เดินชมงานแฟรนไชส์ญี่ปุ่น By “เศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์”

การลงทุนใน ธุรกิจแฟรนไชส์ ถือเป็นการเริ่มต้นทำธุรกิจอย่างชาญฉลาด เพราะการสร้างธุรกิจใหม่ด้วยตัวเองโดยไม่ได้รับความช่วยเหลือจากคนอื่น เป็นเรื่องยากที่จะบริหารธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ไม่เพียงแต่คุณต้องมีความรู้เรื่องการตลาด การเงิน การบัญชี แต่คุณต้องมีความรู้และเข้าใจในธุรกิจอย่างลึกซึ้ง อีกทั้งยังต้องสร้างแบรนด์ หาลูกค้าด้วยตัวเองด้วย 

ยิ่งยุคปัจจุบัน โลกเชื่อมต่อกันง่ายขึ้น ความสะดวกสบายก็มาเยือนถึงที่ นั่งอยู่บ้านเฉยๆ ก็สามารถคลิกค้นหาธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าซื้อบนเว็บไซต์ได้อย่างสบายใจ อีกทั้งยังมีงานแสดงสินค้าและธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในและต่างประเทศ จึงนับว่าเป็นพื้นที่โชว์ศักยภาพให้กับธุรกิจแฟรนไชส์ และรวมพลผู้ซื้อแฟรนไชส์ให้มาอยู่ในงานเดียวกัน

ธุรกิจแฟรนไชส์

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ขอนำพาท่านผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ และผู้ที่ต้องการซื้อแฟรนไชส์ไทย ไปเดินชมงาน “Japan International Franchise Chow 2017” ครั้งที่ 33 พร้อมๆ กันกับ “คุณเศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีโนซิส จำกัด หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้านการพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ของเมืองไทย

เดินลัดเลาะชมงานแฟรนไชส์

v3

งานแสดงนิทรรศการแฟรนไชส์นานาชาติญี่ปุ่น หรือ “Japan International Franchise Show 2017” ถือเป็นงานแฟรนไชส์ที่ยิ่งใหญ่ จัดเป็นครั้งที่ 33 ระหว่างวันที่ 1-3 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ผ่านมา มีผู้เข้าชมงานกว่า 3 หมื่นคน และมีบริษัทแฟรนไชส์เข้าร่วมออกบูธในงานแสดงแฟรนไชส์นานาชาติที่ญี่ปุ่นกว่า 200 กิจการ

คุณเศรษฐพงศ์ เล่าให้ฟังว่า งานนิทรรศการแฟรนไชส์นานาชาติญี่ปุ่นครั้งนี้ มีรูปแบบงานแฟรนไชส์คล้ายกับงานแฟรนไชส์ในประเทศไทย แต่ประเทศญี่ปุ่นจะจัดงานในวันธรรมดา (พุธ-ศุกร์) ด้วยสาเหตุที่ว่า พวกเขาต้องการที่จะจัดงานแฟรนไชส์ เพื่อเจรจาธุรกิจ และซื้อขายธุรกิจแฟรนไชส์จริงๆ ไม่ใช่ขายสินค้า หรือบริการ ในลักษณะของการ Sale ที่ลด แลก แจก แถม

คนเข้าไปเดินชมงานแฟรนไชส์ในช่วงวันนั้น ส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนที่สนใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์จริงๆ เข้าไปเพื่อติดต่อและเจรจาธุรกิจในลักษณะ B 2 B ภาพโดยรวมเป็นงานแฟรนไชส์ที่ไม่เน้นขายของ แต่เน้นเจรจาธุรกิจเป็นหลัก บรรยากาศในงานมีความเป็นมืออาชีพมาก

v4

เวลาที่เดินในงานแฟรนไชส์ญี่ปุ่นนี้ ผู้เข้าชมงานเกือบทุกคนจะมีความพร้อม การแต่งกายสุภาพ สวมสูท ผูกเนคไทกันทุกคน เรียกได้ว่า สีหน้าของทุกคนที่เดินชมงานแฟรนไชส์ เอาจริงเอาจังเป็นอย่างมาก

ตลอดระยะเวลาของการจัดงาน 3 วัน พบว่า มีคนเข้าชมงานแฟรนไชส์ประมาณวันละ 1 หมื่นคน โดยในวันสุดท้าย คือ วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560 ผู้คนจะมาเดินชมงานแฟรนไชส์จำนวนมากที่สุด อาจเป็นเพราะได้รับข่าวประชาสัมพันธ์จากความน่าสนใจและความสำเร็จของงานใน 2 วันแรก

ตลาดแฟรนไชส์ญี่ปุ่นใหญ่อันดับ 2 รองจาก สหรัฐฯ

v6

สำหรับรูปแบบของการจัดงานแฟรนไชส์ จะแบ่งพื้นที่ตามประเภทของธุรกิจแฟรนไชส์ชัดเจน ได้แก่พื้นที่แฟรนไชส์การศึกษา ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อ ธุรกิจความงาม ธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเมนท์ ธุรกิจเทคโนโลยี โซนงานบริการต่างๆ และโซนตัวแทนแฟรนไชส์ต่างประเทศ เรียกว่าเขาจัดใหญ่ จัดเต็มทุกพื้นที่

มูลค่าตลาดแฟรนไชส์ในญี่ปุ่นใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา คิดเป็นมูลค่าตลาดประมาณ 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
โดยปัจจุบันมีกิจการธุรกิจที่เป็นแฟรนไชส์ของญี่ปุ่น ประมาณ 1,330 แบรนด์ แต่ก็พบว่าจำนวนธุรกิจแฟรนไชส์ใหม่ๆ ไม่ค่อยเพิ่มขึ้นมากนัก อัตราการเติบโตของแบรนด์ใหม่ๆ คิดเป็นการเติบโตเฉลี่ยเพียงแค่ 0.6% ในปีที่ผ่านมา

v17

คุณเศรษฐพงศ์ เล่าต่อว่า สาเหตุที่ทำให้ตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศญี่ปุ่นเติบโตน้อย เพราะว่าตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ในญี่ปุ่นค่อนข้างอิ่มตัวแล้ว จำนวนธุรกิจแฟรนไชส์ใหม่ๆ ไม่ค่อยเพิ่มมากนัก ขณะที่ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยม ก็สามารถขยายสาขาเพิ่มได้อย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันจำนวนสาขาแฟรนไชส์มีมากกว่า 2 แสนสาขาในญี่ปุ่น เป็นรองสหรัฐฯ เท่านั้นเอง

“ตลาดแฟรนไชส์ในญี่ปุ่นมีความแข็งแกร่ง ซึ่งตลาดภายในประเทศเริ่มที่จะอิ่มตัวแล้ว เป้าหมายของแฟรนไชส์ญี่ปุ่นคือ ต้องการขยายสาขาไปในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น เช่นประเทศในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ”

ญี่ปุ่นนิยมลงทุนแฟรนไชส์แบรนด์ International

v8

คุณเศรษฐพงศ์ เล่าว่า จากข้อมูลที่ได้รับจากสมาคมแฟรนไชส์ญี่ปุ่น พบว่าผู้ประกอบการญี่ปุ่นที่สนใจลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ ส่วนมากจะนิยมชมชอบในแบรนด์แฟรนไชส์ที่เป็น แบรนด์ต่างประเทศ โดยเฉพาะจาก สหรัฐอเมริกา

ขณะที่แบรนด์ธุรกิจแฟรนไชส์ไทย หากต้องการขยายตลาดในประเทศญี่ปุ่น ถือว่าเป็นเรื่องท้าทายอย่างมาก เพราะคนญี่ปุ่นไม่ค่อยรู้จักแบรนด์แฟรนไชส์ไทยมากนัก

ซื้อแฟรนไชส์ญี่ปุ่น ต้องพกล่ามท้องถิ่นไปด้วย

v9

การติดต่อและทำธุรกิจกับนักธุรกิจญี่ปุ่น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีจะมาก่อนการคุยในเชิงธุรกิจ เมื่อทำความรู้จักกันและไว้ใจกันแล้ว การเจรจาข้อตกลงต่างๆ จะเปิดใจคุยกันง่ายขึ้น

ที่สำคัญผู้เข้าชมงานถ้าสามารถสื่อสารเป็นภาษาญี่ปุ่นได้ จะได้ประโยชน์อย่างมาก เพราะส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะเตรียมเอกสารเฉพาะภาษาญี่ปุ่น มีเพียงบางบูธจะจ้างล่ามแปลภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษ

แม้ว่างานนี้จะชื่อ International Franchise Show ก็อย่าคาดหวังว่าจะสื่อสารภาษาอังกฤษได้ทุกบูธ ดังนั้นหากผู้ประกอบการไทย หรือนักลงทุนไทย ที่ต้องการไปเดินในงานแฟรนไชส์ญี่ปุ่น ขอแนะนำให้จ้างล่ามแปลภาษาให้เราจะช่วยได้มาก มีนักเรียนไทยรับงานล่ามด้วย

v10

“การเดินทางไปชมงานแฟรนไชส์ญี่ปุ่นของผม ถือเป็นครั้งแรก โดยบริษัท จีโนซิส จำกัด เป็น Partners กับ Franchise Japan ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาแฟรนไชส์ที่ประเทศญี่ปุ่น

โดย Franchise Japan จะทำงานประสานกันกับสมาคมแฟรนไชส์ของญี่ปุ่น ให้การช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่บริษัทแฟรนไชส์ญี่ปุ่น ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ไปต่างประเทศ ที่ผมไปครั้งนี้ก็ไปติดต่อเจรจาธุรกิจแฟรนไชส์ในญี่ปุ่น ให้เข้ามาขยายสาขาในประเทศไทย”

โดยที่ผ่านมา บริษัท จีโนซิส จำกัด ได้เป็นที่ปรึกษาให้กับแบรนด์แฟรนไชส์จากต่างประเทศหลายแบรนด์ ในการเข้ามาขยายสาขาแฟรนไชส์ในเมืองไทย และงานแฟรนไชส์ญี่ปุ่นครั้งนี้ บริษัท จีโนซิส จำกัด ก็ไปในฐานะที่ปรึกษาให้กับผู้ประกอบการธุรกิจในเมืองไทย ในการซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ญี่ปุ่นมาลงทุนในเมืองไทย

แฟรนไชส์ญี่ปุ่น “อาหาร-ฟิตเนส” คนไทยเตรียมลงทุน

v11

คุณเศรษฐพงศ์ เล่าว่า แบรนด์แฟรนไชส์ญี่ปุ่นเป็นที่นิยมมานานแล้ว และนักท่องเที่ยวคนไทยไปประเทศญี่ปุ่นได้ง่ายขึ้นและเพิ่มมากขึ้น ทำให้รู้จักแบรนด์ธุรกิจของญี่ปุ่นมากกว่าแต่ก่อน โดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นที่เป็นนิยมในกลุ่มนักท่องเที่ยวไทย การบุกตลาดของแฟรนไชส์ร้านอาหารญี่ปุ่นมาที่ประเทศไทยจึงง่ายขึ้น

ลักษณะธุรกิจแฟรนไชส์ญี่ปุ่นจะมีความโดดเด่น มีลักษณะเฉพาะตัว เจาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมายชัดเจน รู้ว่ากลุ่มลูกค้านี้ต้องการอะไร เช่น ขณะนี้กระแสการรักสุขภาพเป็นที่นิยมมาก ธุรกิจบริการจำพวกฟิตเนสสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ กำลังเติบโตมากในประเทศญี่ปุ่น

v12

“แฟรนไชส์ญี่ปุ่นมีความชัดเจนในเรื่องรูปแบบธุรกิจ กำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายโดยเฉพาะ และสินค้าบริการมีคุณภาพมาตรฐาน เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้ามากที่สุด ไม่ทำตลาดแบบแมส หรือกระจายไปกลุ่มลูกค้าทั่วๆ ไป เหมือนการหว่านแห นอกจากนี้การคัดเลือกแฟรนไชส์ซีของญี่ปุ่นค่อนข้างเข้มงวด ไม่ใช่จะขายให้กับใครก็ได้”

บุกญี่ปุ่น แฟรนไชส์ไทยต้องจับลูกค้าญี่ปุ่นในเมืองไทยให้ได้

v15

คุณเศรษฐพงศ์ มองว่า ตลาดแฟรนไชส์ญี่ปุ่นเป็นตลาดที่น่าสนใจและท้าทายมาก มีโอกาสเติบโตอีกมาก คนญี่ปุ่นนิยมมาเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้นด้วย

ซึ่งสถิติข้อมูลนักท่องเที่ยวคนญี่ปุ่นปี 2559 ของกรมการท่องเที่ยว มีจำนวน 1.44 ล้านคน มากกว่าปี 2558 มีจำนวน 1.38 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.19 คนญี่ปุ่นจะมีโอกาสรู้จักสินค้าบริการแบรนด์ธุรกิจของคนไทยมากขึ้น

v18

ดังนั้น หากผู้ประกอบการแฟรนไชส์ไทยต้องการเจาะตลาดญี่ปุ่น นอกจากจะต้องศึกษาตลาดและความต้องการของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นให้มากๆ ต้องสร้างแบรนด์ให้มีความเป็นสากล

มีคาแรกเตอร์ที่โดดเด่นจดจำง่าย นอกเหนือจากคุณภาพของสินค้าและบริการต้องเป็นที่ยอมรับแล้ว กลยุทธ์การตลาดจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง

v16

ทั้งนี้การขายตลาดไปญี่ปุ่น ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ไทยต้องจับตลาดคนญี่ปุ่นในเมืองไทยให้ได้เสียก่อน ถ้าคนญี่ปุ่นในไทยชอบ เขาก็อยากให้มีแฟรนไชส์นั้นในประเทศเขา ถ้าจะลุยไปขายเลย คงไม่มีทางขายได้แน่นอน

ตัวช่วยอีกทางหนึ่ง คือ การมีบริษัทที่ปรึกษาด้านแฟรนไชส์ที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับตลาดญี่ปุ่นให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำ จะสามารถเข้าไปเจาะตลาดได้ง่ายและเร็วขึ้น ซึ่งบริษัท จีโนซิส จำกัด (www.gnosisadvisory.com) เป็นพาร์ทเนอร์กับ Franchise Japan (https://franchisejapan.biz/) ที่จะทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ติดต่อสื่อสาร เจรจาธุรกิจให้ตรงกับกลุ่มนักธุรกิจเป้าหมาย ที่สนใจซื้อขายธุรกิจแฟรนไชส์ระหว่างประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่น


Franchise Tips

  • เดินงานแฟรนไชส์ญี่ปุ่นต้องมีล่าม และผู้เชี่ยวชาญท้องถิ่น
  • บุกตลาดญี่ปุ่น ต้องสร้างแบรนด์ Inter มีความเป็นสากล
  • ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยต้องมีรูปแบบธุรกิจให้ตรงความต้องการของกลุ่มลูกค้าญี่ปุ่น
  • เจาะกลุ่มลูกค้าญี่ปุ่นในเมืองไทยให้ได้ ก่อนขยายสาขาแฟรนไชส์ไปญี่ปุ่น
  • ลงทุนแฟรนไชส์ต่างประเทศ ต้องมีที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญในประเทศนั้นเป็นคู่หู

ขอบคุณรูปภาพจาก https://goo.gl/5ytKKX

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/32R168G

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช