เจ๊งหมดตัว รวยฟ้าผ่า ย่านบรรทัดทอง คน • แบรนด์ • สถานที่
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เราต้องยอมรับว่า “ย่านบรรทัดทอง” ถูกขนานนามว่าเป็นหนึ่งในทำเลทองที่กำลังมาแรงของกรุงเทพฯ มีร้านค้าและร้านอาหารเปิดใหม่แทบจะทุกสัปดาห์ มีนักท่องเที่ยวและผู้คนเดินขวักไขว่ มีรีวิวจากอินฟลูเอนเซอร์ทุกช่องทาง ทำให้คนแห่ตามรอยไปกินกันกันแทบไม่ขาดสาย หลายคนเชื่อว่าถ้าได้เปิดร้านอาหารแถวย่านนี้ โอกาสรวยอยู่แค่เอื้อม
แต่รู้หรือไม่ว่า ในความเป็นจริงที่กำลังปรากฏให้เห็น ย่านบรรทัดทองที่เคยเป็นความหวังของผู้ประกอบการหลายราย กำลังกลายเป็นหลุมพรางธุรกิจ “รวยเร็ว เจ๊งเร็ว” สะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงของธุรกิจในย่านนี้
ช่วงแรกๆ อาจเป็นศูนย์รวมร้านอาหาร คาเฟ่ และไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ต่อมาค่อยๆ เงียบเหงาในระยะเวลาไม่นานนัก
มาวิเคราะห์กันว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ทำเลทองย่านบรรทัดทอง ที่เมื่อช่วง 2-3 ปีก่อน “พุ่งแรง” แล้วค่อยๆ ดับไป ธุรกิจร้านค้าต่างทยอยปิดกิจการลง ติดประกาศเซ้งอย่างน่าใจหาย

1.ค่าเช่าที่สูง ทำให้ความคุ้มกลายเป็นฝันร้าย
เมื่อย่านบรรทัดทองเริ่มบูม เจ้าของที่ก็ขึ้นค่าเช่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่เป็นฝันร้ายของผู้ประกอบการ ก็คือ ค่าเช่าร้านพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง ร้านเล็กๆ ขนาดเพียงไม่กี่ตารางเมตร อาจมีค่าเช่าตั้งแต่ 30,000 ไปจนถึง 50,000 บาทต่อเดือน
ยังไม่รวมค่าเซ้งร้านที่อาจถึงหลักล้านบาท สำหรับสัญญาระยะสั้น 2-3 ปี เมื่อต้นทุนสูงขนาดนี้ไม่ใช่ว่าผู้ประกอบการทุกรายแบกรับไหว โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อยที่เงินทุนไม่หนาพอ ที่สำคัญผู้ประกอบการยังมีต้นทุนแฝงอื่นๆ เช่น ค่าตกแต่งร้าน, ค่าจ้างพนักงาน, ค่าการตลาด ฯลฯ แม้ร้านค้าจะขายดี แต่กำไรอาจไม่ทันคืนทุนในเวลาอันสั้น
2.เวลาขายจำกัด รายได้หดเพราะเวลาไม่พอ
แม้จะมีคนเดินเยอะช่วงเย็น แต่หลายพื้นที่ในย่านนี้มีข้อจำกัดเรื่องเวลาการเปิดให้บริการลูกค้า บางร้านขายได้แค่ช่วง 18.00–00.00 น. ทำให้ไม่สามารถเพิ่มรอบการขาย หรือหารายได้ในช่วงกลางวันได้ ส่งผลให้ธุรกิจที่ต้องการเวลาสร้างยอดขาย เช่น ร้านอาหารที่ให้บริการเต็มรูปแบบ ถ้ามีเวลาเพียง 6 ชั่วโมงอาจไม่เพียงพอ

3.แข่งขันรุนแรง พึ่งพารีวิว กระแสมาเร็ว ไปเร็ว
เมื่อใครๆ ก็อยากมาทำธุรกิจในย่านนี้ คู่แข่งก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว มีร้านใหม่เปิดตลอดเวลา กลายเป็นสนามแข่งขันดุเดือดที่ต้องพึ่งรีวิว พึ่งกระแสออนไลน์จนอาจลืมเรื่องความยั่งยืนของธุรกิจในระยะยาว เพราะการรีวิวเพียงชั่วคราวอาจพาลูกค้ามาได้เพียงระยะสั้น แต่หลังจากนั้นหากไม่มีแผนรองรับ ร้านก็จะเงียบเหงาและขาดทุนในที่สุด
4.ปัญหาภายในร้าน บริการไม่ดี ทำให้ลูกค้าหนี
เราจะเห็นดราม่าเรื่องบริการในร้านดังย่านนี้ออกมาเป็นระยะ เช่น ปัญหาคิวล้น การจัดการที่ไม่เป็นมืออาชีพ ไปจนถึงการปฏิบัติต่อลูกค้าที่ทำให้เกิดเสียงวิจารณ์ในโลกออนไลน์ จนกลายเป็นจุดจบของร้านไปหลายแห่ง แม้จะเคยดังแค่ไหนก็ตาม

5.พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน ที่เคยมาปักหมุดถ่ายรูป รีวิวกินร้านใหม่ๆ เมื่อมีที่ใหม่บูมกว่า ก็ย้ายไปเลย ผู้บริโภคยุคนี้เปลี่ยนไวมาก แค่ย่านไหนไม่ว้าวเหมือนแต่ก่อนก็โดนเท ถ้าร้านหรือย่านบรรทัดทองปรับตัวไม่ทัน ก็จะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
6.ขาดคาแรคเตอร์เฉพาะของสถานที่
ทำเลย่านบรรทัดทองไม่มีอัตลักษณ์หรือจุดขายเฉพาะตัวที่ชัดเจน เหมือนกับทำเลย่านเยาวราช เอกมัย ทองหล่อ ไม่มีการวางแนวทางการพัฒนาแบบองค์รวม ธุรกิจร้านค้าต่างคนต่างทำ ขาดความเชื่อมโยง หรือ Ecosystem กลายเป็น “ย่านรวมของร้านค้าหลายอย่างที่ไม่ค่อยมีอะไรเด่นชัด จะเห็นได้ว่าทำเลดี ต้องมีมากกว่าแค่ “คนเดินเยอะ” ย่านบรรทัดทอง คือ ภาพสะท้อนของความจริงในโลกธุรกิจยุคใหม่ ทำเลดีเพียงอย่างเดียวไม่พอ
ถ้าไม่มีแผนธุรกิจที่ชัดเจน ระบบหลังบ้านดี ที่สำคัญต้องสามารถรับมือกับต้นทุนที่พุ่งสูงด้วย การทำธุรกิจในยุคนี้ คำว่า “รอด” มีความสำคัญกว่า “รวยไว” และต้องวางแผนระยะยาวจะทำให้ธุรกิจอยู่ได้ยั่งยืน
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)