เทคนิคการเป็นช่างก่อสร้างเบื้องต้น

ยุคนี้ การก่อสร้าง กำลังเติบโตอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นอาคารบ้านเรือน คอนโดมิเนียม ที่พักอาศัย สำนักงาน โรงงาน และอื่น ๆ อีกมากมาย แม้เศรษฐกิจจะไม่รุ่งเรืองแต่การก่อสร้างก็ยังคงดำเนินต่อไป บุคลากรด้านนี้ไม่เพียงพอกับความต้องการ

ซึ่งสถานการณ์ความเติบโตในธุรกิจก่อสร้างได้ส่งผลให้เกิดความขาดแคลนผู้ควบคุมงาน หรือ โฟร์แมน รวมถึงบุคลากรด้านการก่อสร้างอย่างมาก

www.ThaiSMEsCenter.com คิดว่า “ช่างก่อสร้าง” เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจ หางานง่าย รายได้ดี และคนที่เลือกเรียนในเส้นทางนี้มีโอกาสประสบความสำเร็จ ทั้งในแบบพนักงานประจำหรือเลือกออกมาทำธุรกิจส่วนตัวก็มีโอกาสที่จะสร้างรายได้สูงมาก

ช่างก่อสร้างต้องเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง?

การก่อสร้าง

ภาพจาก bit.ly/32ZjZH3

สำหรับคนที่สนใจเส้นทางนี้สามารถเลือกเรียนสายอาชีพได้ตั้งแต่ระดับ ปวช. ปวส. โดยหลักสูตรจะเน้น การศึกษาเกี่ยวกับ งานช่างไม้ งานช่างปูนคอนกรีต คอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ งานเขียนแบบ ก่อสร้าง งานสีและเคลือบฝัง งานประมาณราคาก่อสร้าง

งานท่อและสุขภัณฑ์ งานก่อสร้างอาคาร เทคโนโลยีคอนกรีต งานอลูมิเนียมอาคาร การตรวจและควบคุมงานก่อสร้าง และการออกแบบกายภาพด้านต่างๆ เช่น การออกแบบอาคารสิ่งก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์ การออกแบบภายใน และการปรุงแต่งสภาพแวดล้อม เป็นต้น

ผู้สำเร็จในสาขาวิชานี้ สามารถประกอบอาชีพ ทำงานราชการรัฐวิสาหกิจ ทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยวิศวกร ผู้ช่วยสถาปนิก นายช่างเทคนิคผู้ควบคุมงานก่อสร้าง ทำงานประกอบอาชีพอิสระ ทำงานด้านก่อสร้าง ทั้งในและต่างประเทศ และสามารถศึกษาต่อจนถึงระดับปริญญา ในสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐบาลและเอกชน

คุณสมบัติของช่างรับเหมาก่อสร้าง

17

ภาพจาก bit.ly/35YBZ6b

ช่างรับเหมา ก่อสร้าง เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในโครงการ เป็นคนควบคุมช่างก่อสร้างตำแหน่งอื่นๆทั้งหมด ยิ่งมีการก่อสร้างมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นตึกบริษัท หมู่บ้านจัดสรร หรืองานรับเหมาใดๆ เจ้าของโครงการหรือเจ้าของงานนั้นๆ

ส่วนใหญ่จะเลือกช่างรับเหมาที่มีประสบการณ์ มีผลงานที่ดี มีวุฒิภาวะ เพราะต้องใช้ความรับผิดชอบสูงในการทำงานเพื่อ ทำงานให้เป็นไปตามเอกสารสัญญา ตาม รายการข้อกำหนด ตามขอบเขตของงานและเงื่อนไขสัญญาอื่นๆ

โดยขั้นตอนของการก่อสร้างนั้นเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะจะมีผลต่องบประมาณ และระยะเวลาการก่อสร้างผู้รับเหมาก่อสร้างจะต้องประมาณราคาค่าโครงการให้ออกมาใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด

โดยการจัดทำกำหนดเวลาทำงานให้ออกมาในแนวทางที่เป็นไปได้ การจัดระบบควบคุมที่มีประสิทธิภาพ สำหรับใช้ควบคุมต้นทุน กำหนดระยะเวลาและคุณภาพของงาน

อุปกรณ์สำหรับช่างก่อสร้างที่ควรรู้

1. กรรไกรตัดเหล็กเส้น

16

ภาพจาก bit.ly/35XqhZu

กรรไกรตัดเหล็กเส้นมีหลากหลายขนาดให้เลือกใช้งานโดยใช้แรงกล มีด้ามยาวสำหรับโยกหมุนเฟืองเพื่อดันใบมีดเข้าหากันเพื่อตัดเหล็ก เหมาะกับการใช้ตัดชิ้นงานหยาบ คมกรรไกรเป็นเหล็กกล้าเหนี่ยวชนิดพิเศษ ตัวคีมผ่านการชุบแข็งตามมาตรฐาน คมกรรไกลผ่านควานร้อนเป็นพิเศษช่วยให้แข็งแรงทนทานเป็นพิเศษทำให้ใช้งานได้ยาวนาน

2. สกัดปากแบน

15

ภาพจาก bit.ly/3cli5DA

เป็นเครื่องมือซ่อมแซมที่ใช้งานร่วมกับค้อน จะใช้สกัดในงานตัดเศษโลหะส่วนเกินบนผิวโลหะ ตัดนอตหรือสกัดเกลียวที่ถอดไม่ออก ตัดรอยเชื่อมส่วนเกิน ตัดแผ่นโลหะ และเซาะร่อง สกัดทำมาจากเหล็กเนื้อดี มีความแข็งและเหนียวมากว่าเหล็กทั่วไป ลำตัวจะทำเป็นรูปหกเหลี่ยม ส่วนหัวจะเป็นรูปทรงกลมแบน ด้านปลายจะใช้เป็นคมสำหรับตัดโลหะจะมีหลายแบบปลายแต่ละแบบต่างก็มีความเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกัน

3. ตลับเมตร

14

ภาพจาก bit.ly/3iWy7pZ

เป็นเครื่องมือใช้ในการวัดบ่งชี้บอกระยะหรือขนาดในการกำหนดตำแหน่ง ตรวจสอบระยะหรือขนาดความกว้าง ความยาว ความสูงหรือความหนาของวัสดุชิ้นงาน ที่ตัวเครื่องมือวัดมีหน่วยมาตรฐานการวัดมีหน่วยเป็นนิ้ว ฟุตและหน่วยเมตริกกำกับไว้ในเครื่องมือวัดชนิดเดียวกันเพื่อสะดวกในการใช้งาน

4. แปรงลวดเหล็ก

13

ภาพจาก bit.ly/3kD49HS

ใช้สำหรับขัดถูชิ้นงานที่ต้องการความละเอียดสูง และไม่ต้องการให้เกิดรอยบนผิวชิ้นงาน และไม่ให้ชิ้นงานเกิดสนิมขึ้นในภายหลัง แปรงลวดด้ามไม้ นิยมนำไปใช้ขัดถูชิ้นงานที่มีคราบสกปรกติดแน่น เช่น ถูตะไบ หรือ ใช้ขัดสนิม ขัดคราบกรัดกร่อนต่างๆ

5. ระดับน้ำ

12

ภาพจาก bit.ly/2Eo9LpU

เป็นอุปกรณ์ที่ช่างใช้ในการวัดความลาดเอียงของพื้นที่ สามารถวัดระดับได้ทั้งในแนวราบ และแนวดิ่งเมื่อต้องการวัดความลาดเอียงของพื้นที่ ให้นำระดับน้ำวางลงบนพื้นที่ที่ต้องการตรวจ สังเกตที่ฟองอากาศภายในหลอดแก้ว ถ้าหากพื้นที่นั้นไม่มีความลาดเอียง สังเกตฟองอากาศภายในหลอดแก้วต้องอยู่ตรงจุดกึ่งกลางตลอด

6. ตู้เชื่อมไฟฟ้ากระแสสลับ

11

ภาพจาก bit.ly/2G50bJi

ระบบการทำงานของตู้เชื่อมไฟฟ้าโดยการไหลของกระแสไฟฟ้ามีการสลับกันไปมาระหว่างขั้วบวกและขั้วลบในวงจรไฟฟ้าและใช้ทรานฟอร์มเมอร์แทนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำหน้าที่ในการผลิตกระแสไฟฟ้าในการเชื่อมชิ้นงานกระแสไฟฟ้าที่นำออกมาใช้ถูกควบคุมโดยตัวควบคุม ซึ่ง ตู้เชื่อมไฟฟ้ากระแสสลับสามารถปรับกระแสสูงต่ำได้ตามต้องการของผู้ใช้

7. นั่งร้าน

10

ภาพจาก bit.ly/3iWhQ4k

เป็นโครงสร้างชั่วคราวใช้ในงานก่อสร้างและซ่อมแซม ใช้สำหรับปีนขึ้นไปที่สูง และเหยีบขึ้นไปเพื่อทำงาน รวมถึงใช้ในการวางสิ่งของที่จำเป็นและเมื่อก่อสร้าง ซ่อมแซม วัสดุที่ใช้ทำนั่งร้านมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและงบประมาณ โดยนั่งร้านที่นิยมใช้จะสร้างจากเหล็กท่อ และมีแผ่นไม้วางพาดสำหรับวางยืนทำงานได้

นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์อีกหลายชนิดที่คนเป็นช่างต้องรู้จักและต้องใช้งานให้เป็นรวมถึงอุปกรณ์ไฮเทคยุคใหม่ที่เราต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้ก้าวทันตามยุคสมัยได้ทัน

ศัพท์เทคนิคของช่างก่อสร้างที่ควรรู้

9

ภาพจาก freepik

1. ตีเต๊า

คือ การสร้างแนวเส้นบนอาคารระหว่างก่อสร้างเพื่อใช้สำหรับการกำหนดระยะ วางตำแหน่งในการติดตั้งส่วนต่างๆบนอาคาร โดยใช้เครื่องมือตีเต๊า (บางคนก็เรียก เต๊า ปักเต๊า) ซึ่งจะทำให้เกิดสีเป็นแนวเส้นตามรอยของเชือกทำให้ช่างเห็นรอยในการวางตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ การตีเต๊านั้นจะใช้กับงานประเภท วางท่อ ผนัง ติดตั้งประตู หน้าต่าง มุงกระเบื้อง การทำเคาน์เตอร์ ทำราง หรือการโรยกรวด เป็นต้น

2. สลัดดอก

คือ การเตรียมพื้นคอนกรีตก่อนฉาบด้วยการเอาปูนซีเมนต์ธรรมดาผสมกับน้ำ ทราย และน้ำยาเพิ่มแรงยึดเกาะ แล้วใช้ไม้กวาดทางมะพร้าวมาจุ่มลงในน้ำปูน สลัดลงไปให้ทั่วบริเวณที่จะฉาบ ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1-2 วัน แล้วจึงค่อยมาฉาบทับไปอีกที ซึ่งเทคนิคสลัดดอกนี้จะช่วยให้ปูนฉาบเกาะกับผิวคอนกรีตได้ดีขึ้น ช่วยเรื่องการหลุดร่อนหรือการแตกร้าวของปูนฉาบไม่ให้เกิดขึ้นในอนาคต

3. บังใบ

คือ วิธีการทำให้ชิ้นวัสดุชิดสนิทกัน โดยการบากปลายของวัสดุให้ลึกลงไปทั้งสองชิ้นหรือชิ้นเดียวให้เกิดระยะบากที่สอดคล้องกัน วัสดุที่บังใบส่วนใหญ่จะเป็นไม้ ตรงส่วนวงกบประตูและหน้าต่างในเวลาเราเปิดปิด แนวชนของบานประตูและหน้าต่าง พื้นและผนัง ซึ่งการบังใบช่วยกันน้ำ กันฝนสาด เข้าระหว่างรอยต่อได้อีกด้วย

4. ปูพื้นแบบซาลาเปา

เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ไม่ควรให้ช่างทำ เพราะการปูพื้นแบบซาลาเปา คือการนำปูนกาวซีเมนต์มาโปะหลังแผ่นกระเบื้องคล้ายก้อนซาลาเปาตรงกลาง จากนั้นวางกดลงไปบนพื้นผิวปูนหยาบ ซึ่งตรงขอบกระเบื้องจะไม่มีเนื้อปูนเลยมีเพียงโพรงอากาศ ทำให้ปลายกระเบื้องเกิดการบิ่น แตกร้าวได้ง่าย เกิดความชื้นในกระเบื้องและยังทำให้กระเบื้องหลุดออกมาทั้งแผ่นอีกด้วย

5. ต๊าปเกลียว

คือ การทำให้เกิดเกลียวบนผิววัสดุ ส่วนใหญ่ช่างจะใช้ทำบนพื้นผิวท่อเหล็กหรืออลูมิเนียมให้ท่อเกิดเป็นเกลียว สำหรับไปต่อประกอบกับอีกท่อหนึงได้ ต๊าปเกลียวมีทั้งการทำเกลียวในและเกลียวนอก โดยมีเครื่องจักรในการทำจนไปถึงเครื่องมือแบบพกพาในการทำต๊าปเกลียว

ทั้งนี้การเป็นช่างก่อสร้าง จุดสูงสุดของอาชีพนี้คือการเป็นวิศวกร หรืออาจจะผันตัวเองมาเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง อย่างไรก็ดีก่อนที่จะขึ้นไปถึงจุดนั่นเราควรศึกษาและทำงานก่อสร้างทุกอย่างให้เป็น ตั้งแต่การตีแบบ ตอกเสาเข็ม การผูกเหล็ก เทพื้น ตั้งเสา ปูกระเบื้อง ฯลฯ หากเรายิ่งเก่งยิ่งมีประสบการณ์เราจะสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกน้องที่เรามี เพื่อที่ลูกน้องเองจะได้วางใจว่ามีเจ้านายที่เก่งและทำงานเป็นจริงๆ ไม่ใช่รู้แค่ทฤษฏีแต่ไม่เคยลงมือปฏิบัติเลย


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล
https://bit.ly/3hvqZ25 , https://bit.ly/32vJqj4 , https://bit.ly/2ZJ2qbU , https://bit.ly/2E53WxD

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/33WLm3w

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด