เซ้งธุรกิจแฟรนไชส์อย่างไร ให้ยอดขายเติบโตกว่าคนเก่า (มุมมองของคนเซ้ง)

หลายคนอาจไม่รู้ว่าธุรกิจแฟรนไชส์สามารถ “เซ้ง” หรือเปลี่ยนมือไปยังบุคคลอื่นได้ โดยเฉพาะแฟรนไชส์ในรูปแบบสร้างอาชีพ ใช้เงินลงทุนต่ำ จ่ายค่าแฟรนไชส์ครั้งเดียว ไม่มีค่าสิทธิรายเดือน (Royalty Fee) แต่ซื้อสินค้าและวัตถุดิบสำคัญๆ จากเจ้าของแฟรนไชส์ ส่วนใหญ่เป็นร้านรถเข็นและคีออส เปิดร้านขายตามแหล่งชุมชน ตลาด ปั้มน้ำมัน ฯลฯ

สำหรับใครที่อยากจะเซ้งร้านแฟรนไชส์เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องดื่ม เบเกอรี่ และอื่นๆ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีเทคนิคการ เซ้งธุรกิจแฟรนไชส์อย่างไร แบบไม่ให้เงินสูญเปล่า แถมสร้างยอดขายต่อจากเจ้าของเดิมได้อย่างงดงาม

เซ้งธุรกิจแฟรนไชส์อย่างไร

ภาพจาก facebook.com/kanchasiam/

1.ดูรายละเอียดสัญญาเช่า

ร้านแฟรนไชส์เหล่านี้มีทั้งเช่าพื้นที่เปิดร้าน และใช้พื้นที่ของตัวเอง หากคิดจะเซ้งธุรกิจต่อจากเจ้าของเดิม ต้องดูรายละเอียดเกี่ยวกับสัญญาเช่าด้วย เช่ารายเดือน รายปี หรือราย 5 ปี และช่วงเวลาที่เซ้งร้านไปแล้วนั้น เหลือสัญญาเช่ากี่ปี และสามารถต่อสัญญาเพิ่มอีกได้หรือไม่ ถ้าต่อได้ต้องทำอย่างไร และหากต่อไม่ได้ก็ไม่ควรที่จะตกลงเซ้งร้านแฟรนไชส์

2.ค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่

นอกจากจะดูระยะเวลาของสัญญาเช่าพื้นที่ในการเปิดร้านแล้ว คนที่จะเซ้งร้านแฟรนไชส์นั้นๆ จะต้องดูในเรื่องของค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการเช่าพื้นที่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นค่าเช่าพื้นที่มากน้อยแค่ไหน จ่ายต่อเดือนหรือสองเดือน ค่าน้ำ ค่าไฟ คิดรวมกับค่าเช่าพื้นที่ด้วยหรือไม่ รวมถึงมีค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ เช่น ห้องน้ำ ด้วยหรือไม่

เซ้งธุรกิจแฟรนไชส์อย่างไร

ภาพจาก bit.ly/2U3Vbfn

3.ระยะเวลาการเปิด-ปิดร้าน

ถือว่าสำคัญมาก หากระยะเวลาเปิดร้านขายน้อยก็จะทำให้โอกาสในการขายมีน้อย ยิ่งในช่วงการระบาดโควิด-19 มีมาตรการล็อกดาวน์จากภาครัฐ ทำให้มีเวลาเปิดร้านขายน้อยลง หากคิดจะไปเซ้งร้านต่อในช่วงนี้อาจไม่คุ้ม หรือแม้ว่าหากอยู่ในสถานการณ์ปกติ ไม่มีมาตรการล็อกดาวน์ แต่อย่าลืมว่าในแต่ละสถานที่จะมีนโยบายในการเปิด-ปิดร้านไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะในห้างสรรพสินค้าจะมีเวลาเปิดร้านขายน้อยกว่าอยู่นอกห้าง

4.เช็คอุปกรณ์ในการเปิดร้าน

การเซ้งธุรกิจแฟรนไชส์ นอกจากจะได้ตัวร้าน ชื่อร้าน ยังได้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โต๊ะ เก่าอี้ ถ้วย ชาม หม้อ แก้ว ผ้าปูโต๊ะ ป้าย และอื่นๆ จากเจ้าของร้านเดิม ดังนั้น ใครที่จะเซ้งร้านแฟรนไชส์ต่อจากคนอื่น ต้องเช็คอุปกรณ์ในการเปิดร้าน อุปกรณ์การขาย อุปกรณ์การปรุงอาหาร เครื่องดื่ม ว่ามีสภาพใช้งานต่อได้หรือไม่ หากพังชำรุดก็ต้องรีบซื้อใหม่ให้ทันเปิดร้าน

เซ้งธุรกิจแฟรนไชส์อย่างไร

ภาพจาก facebook.com/nongharnnoodle/

5.ค่าใช้จ่ายถ่ายทอดงาน

การเซ็งร้านแฟรนไชส์ก็เหมือนกับการซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ เจ้าของกิจการเดิมจะต้องถ่ายทอดวิธีการทำงาน การผลิต การสั่งซื้อสินค้า-วัตถุดิบ และอื่นๆ ให้คนเซ้งร้านแฟรนไชส์ทุกอย่างจนกว่าจะเปิดร้านขายเองได้ ตรงนี้คนที่จะเซ้งร้านแฟรนไชส์จะต้องสอบถามด้วยว่า มีค่าใช้จ่ายด้วยหรือไม่ หากมีค่าใช้จ่ายก็ต้องดูอีกว่าคุ้มหรือไม่ หากต้องเดินทางไปฝึกงานทุกวัน

6.ค่าใช้จ่ายในการเซ้ง

ค่าใช้จ่ายในการเซ้งกิจการร้านแฟรนไชส์ จะไม่รวมค่าเช่าพื้นที่ ค่าไฟ ค่าน้ำ แต่จะรวมตัวร้าน ซึ่งก็คือรถเข็น คีออส อละอื่นๆ รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ภายในร้าน หากราคาเซ้งแพงก็ต้องดูว่า กิจการนั้นๆ ได้รับความนิยม มีฐานลูกค้ารองรับหรือไม่ ที่สำคัญตั้งอยู่ในทำเลที่มีศักยภาพหรือไม่ แต่หากราคาเซ้งแพง ทำเลที่ตั้งลูกค้าเข้าถึงได้ยาก ก็ไม่ควรเซ้ง

เซ้งธุรกิจแฟรนไชส์อย่างไร

ภาพจาก facebook.com/StupidFriesOfficial/

7.สำรวจร้านและสถานที่

คนที่จะเซ้งร้านแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จ ควรที่จะลงสำรวจร้านและทำเลที่ตั้งในการเปิดร้านจริงๆ ดูว่ามีลูกค้าเข้าร้านในแต่ละวันมากน้อยแค่ไหน และช่วงเวลาไหนที่ลูกค้าใช้บริการมากที่สุด หรือน้อยสุด เพื่อนำมาปรับวิธีการขาย จัดเตรียมวัตถุดิบให้เพียงพอ หรือถ้าร้านที่จะเซ้งไม่ค่อยมีลูกค้าใช้บริการ ก็ต้องพิจารณาเองว่าจะคุ้มค่าในการเซ้งหรือไม่

8.จัดโปรโมชั่นและทำการตลาด

คนที่เซ้งร้านแฟรนไชส์มาแล้ว ในช่วงเปิดร้านให้บริการลูกค้าในช่วงแรกๆ ก็อย่าลืมจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเพิ่มยอด ประชาสัมพันธ์ ทำการตลาดผ่านเฟซบุ๊ค ไลน์ หรือสร้างเพจของร้านขึ้นมาโปรโมทร้าน เพิ่มเมนูสินค้าใหม่ๆ ต่อเนื่อง

นั่นคือ 8 เทคนิคการ เซ้งธุรกิจแฟรนไชส์อย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ ใครที่กำลังมองหาร้านแฟรนไชส์ที่เจ้าของเดิมอยากให้เซ้งต่อ สามารถนำแนวทางข้างต้นไปพิจารณา ก่อนที่จะตัดสินใจเซ้ง!!! น่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย

Franchise Tips

  1. ดูรายละเอียดสัญญาเช่า
  2. ค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่
  3. ระยะเวลาการเปิด-ปิดร้าน
  4. เช็คอุปกรณ์ในการเปิดร้าน
  5. ค่าใช้จ่ายถ่ายทอดงาน
  6. ค่าใช้จ่ายในการเซ้ง
  7. สำรวจร้านและสถานที่

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3wEioBS

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช