เจ๊งหลักล้านจากความดื้อ ล่าสุดทำได้ สร้างธุรกิจรองเท้า 100 ล้าน

คนเราถ้าล้มแล้วต้องลุก คนที่ลุกขึ้นได้คือคนที่จะประสบความสำเร็จ ในโลกของธุรกิจก็เช่นกัน เจ๊งได้ก็มีกำไรได้ สิ่งสำคัญคือต้องมีหลักคิด จับจุดธุรกิจให้ถูกต้อง หลายคนที่ดื้อรั้น ดันทุรังลงทุนทำในสิ่งที่ไม่ถนัด แต่สุดท้ายก็กลับมาอยู่ในเส้นทางที่ควรจะเป็นและไปได้ไกลยิ่งกว่า

www.ThaiSMEsCenter.com มีอีกตัวอย่างของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จแต่กว่าจะมาถึงวันนี้เคยล้มเหลวไม่เป็นท่า เสียหายจากการลงทุนไปพอสมควร แต่เมื่อตั้งหลักปรับทัศนคติความคิดตัวเองได้ หันมาจับสินค้าที่ถนัด พลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ สู่ธุรกิจรายได้กว่า 100 ล้านบาท ซึ่งมาจากการขาย “รองเท้า” เท่านั้น

แบรนด์ O&B ธุรกิจที่เกิดจากความ “ดื้อ”

สร้างธุรกิจรองเท้า

ภาพจาก facebook.com/OandBofficialTH

คุณรรินทร์ ทองมา เจ้าของแบรนด์ O&B ที่เราเชื่อว่าคุณผู้หญิงส่วนใหญ่น่าจะรู้จักเป็นอย่างดี สินค้าโดดเด่นของ O&B คือรองเท้าระดับพรีเมี่ยม คุณภาพระดับโลก แต่เส้นทางกว่าจะมาถึงวันนี้ใช่ว่าจะง่ายๆ คุณรรินทร์หลังจากเรียนจบได้ทำงานมาแทบทุกอย่างทั้งเด็กเสิร์ฟ งานโรงแรมเออี ผู้ช่วยออร์แกไนซ์ ขายเสื้อผ้าเด็ก ขายของมือสอง

โดยเฉพาะการทำธุรกิจขายเสื้อผ้าเด็กที่กล้าพูดได้ว่าล้มเหลวไม่เป็นท่า เหตุผลที่ธุรกิจแรกไม่ประสบความสำเร็จเป็นเพราะความดื้อรั้นดันทุรัง ทั้งที่ตัวเองไม่ได้มีใจรักในเรื่องนี้ มองแค่ว่ามีโอกาสน่าจะขายดี ดันทุรังทำไปโดยที่ไม่เข้าใจตลาด ไม่เข้าใจในผลิตภัณฑ์ แถมยังไม่มีฐานลูกค้า คิดว่าเป็นเรื่องง่ายที่มีสินค้าแล้วก็จะขายได้เอง สักวันก็ต้องขายดี และขายดีมากขึ้น แต่นั่นคือสิ่งที่คิดไปเอง สุดท้าย มีปัญหาตามมามากมาย สูญเงินจากการลงทุนไปหลายแสนบาท หรืออาจจะถึงหลักล้านเลยก็ได้

สร้างธุรกิจรองเท้า

ภาพจาก facebook.com/OandBofficialTH

เมื่อตั้งสติได้หันมาดูตัวเองว่าสนใจอะไร ชอบอะไร มาลงตัวที่การขายกระเป๋าแฟชั่นผู้หญิง เจ้าตัว บอกว่า ส่วนตัวชอบและถนัดด้านนี้ อีกทั้งกระเป๋าไม่จำเป็นต้องมีขนาดที่หลากหลายเฉกเช่นเสื้อผ้า ทำให้ขายง่ายกว่า แต่หลายคนก็เตือนเพราะเห็นว่าเราเคยล้มเหลวมาแล้ว แต่สุดท้าย ก็ “ดื้อ”อีกครั้ง เริ่มลงทุนด้วยเงิน 90,000 บาท ลุยธุรกิจกระเป๋าแก่อนในปี 2555 ชื่อแบรนด์ว่า bagbook ได้ไอเดียมาจากคำว่า facebook ซึ่งก็ขายดีมากรายได้ประมาณ 400,000 บาท พอเริ่มมาทำรองเท้าก็เปลี่ยนชื่อแบรนด์เป็น Other & Book หรือ O&B ในปัจจุบัน

รายได้ของ O&B เติบโตแบบก้าวกระโดด

สร้างธุรกิจรองเท้า

ภาพจาก facebook.com/OandBofficialTH

จากทุนเริ่มต้น 90,000 บาท เน้นการขายผ่านช่องทางออนไลน์ แต่ลืมคิดไปว่าสินค้าอย่างรองเท้าคนจะซื้อหรือตัดสินใจก็ต่อเมื่อเขาได้ลองว่าพอดีหรือเหมาะกับลูกค้าจริง ด้วยเหตุนี้การขายช่วงแรกจึงไม่ประสบความสำเร็จ สิ่งที่ต้องคิดต่อไปคือวิธีแก้ปัญหาดังกล่าว จึงได้วิธีขายที่ให้ลูกค้าสามารถเปลี่ยนไซด์รองเท้าได้ภายใน 7 วัน เพื่อให้ลูกค้าไม่ต้องกังวลว่าซื้อแล้วจะใส่ไม่ได้ ซึ่งก็ทำให้ลูกค้ารู้สึกมั่นใจและกล้าตัดสินใจซื้อมากขึ้น ประกอบกับการบริหารจัดการองค์กรที่ดีและรู้จักใช้เทคนิคการตลาดทำให้ O&B ที่เติบโตรวดเร็วมาก

โดยหากดูการเติบโตของธุรกิจจะพบว่ารายได้ในปี 2557 ของ O&B อยู่ที่ 5.1 แสนบาท แต่หลังจากนั้นธุรกิจได้เติบโตแบบก้าวกระโดด มีรายได้ในปี 2558 อยู่ที่ 34.5 ล้านบาท และในปี 2561 รายได้พุ่งถึง 144.9 ล้านบาท อัตราการเติบโตหากวัดจากช่วงเวลานี้เฉลี่ยกว่า 310.73%

เหตุผลที่ทำให้ธุรกิจเติบโตจึงน่าสนใจมาก โดยมีคีย์เวิร์ดที่น่าสนใจได้แก่

11

ภาพจาก facebook.com/OandBofficialTH

  1. ตัวเลือกสินค้าที่หลากหลาย เป็นจุดเด่นของแบรนด์เพราะมีให้เลือกกว่า 50 เฉดสี ถูกใจกลุ่มลูกค้าอย่างมาก
  2. เน้นการดีไซน์ที่เรียบง่ายใส่ได้ในทุกโอกาส เป็นสินค้าแฟชั่นไม่มีวันตกเทรนด์
  3. การสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์ โดยสื่อสารกับลูกค้าว่า O&B ผลิตจากหนังแกะ ใส่สบาย
  4. ทำการตลาดผ่าน Celebrity ทั้งไทยและต่างประเทศ ยิ่งเพิ่มมูลค่าให้สินค้าได้มากขึ้น
  5. สร้างการตลาดระหว่างออนไลน์และออฟไลน์ให้เชื่อมโยงถึงกัน เพื่อให้ธุรกิจเติบโต

10

ภาพจาก facebook.com/OandBofficialTH

เหตุผลที่ทำให้ O&B กลายเป็นแบรนด์ดังได้ ส่วนหนึ่งเพราะการไม่จมอยู่กับปัญหา ก้าวข้ามในสิ่งที่ตัวเองผิดพลาด และรู้จักลุกขึ้นสู้อีกครั้ง แม้ความผิดพลาดนั้นจะเหมือนเป็นบาดแผลที่ทำให้คนอื่นกังวลและกลัวว่าจะผิดพลาดซ้ำอีก แต่ความดื้อที่ได้แผลจากธุรกิจล้มเหลวคือบทเรียนที่มีค่าและสอนให้เรียนรู้วิธีการทำธุรกิจที่แท้จริงจนประสบความสำเร็จได้เช่นทุกวันนี้

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3Iv6xfU , https://bit.ly/3Gpqtzc , https://bit.ly/3unMegr

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3Lz9w9s

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด