เช็คตัวเอง ด่วน! Slippery Slope ไหลลื่นแบบคนล้มเหลว

มีผลการวิจัยระบุว่าอัตราความผิดพลาดล้มเหลวที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 15% ของการทำงานแต่ละครั้ง ซึ่งความผิดพลาดระดับนี้จะเปิดโอกาสให้แต่ละบุคคลสามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ได้ดีที่สุด โดยไม่รู้สึกว่ายากหรือง่ายจนเกินไป

แต่ในความเป็นจริงกลับมีคนบางกลุ่มที่คิดย้อนแย้งยิ่งกว่า และกลัวความผิดพลาดมากไปจนพาชีวิตไปสู่ความล้มเหลว ทั้งที่ยังไม่ได้ลงมือทำอะไรแบบจริงจังสักครั้งเดียว

Slippery Slope

คนกลุ่มนี้จะมีวิธีคิดที่เรียกว่า “Slippery Slope” แปลตรงๆก็คือ ทางลาดชันลื่น โดยเป็นการเปรียบเทียบการนำเหตุผลจากเหตุการณ์แรกไปสู่เหตุการณ์ต่อ ๆ ไป จนถึงข้อสรุปสุดท้ายที่ห่างไกลจากเหตุผลแรกอย่างมาก หรือจะเรียกว่าอีกอย่างว่าเป็น “ตรรกะวิบัติ (Fallcy)” อธิบายง่ายๆ คือ “คิดเอง เออเอง” ใช้ความคิดแบบมโนไปเรื่อยๆ

เช่น ถ้าเราลงทุนแฟรนไชส์อันนี้ เราจะต้องเสียเงินก้อนโต เราจะมีเวลาอยู่กับครอบครัวน้อยลง เราต้องทำงานมากขึ้น เราอาจกลายเป็นหนี้มากขึ้น ครอบครัวก็จะไม่มีเงินพอใช้จ่าย ดังนั้นเราจึงไม่ควรซื้อแฟรนไชส์นี้เด็ดขาด เป็นต้น

ที่ร้ายยิ่งกว่าคือคนแบบ Slippery Slope มักคิดว่าตัวเองเป็นคนมองการณ์ไกล เป็นคนมีเหตุผล เป็นคนรอบคอบ ชอบการป้องกันดีกว่าต้องมาแก้ไข แต่ความจริงแล้วมันไม่ต่างอะไรจากคนมองโลกในแง่ร้าย มองทุกอย่างเป็นสีดำคนละขั้วกับคนที่คิดวางแผนอย่างเป็นระบบ ที่จะวิเคราะห์ทั้งกรณีดีที่สุดไปจนถึงแย่ที่สุด

Slippery Slope

ยกตัวอย่างเช่นถ้าจะลงทุนแฟรนไชส์ใดสักแบรนด์ จะมีการแจกแจงข้อมูลให้เห็นภาพทั้ง Worst Scenario ,Standard Scenario และ Best Scenario นั้นคือข้อมูลภาพรวมว่าในกรณีที่ขายได้ปกติ , ขายได้ดีที่สุด หรือขายได้แย่ที่สุดจะมีโอกาสคืนทุนต้องใช้เวลานานแค่ไหน

แต่ในมุมของ Slippery Slope จะมองข้าม Standard Scenario และ Best Scenario และจะมองเห็นแต่ Worst Scenario เท่านั้น สุดท้ายก็ไม่ได้ลงมือทำอะไรใหม่ มัวแต่กลัวและคิดเพ้อเจ้อไปต่างๆ นาๆ ชีวิตก็ไม่มีอะไรก้าวหน้า และนำพาชีวิตจมสู่ความล้มเหลวได้ในที่สุด

ตรงกันข้ามในมุมของคนที่ชีวิตพร้อมจะประสบความสำเร็จต้องเริ่มจากการมี mindset ที่ดี ซึ่งนักจิตวิทยาเชื่อว่า curiosity หรือความช่างสงสัย คือคุณสมบัติสำคัญที่นำชีวิตสู่ความสำเร็จได้สิ่งเหล่านี้ทุกคนสามารถฝึกได้โดยเริ่มจาก

  • พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ด้วยความถ่อมตน (humility)
  • ฝึกยอมรับข้อผิดพลาด รู้ว่าตัวเองมีจุดแข็งจุดอ่อนอะไร และกล้าที่จะยอมรับผิดชอบโดยไม่แก้ตัว
  • ฝึกฟังอย่างตั้งใจ เปิดรับคำวิจารณ์จากผู้อื่นแล้วฟังอย่างตั้งใจ
  • รู้ว่าเมื่อไหร่ที่ต้องขอความช่วยเหลือ ไม่ต้องกลัวที่จะบอกว่าเราไม่รู้และต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมจากคนที่รู้มากกว่า
  • ฝึกตัวเองให้มี growth mindset หรือแนวคิดที่เชื่อว่าคนเราสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้
  • ปรับมุมมองต่อความล้มเหลว ให้คิดซะว่าความล้มเหลวทำให้เราได้เรียนรู้และพัฒนาตัวเอง
  • เชื่อมั่นว่าเรายังทำไม่ได้ ‘แค่ตอนนี้’ ตอนนี้ยังทำไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะทำไม่ได้ตลอดไป

Slippery Slope

ภาพจาก https://elements.envato.com

ไม่ใช่แค่ในเรื่องของการลงทุนเท่านั้นแม้แต่ในองค์กรก็ควรฝึกให้บุคลากรปราศจากแนวคิดแบบ Slippery Slope เพื่อเพิ่มโอกาสให้องค์กรพัฒนาได้อย่างสูงสุด สิ่งที่ผู้บริหารหรือหัวหน้างานควรมีคือการมองประสิทธิภาพของลูกน้องให้เข้าใจ

ไม่ใช่มองแบบ Slippery Slope ที่เห็นแต่แง่ลบ คิดแต่ว่าเขาไม่มีทางทำได้ สิ่งที่ต้องยอมรับอันดับแรกคือแต่ละคนมีสไตล์ที่แตกต่าง ถ้าไม่ใช่พฤติกรรมที่เป็นปัญหาหรือร้ายแรงเกินไป ก็ควรมองข้ามในพฤติกรรมเหล่านั้น ไม่ใช่อคติอยู่ฝ่ายเดียว

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด