เจ๊งระนาว! รวม 10 บริษัททั่วโลก ปลดพนักงาน ปิดกิจการ
ข้อมูลกรมโรงงานอุตสาหกรรม พบว่าปี 2567 โรงงานปิดตัวเฉลี่ย 102 แห่งต่อเดือน อัตราปิดเฉลี่ยมากกว่า 100 แห่งต่อเดือน เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน ปี 2568 เศรษฐกิจไทยซึมต่อเนื่อง ศูนย์วิจัยกสิกรฯ มองแนวโน้มโรงงานเสี่ยงปิดตัวต่อเนื่อง “สิ่งทอ-เฟอร์นิเจอร์-เหล็ก” โดยมีปัจจัยทั้งปัญหาเศรษฐกิจ การกีดกันทางการค้า ค่าครองชีพ กำลังซื้อ ฯลฯ
ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2567-ต้นเดือนแรกปี 2568 พบว่าเศรษฐกิจทั่วโลกยังไม่ฟื้นตัว ส่งผลให้หลายๆ บริษัท หลายๆ ธุรกิจ ทั้งในไทยและต่างประเทศ ประกาศปลดพนักงานจำนวนมาก ไม่พอยังมี ปิดกิจการ ไปต่อไม่ได้จำนวนมากเช่นกัน
1. เวิร์คพอยท์ เลิกผลิตละคร ลดคน

ท่ามกลางพฤติกรรมผู้บริโภคเสพสื่อที่เปลี่ยนไป ส่วนเจ้าของสินค้าต่างๆ หันไปใช้งบผ่านสื่อที่วัดผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทรงพลังมากขึ้น ทำให้หลายๆ สื่อรายได้ลดลง ส่งผลให้ “เวิร์คพอยท์” ต้องยุติการผลิตละคร ทำให้ต้องปิดแผนกธุรกิจละคร และ “เลิกจ้างพนักงาน” ในส่วนนี้ ทำให้บริษัทประหยัดค่าใช้จ่ายประมาณ 100-150 ล้านบาทต่อปี
2. บริษัทผลิตรถไฟฟ้า เลิกจ้างพนักงาน
รายงานข่าวเฟซบุ๊ก หนุ่มสาว-โรงงาน มีการลงโพสต์ประกาว่า บริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้าดังใน จังหวัดฉะเชิงเทรา เลิกจ้างพนักงาน 600 คน มีผลตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2567 เป็นต้นมา เหตุไม่สามารถยื้อกิจการได้ ยอดขายไม่กระเตื้อง
3. นิสสัน ปลดพนักงาน 9,000 คน

สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานหลังจากกำไรนิสสันร่วงแรง 93% ในครึ่งปีแรก 2567 เตรียมปลดพนักงาน 9,000 คนทั่วโลก พร้อมลดกำลังการผลิต 20% ขณะที่ซีอีโอเตรียมลดเงินเดือนโดยสมัครใจ 50%
4. ไฮ้เปียง ภัตตาคารดังหัวหิน ปิดตำนาน 70 ปี

ร้านอาหารชื่อดังคู่เมืองหัวหิน เปิดมานานกว่า 70 ปี แจ้งประกาศปิดกิจการผ่านเพจเฟซบุ๊คทางร้านจะ ปิดกิจการ ในวันที่ 31 ม.ค. 2568 และขอบคุณลูกค้าที่สนับสนุนร้านด้วยดีมาโดยตลอด หลังจากลูกค้าได้เห็นจากโพสต์ได้คอมเมนต์รู้สึกใจหายและเสียกายจำนวนมาก
5. ศูนย์รถมาสด้า สกลนคร ประกาศเลิกกิจการ

บริษัท สกลเจริญศรี (2003) จำกัด เจ้าของศูนย์มาสด้าเมืองสกลนคร ประกาศเลิกกิจการ ให้บริการวันสุดท้าย 15 ม.ค. 2568 สาเหตุของการปิดกิจการอาจมาจากการแข่งขันสูง ภาวะเศรษฐกิจ ประชาชนไม่มีเงินซื้อ ทำให้บริษัทขาดทุน
6. วอชิงตันโพสต์ เลิกจ้างพนักงานเกือบ 100 คน

วันที่ 7 ม.ค. 2568 เดอะ วอชิงตันโพสต์ สื่อสิ่งพิมพ์ชั้นนำของอเมริกา ประกาศจะปลดพนักงานราว 4% หรือเกือบ 100 คน จากพนักงานทั้งหมด เพื่อลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้สื่อยักษ์ใหญ่อเมริกามีอายุมากถึง 147 ปี กำลังประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่อง
7. The Body Shop สกินแคร์แบรนด์ดังอังกฤษ โบกมือลาไทย

วันที่ 15 ม.ค. 2568 มีรายงาน The Body Shop สกินแคร์แบรนด์ดังจากอังกฤษ ประกาศปิดทุกสาขาในไทย ให้บริการวันสุดท้าย 31 ม.ค. 2568 และระบุด้วยว่า Thank you for all the love – See you again soon
8. Meta เตรียมลดพนักงานประมาณ 5%

Meta Platforms วางแผนลดพนักงานประมาณ 5% ใช้วิธีประเมินผลงาน และมีแผนจ้างคนใหม่เพิ่มในตำแหน่งที่ว่างภายในปี 2568 ปัจจุบัน Meta มีพนักงาน 72,000 คน ดังนั้น การลดพนักงาน 5% อาจส่งผลกระทบต่อพนักงานราวๆ 3,600 คน
9. เชฟรอน เตรียมปลดพนักงาน 8,000 คน

บริษัทน้ำมันอันดับ 2 ของสหรัฐ พยายามลดต้นทุนทางธุรกิจ หลังเข้าซื้อกิจการครั้งใหญ่ เตรียมเลย์ออฟพนักงานทั่วโลก 15-20% ภายในสิ้นปี 2569 ซึ่งการเลิกจ้าง 20% ของพนักงานทั้งหมดจะกระทบราวๆ 8,000 คน ซึ่งยังไม่รวมพนักงานอีก 5,400 คน ของสถานีบริการน้ำมัน
10. นิสสัน ประกาศปิดโรงงาน 1 แห่งในไทย

นิสสัน มอเตอร์ ประกาศปิดโรงงาน 3 แห่งทั่วโลก รวมถึงในไทย 1 แห่ง หลังคาดการณ์ผลกระกอบการลดลง ในไทยมีแผนปิดโรงงานแห่งหนึ่งใน อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ภายในเดือนมิถุนายน 2568 และโรงงานอีก 2 แห่งยังไม่ได้ระบุชื่อ โดยก่อนหน้านี้บริษัทประกาศจะเลิกจ้างพนักงานทั่วโลก 9,000 คน และลดกำลังการผลิตทั่วโลกลง 20%
นั่นคือ 10 ธุรกิจทั่วโลกที่เตรียมและประกาศเลิกจ้างรวมถึง ปิดกิจการ จากปัญหาเศรษฐกิจ การแข่งขันสูง ทำให้หลายๆ ธุรกิจหาทางลดต้นทุน เพื่อให้กิจการดำเนินต่อไปได้ แต่ถ้ากิจหารไหนไปต่อไม่ไหว ก็ต้องโบกมือลาไปในที่สุด
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)