เจ้าของแฟรนไชส์ ขายจังหวัดละสาขา เสียโอกาสขนาดไหน

การขยายสาขาแฟรนไชส์เป็นปัจจัยทำให้ธุรกิจของแฟรนไชส์ซอร์เติบโตอย่างรวดเร็ว ยิ่งขยายสาขาได้มาก ยิ่งทำให้สินค้าและบริการเป็นที่รู้จักในวงกว้าง มีช่องทางกระจายสินค้าและบริการมากขึ้น ยอดขายเพิ่มขึ้น ที่สำคัญเจ้าของแฟรนไชส์ได้รับค่าตอบแทนจากการขายแฟรนไชส์มากขึ้นด้วย พูดง่ายๆ คือ สาขาเดียวหรือจะเท่า 10 สาขา 20 สาขา

แต่ปัจจุบันมีหลายแบรนด์แฟรนไชส์ขายแฟรนไชส์ หรือให้สิทธิ์แฟรนไชส์ซีเปิดร้านได้จังหวัดละ 1 สาขา เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการแย่งลูกค้ากัน แฟรนไชส์ซีมีรายได้มากขึ้น ไม่ต้องแบ่งรายได้ให้แฟรนไชส์ซีรายอื่น

ถ้าถามว่าธุรกิจแฟรนไชส์ที่ขายแฟรนไชส์จังหวัดละ 1 สาขา เสียโอกาสอย่างไรบ้าง

เจ้าของแฟรนไชส์ ขายจังหวัดละสาขา

  1. เสียโอกาสขยายธุรกิจแฟรนไชส์ให้เติบโต การขยายสาขาแฟรนไชส์ได้เยอะๆ ทำให้คนรู้จักมากขึ้น สามารถดึงดูดนักลงทุนมาซื้อแฟรนไชส์ได้ง่ายขึ้น ทำให้ธุรกิจเติบโตได้เร็วขึ้น
  2. ได้รับค่าตอบแทนจากการขายแฟรนไชส์น้อย ยิ่งมีสาขามากยิ่งมีรายได้มากจากค่าแฟรนไชส์และค่าสิทธิ์ รวมถึงการขายสินค้าและวัตถุดิบ
  3. สินค้าและบริการไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ร้านแฟรนไชส์มีแค่ 1 สาขา ทำให้สินค้าและบริการขายได้เฉพาะพื้นที่นั้นๆ คนพื้นที่อื่นไม่รู้จัก ขายได้น้อย
  4. ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้เฉพาะบางพื้นที่ ทำให้แบรนด์แฟรนไชส์ไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ลูกค้าไม่เชื่อมั่นในแบรนด์
  5. กระจายสินค้าและบริการได้น้อย ถ้ามีสาขาเยอะจะกระจายสินค้าและบริการได้มากขึ้น มีโอกาสขายและทำรายได้เพิ่มขึ้น
  6. รองรับลูกค้าไม่ทั่วถึง สินค้าและบริการไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า ถ้าพื้นที่นั้นมีความเจริญขึ้น จำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้น การเปิดร้านแฟรนไชส์ 1 สาขา อาจไม่ทันกับความต้องการของลูกค้าได้

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจแฟรนไชส์ที่จำกัดขยายสาขาจังหวัดละ 1 สาขา มีข้อดีเช่นเดียวกัน

เจ้าของแฟรนไชส์ ขายจังหวัดละสาขา

  1. ได้คัดกรองแฟรนไชส์ซีที่มีคุณภาพ มีคุณสมบัติเหมาะสมกับแฟรนไชส์ ช่วยให้แฟรนไชส์เติบโตยั่งยืน
  2. สามารถดูแลอบรมให้องค์ความรู้กับแฟรนไชส์ซีได้ทั่วถึง แฟรนไชส์ซีปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐาน
  3. ธุรกิจแฟรนไชส์ไม่แย่งลูกค้ากันเอง เหมือนกรณีร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ที่บางพื้นที่เปิดสาขาใกล้กัน สุดท้ายไปไม่รอด
  4. สาขาแฟรนไชส์มีรายได้จากการขายมากขึ้น เพราะมีแค่สาขาเดียว ไม่มีสาขาอื่นมาแย่งลูกค้า รับสาขาเดียวเต็มๆ
  5. ควบคุมคุณภาพมาตรฐานสาขาแฟรนไชส์ได้ง่าย สามารถตรวจมาตรฐานสาขาได้เร็ว

สรุปก็คือ เจ้าของแฟรนไชส์ ขายจังหวัดละสาขา มีทั้งข้อดี ข้อเสีย ขายแฟรนไชส์น้อยสามารถคัดกรองแฟรนไชส์ซีที่มีคุณภาพ มีคุณสมบัติเหมาะสมกับแฟรนไชส์ ช่วยให้แฟรนไชส์เติบโตยั่งยืน แต่ถ้าขายแฟรนไชส์มากอาจได้แฟรนไชส์ที่ไม่มีคุณภาพ ดูแลไม่ทั่วถึง บางสาขาอาจสร้างความเสียหายต่อแบรนด์แฟรนไชส์ สุดท้ายตายทั้งระบบ 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช