยผู้ขับขี่จะมีรายได้เดือนละ 15,000-25,000 บาท
5.Skootar
ภาพจาก bit.ly/35wnW47
รายได้ต่อเที่ยวอยู่ที่ประมาณ 55-200 บาท (หักภาษี ณ ที่จ่าย 3%)
นอกจาก 5 แบรนด์ดังกล่าวนี้ก็ยังมีผู้เล่นอีกหลายค่ายที่มีจุดดีจุดแข็งและผลตอบแทนที่แตกต่างกันไป ซึ่งการมีคู่แข่งจำนวนมากในวงการนี้ทำให้เกิดคำถามว่า “จะมีเทคนิคแบบไหนใช้สร้างรายได้มากขึ้นในการขับ Food Delivery”
เทคนิคการขับ Food Delivery ให้มีรายได้มากขึ้น
ภาพจาก www.facebook.com/getthailandofficial/
1.มอเตอร์ไซด์ต้องเครื่องยนต์ดี
ยานพาหนะในการขับ Food Delivery ก็คือ “มอเตอร์ไซด์” เพราะสามารถวิ่งตามตรอกซอกซอย ลุยรถติดได้ดีที่สุด ดังนั้นหากมอเตอร์ไซด์ของเราประเภทเครื่องยนต์สามวันดีสี่วันพัง วิ่งไปเครื่องดับ สตาร์ทเท่าไหร่ก็ไม่ติด แบบนี้ไม่สามารถสร้างรายได้จาก Food Delivery ได้ดีแน่ และข้อกำหนดของ Food Delivery แต่ละแห่งก็ไม่เหมือนกัน บางที่กำหนดว่าเราต้องวิ่งได้ระยะทางเท่าไหร่จึงจะมีรายได้ดี ซึ่งหากมอเตอร์ไซด์เราไม่ดีจริงรายได้ที่ดีก็หมดหวังเช่นกัน
2.โปรโมชั่นขั้นเทพในโทรศัพท์
หมายถึงสัญญาณอินเตอร์เนทที่ต้องแรงจริง คนที่จะมีรายได้จาก Food Delivery อย่าขี้เหนียวกับเรื่องโปรโมชั่นของโทรศัพท์ที่ใช้ เรื่องนี้สำคัญมากเพราะการจ่ายเงินบางค่ายเขาก็ยิงตรงมาที่คนขับ Food Delivery รวมถึงการใช้สัญญาณอินเทอร์เนทในการหาพิกัดลูกค้า ร้านค้า ต่างๆ หากเป็นโปรเนทราคาถูกๆ งานนี้มีสะดุดแน่
ภาพจาก bit.ly/33f89oU
3.โทรศัพท์ก็ต้องดีด้วย
สัมพันธ์กับสัญญาณอินเทอร์เนทคือ โทรศัพท์ที่ต้องลงทุนเลือกรุ่นที่มันสามารถโหลดแอปจำเป็นที่ใช้ในงานมาไว้ในเครื่องได้ และจะต้องมีการอัพเดทโปรแกรมเหล่านี้อย่างต่อเนื่องให้ทันสมัยตลอดเวลา เวลารับงานจะได้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่มานั่งปวดหัวกับปัญหาเรื่องเทคโนโลยี
4.ชำนาญเรื่องการขับและรู้จักเส้นทางเป็นอย่างดี
Food Delivery เป็นการทำงานที่ต้องแข่งกับเวลา เพื่ออาหารจะได้ไม่เสียคุณค่า และลูกค้าจะได้รับสินค้าได้ในเวลาที่กำหนด การที่คนขับ Food Delivery รู้จักเส้นทางในการวิ่งรถเป็นอย่างดีจะทำให้ไปถึงจุดหมายได้ง่ายขึ้น เมื่อลูกค้าประทับใจก็จะมีการรายงานผลที่ดีทำให้เรามีประวัติที่ดีและมีโอกาสรับลูกค้าได้มากขึ้นด้วย
5.เลือกโซนรับงานที่ไม่ไกลจนเกินไป
การเลือกโซนรับงานก็มีความสำคัญมากถ้าเราวิ่งจากจุดหนึ่งไปส่งของให้ลูกค้าอีกจุดหนึ่งซึ่งไกลมาก ไหนจะเสียทั้งค่าน้ำมัน ค่าสึกเหรอรถ และยังเสียเวลา หากเราเลือกช่วงเวลาในการทำงานและโซนพื้นที่ที่ดีจะทำให้รับงานได้มากขึ้น ประหยัดต้นทุนตัวเองมากขึ้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และค่าย Food Delivery แต่ละแห่งที่จะมีข้อกำหนดในการรับงานที่แตกต่างกันด้วย
ภาพจาก bit.ly/2qOrQGO
อย่างไรก็ดีเทคนิคการขับ Food Delivery เพื่อให้มีรายได้ที่ดีเราต้องเริ่มจากการเลือกค่ายที่เราเห็นว่าเหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด บางแห่งเป็นลักษณะงานประจำมีเงินเดือนให้ บางแห่งเป็นลักษณะยิงงานใส่ผู้สมัครและให้วิ่งทำรอบ บางแห่งก็รับงานแบบเคสบายเคส ค่าจ้างของแต่ละงานก็แตกต่างกันไป และเราต้องดูในส่วนของการหักส่วนต่างที่ต้องเหมาะสมกับต้นทุนของตัวเราเองเพื่อจะได้ไม่เหนื่อยเปล่า การขับ Food Delivery จะได้มีกำไรตามที่ตั้งใจ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/2DayERX