เจ้าของแฟรนไชส์ ควรขายแฟรนไชส์เอง vs จ้างตัวแทนขาย
จริงๆ แล้วการทำตลาดและขายแฟรนไชส์ด้วยตัวเองไม่ใช่เรื่องยากเกินไปสำหรับเจ้าของแฟรนไชส์ เพียงแต่บางคนอาจมองว่าวุ่นวายและขายยากไปบ้างสำหรับเจ้าของธุรกิจที่ไม่เคยขายแฟรนไชส์ เพราะต้องเตรียมข้อมูล เอกสาร ทำตลาด นำเสนอขาย รวมถึงติดต่อประสานงานและนัดหมายพูดคุยกับผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ อาจดูหลายขั้นตอนยุ่งยากเข้าไปอีก
ด้วยเหตุนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมาเปรียบให้เจ้าของแฟรนไชส์ ควร ดูว่าการขายแฟรนไชส์ด้วยตัวเองดีกว่า จ้างตัวแทนขายอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นแนวทางนำไปพิจารณาก่อนตัดสินใจไปจ้างเอเจนซี่ขายแฟรนไชส์
ข้อดี เจ้าของขายแฟรนไชส์เอง
1.รู้จักและเข้าใจธุรกิจแฟรนไชส์ของตัวเอง
แน่นอนว่าเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ที่ขายแฟรนไชส์ด้วยตัวเอง จะมีความรู้และความเข้าใจในธุรกิจแฟรนไชส์ของตัวเองอย่างลึกซึ้งมากกว่าคนข้างนอก รวมถึงมีความเข้าใจในความต้องการของลูกค้าเป้าหมายของตัวเองเป็นอย่างดี เนื่องจากเจ้าของแฟรนไชส์และทีมงานในบริษัทจะมีความคุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์และบริการของตัวเอง ทำให้สามารถโปรโมตธุรกิจแฟรนไชส์ออกสู่ตลาดได้ตรงกลุ่มเป้าหมายให้อยากซื้อแฟรนไชส์เร็วขึ้น และมีการติดตามลูกค้าอย่างใกล้ชิด
2.ตอบคำถามและให้ข้อมูลแฟรนไชส์แม่นยำ
เจ้าของแฟรนไชส์และทีมการตลาดยังสามารถตอบคำถามและให้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ของตัวเองแก่ผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ได้ดีกว่าการจ้างเอเจนซี่ข้างนอก ที่ไม่มีความใกล้ชิดและผูกพันกับแบรนด์แฟรนไชส์ อีกทั้งเจ้าของแฟรนไชส์ยังให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ได้ดีกว่าเอเจนซี่ ที่มุ่งเน้นการขายให้ได้อาจให้ข้อมูลไม่คลาดเคลื่อน
3.ให้ความสำคัญและมุ่งเน้นแบรนด์แฟรนไชส์
ขณะเดียวกันเจ้าของแฟรนไชส์และทีมงานจะมีความมุ่งเน้นที่แบรนด์แฟรนไชส์ของตัวเองเท่านั้น เจ้าหน้าที่การตลาดรวมถึงตัวเจ้าของแฟรนไชส์จะให้ความสำคัญกับการขายแฟรนไชส์ของตัวเองอย่างเดียว ซึ่งแตกต่างจากเอเจนซีที่ขายธุรกิจแฟรนไชส์ให้กับหลายแบรนด์ ทำให้ความพยามในการขายลดลง อาจทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายไปฟรีๆ
4.มีความยืดหยุ่นและทุ่มเทเวลาขายแฟรนไชส์
เจ้าของแฟรนไชส์และทีมการตลาดภายในบริษัท พร้อมทุ่มเททำการตลาดและขายแฟรนไชส์ให้ได้ตามเป้าหมายตลอดทั้งสัปดาห์ มีความยืดหยุ่น ไม่มีเวลาที่กำหนดไว้ จึงทำให้สามารถระดมความคิดหรือแก้ไขแผนการทำงานได้ทุกเมื่อที่ต้องการ
5.ใส่ใจและรักในแบรนด์แฟรนไชส์ของตัวเอง
เจ้าของแฟรนไชส์ที่รักแบรนด์ของตัวเอง จะใส่ใจในเรื่องของบุคคลที่เหมาะสมเป็นแฟรนไชส์ซีหรือภรรยาของตัวเอง ว่าต้องมีคุณสมบัติอย่างไร จึงจำเป็นต้องพิถีพิถันและพิจารณาคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์อย่างรอบคอบ แตกต่างจากเอเจนซี่ที่มีเป้าหมายขายให้ได้เร็ว อาจจะลืมพิจารณาคุณสมบัติของผู้ซื้อแฟรนไชส์ สุดท้ายอาจส่งผลเสียต่อแบรนด์ในภายหลังได้
6.ประหยัดงบประมาณและค่าใช้จ่ายต่างๆ
แน่นอนว่าการขายแฟรนไชส์เองจะประหยัดงบประมาณและค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้าง ค่าคอมมิชชั่น ค่าบริการ และอื่นๆ แก่เอเจนซี่ ซึ่งบางครั้งอาจไม่คุ้มค่าและต้องเสียเวลามากกว่าการขายแฟรนไชส์เองด้วยซ้ำ เพราะสามารถแก้ปัญหาและปรับรูปแบบการขายได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาบรีฟงานให้เอเจนซี่เข้าใจ
7.มีช่องทางการทำตลาดที่เหมาะกับตัวเอง
นอกจากนี้ เจ้าของแฟรนไชส์ยังสามารถเลือกวิธีการทำการตลาดสำหรับขายแฟรนไชส์ได้หลายช่องทางตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเว็บไซต์ เฟสบุ๊ค ไลน์ ยูทูป รวมถึงการลงโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ช่วยให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่สนใจซื้อแฟรนไชส์ได้เร็วขึ้น ประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายและเวลา
ข้อเสีย จ้างเอเจนซี่ขายแฟรนไชส์
1.มุ่งหวังเปอร์เซ็นต์และยอดการขาย
ภาพจาก pixabay.com
แม้ว่า จ้างตัวแทนขาย ข้างนอกช่วยขายแฟรนไชส์จะดีในแง่ของความรวดเร็วและมีความชำนาญในการขาย แต่ข้อเสียก็มีมากมาย โดยเฉพาะเอเจนซี่ไม่มีความผูกพันและรักแบรนด์แฟรนไชส์เหมือนกับตัวเจ้าของแฟรนไชส์ จึงทำให้คัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่เปรียบเสมือนภรรยาของแฟรนไชส์ซอร์ไม่มีคุณภาพ ใครมีเงินซื้อก็รีบปิดการขาย เพื่อรับเปอร์เซ็นต์การขาย
2.เสียเวลาพูดคุย Scope งานที่ต้องการ
ภาพจาก pixabay.com
ขณะเดียวกัน เจ้าของแฟรนไชส์ยังเสียเวลาในการพูดคุยกับบริษัทเอเจนซี่ เกี่ยวกับ Scope ของงานที่ตัวเองต้องการให้ตรงกัน เพราะในบางครั้งบางบริษัทเอเจนซี่อาจจะไม่สามารถให้บริการหรือตอบโจทย์ในสิ่งที่เจ้าของแฟรนไชส์ต้องการได้ทั้งหมด หรือถ้าหากเกิดการเข้าใจผิดในระหว่างการดำเนินการ อาจจะทำให้เกิดผลเสียกับงานหรือบริษัทแฟรนไชส์ได้
3.มีค่าใช้จ่ายสูง ไม่ค่อยสนใจลูกค้า
ภาพจาก pixabay.com
การจ้างเอเจนซี่ขายแฟรนไชส์อาจไม่ได้ง่ายเสมอไป เพราะหากเจ้าของแฟรนไชส์หาเอเจนซี่ที่จะตอบโจทย์ความต้องการของตัวเองได้ทั้งหมดนั้นอาจไม่ได้หมายความว่า ข้อตกลงหรือการดีลงานจะจบลงแค่นั้น เพราะการบริการที่ดีและครบวงจรตอบโจทย์ความต้องการ อาจมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่สูง หรือเอเจนซี่บางรายไม่สนใจลูกค้าทำให้โอกาสขายมีน้อย
ได้เห็นกันหรือยังว่า เจ้าของแฟรนไชส์ ควร ทำการตลาดและขายแฟรนไชส์ด้วยตัวเองจะดีกว่า จ้างตัวแทนขาย เพราะอย่างน้อยเจ้าของแฟรนไชส์ทุกคนจะรักแบรนด์แฟรนไชส์ของตัวเอง จึงทำให้ทุกขั้นตอนของการขายแฟรนไชส์ต้องใช้ความพิถีพิถัน โดยเฉพาะการนำเสนอข้อมูลแฟรนไชส์ที่ถูกต้อง และการคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่มีคุณภาพเข้ามาเป็นเครือข่าย
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3altPG2
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)