เทคนิค “ทอดไก่” กรอบอร่อยอย่างมืออาชีพ! ทำขายได้เลย

เมนูที่ขายง่ายขายดีต้องยกให้ “ไก่ทอด” ที่ไม่ว่าจะยุคไหน ตอนไหน ก็ขายดี แถมยังเป็นอาชีพที่ทำง่าย บางคนเปลี่ยนพื้นที่หน้าบ้านตัวเองขายไก่ทอดก็สร้างรายได้ที่ดี หรือบางคนขยันหน่อย เตรียมอุปกรณ์ที่ไม่ยุ่งยาก ไปขายไก่ทอดในตลาดนัดก็สามารถสร้างรายได้หมุนเวียนได้อย่างดีเช่นกัน

แต่ www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าถ้าต้องการจะขายไก่ทอดทั้งทีก็ควรทำให้ดีและมีคุณภาพ ซึ่งเทคนิคการ ทอดไก่ ให้กรอบและอร่อยเป็นสิ่งที่เราควรเรียนรู้ จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจของสินค้าและสร้างรายได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น

ลงทุนเปิดร้านไก่ทอดใช้งบเท่าไหร่?

ทอดไก่

ภาพจาก freepik.com

ในส่วนของเงินลงทุนในการเปิดร้านไก่ทอดนั้นอยู่ที่ประมาณ 8,000 – 10,000 บาท สำหรับเงินทุนหมุนเวียนต่อวันประมาณ 1,000 บาท อุปกรณ์ สำคัญที่ควรมีได้แก่ เตาแก๊สพร้อมถัง , หม้อทอด , ที่คีบ , ตะแกรงพร้อมถาด , รถเข็นหรือคีออส เงินลงทุนอุปกรณ์สำหรับบางคนอาจน้อยกว่าที่คาดการณ์ได้ บางคนไม่ใช้รถเข็นแต่ใช้การตั้งโต๊ะขายในตลาดนัดแทน หรือการไปเลือกซื้อแฟรนไชส์ที่บางรายลงทุนประมาณ 5,000 – 6,000 บาท ก็ได้อุปกรณ์พร้อมวัตถุดิบ เป็นต้น

เคล็ดไม่ลับการ ทอดไก่ ให้กรอบ

ทอดไก่

ภาพจาก freepik.com

อาหารชุบทอดส่วนใหญ่จะคลุกแป้งแห้ง แป้งเปียก ไม่ก็เกล็ดขนมปัง เหตุเพราะเนื้อสัตว์อย่างไก่ กุ้ง ปลา หรือเห็ด มีน้ำมาก จึงต้องใช้แป้งในการเคลือบผิวไว้เพื่อช่วยลดความชื้นและทำให้อาหารกรอบ หลักการชุบแป้งทอดให้กรอบทนกรอบนาน

ต้องทำให้แป้งเกิดรูพรุนที่เหมาะสม เพื่อให้ความร้อนหรือไอน้ำผ่านเข้าออกได้ ซึ่งรูพรุนนี้จะเกิดขึ้นจากการปะทุของไอน้ำหรือสารเติมแต่งที่ใส่ลงไปในแป้ง และควรเลือกใช้น้ำมันที่มีจุดเกิดควันสูง เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันรำข้าว น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันจากเมล็ดองุ่น เป็นต้น

เพราะน้ำมันเหล่านี้สามารถให้ความร้อนได้สูงถึง 170-200 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสม ทำให้เกิดการปะทุของไอน้ำได้อย่างรวดเร็ว หรือแม้แต่การพักอาหารชุบทอดไว้บนตะแกรง เป็นการพึ่งลมไล่ความชื้น ช่วยให้อาหารกรอบนานยิ่งขึ้น

รวมวิธีทอดไก่กรอบอร่อยอย่างมืออาชีพ

1.วิธีทอดไก่แบบเกาหลีและญี่ปุ่น

ทอดไก่

ภาพจาก freepik.com

ปัจจุบันกระแสของอาหารเกาหลีและญี่ปุ่นกำลังเป็นที่นิยม ดังนั้นไก่กรอบแบบเกาหลีหรือญี่ปุ่นจึงขายดี แต่ก็ต้องมีเทคนิคในการทอดที่เราต้องเรียนรู้ โดยเทคนิคการทอดไก่แบบเกาหลีจะใช้การคลุกแป้งแห้ง และ หลักการทอดสองครั้ง โดยเมื่อหมักไก่ได้ที่แล้ว ให้นำมาคลุกแป้งแห้งก่อนทอด

เช่น แป้งข้าวโพดหรือแป้งมัน เนื่องจากแป้งเหล่านี้จะไม่ปิดกั้นให้ความชื้นออกจากชิ้นไก่ ทำให้ไก่กรอบได้ดีขึ้น และที่จำเป็นต้องมีการทอดถึง 2 ครั้งเพราะการทอดครั้งแรกเพื่อไล่น้ำออกจากอาหาร ทำให้มีน้ำในอาหารน้อยลง จึงต้องทอดครั้งที่สองเพื่อไล่ความชื้นที่หลงเหลืออยู่ ช่วยให้ไก่แห้งและกรอบมากยิ่งขึ้น

2.วิธีทอดไก่สไตล์ยุโรป

ทอดไก่

ภาพจาก freepik.com

ไก่กรอบแบบฝั่งยุโรปถ้านึกไม่ออกก็นึกถึง KFC เป็นตัวอย่าง โดยลักษณะแป้งจะมีความบางกรอบและเป็นเกล็ด ใช้เทคนิค การคลุกแป้งแห้ง + ฉีดน้ำ การหมักไก่ส่วนใหญ่จะหมักกับนมหรือบัตเตอร์มิลค์ ปรุงรสด้วยเกลือ พริกไทยและเครื่องเทศต่างๆ ก่อนนำมาคลุกกับแป้งแห้ง ซึ่งนิยมใช้แป้งสาลีอเนกประสงค์ เพราะช่วยให้ความไก่กรอบและสีที่สวย

และเพื่อให้ไก่กรอบได้ง่ายขึ้นบางสูตรจึงผสมแป้ง แป้งข้าวโพดหรือแป้งมันลงไปด้วย หลังจากคลุกแป้งแห้งแล้ว จะฉีดน้ำลงบนผิวไก่ให้ทั่วหรือจุ่มลงในน้ำแล้วนำมาคลุกแป้งแห้งอีกรอบ ทำซ้ำประมาณ 1-2 รอบก็จะได้แป้งที่เป็นเกล็ดและมีความหนาพอดี

บางสูตรก็มีการใส่ผงฟูหรือโซดาลงในแป้ง สารเหล่านี้จะสลายตัวให้ฟองแก๊ส ทำให้เกิดรูพรุนขึ้นในแป้ง แม้แต่การใส่เหล้าหรือเบียร์ลงไปก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยดึงน้ำที่อยู่บริเวณผิวอาหารออกไปอย่างรวดเร็ว เพิ่มอัตราการระเหยของน้ำในขณะทอด ทำให้ไก่กรอบได้มากขึ้น

3.วิธีทอดไก่แบบไทย

8

ภาพจาก freepik.com

ถ้าพูดถึงไก่ทอดแบบไทย ต้องนึกถึงไก่ทอดตลาดนัด ไก่ทอดหาดใหญ่ ส่วนใหญ่วิธีทอดไก่แบบคนไทยจะใช้เทคนิค การใส่น้ำปูนใส + แป้งข้าวเจ้า และ การทอดไฟแรง รวมถึงเคล็ดลับอีกอย่างคือการใช้น้ำเย็นจัดผสมกับแป้งก็ช่วยให้แป้งกรอบนานเช่นกัน เนื่องจากอุณหภูมิที่ต่างกันตอนทอด ทำให้เกิดการถ่ายโอนความร้อนดึงน้ำออกจากอาหารอย่างรวดเร็ว แป้งที่ใช้ทอดส่วนใหญ่ได้แก่แป้งข้าวเจ้า จะช่วยให้ไก่มีความกรอบทนกรอบนานมากขึ้น

การทอดไก่ในช่วงแรกจะทอดด้วยไฟกลางเพื่อให้ไก่สุกทั่วถึงกัน จากนั้นจะเร่งเป็นไฟแรงในช่วงสุดท้ายเพื่อให้ไก่กรอบและไม่อมน้ำมัน โดยน้ำมันที่ร้อนจัดจะทำให้เนื้อไก่หดตัวไล่น้ำออกอย่างรวดเร็ว ซึ่งการหดตัวนี้เองที่ทำให้ไม่มีช่องว่างให้น้ำมันแทรกตัวเข้าไป จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมยิ่งทอดไฟแรงไก่ยิ่งกรอบและไม่อมน้ำมัน

10

ภาพจาก freepik.com

การเปิดร้านขายไก่ทอดนอกจากการทอดไก่ให้กรอบอร่อย มีคุณภาพ เรื่องของทำเลและการตลาดก็เป็นสิ่งสำคัญ เราต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกติดใจในรสชาติ และมีบริการที่ดี ซึ่งหากเราเริ่มต้นได้ดี ในอนาคตอาจพัฒนาจากธุรกิจเล็กๆ ให้เป็นธุรกิจขนาดใหญ่หรืออาจจะขายเป็นแฟรนไชส์ในอนาคตก็ได้

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3dKOZ21 , https://bit.ly/3DUy5bA , https://bit.ly/3INl7jz , https://bit.ly/3dNb4N8

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3A6MPnz


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต