เจ้าของธุรกิจต้องรู้! สัญญาเช่าและขั้นตอนการเปิดร้านในศูนย์การค้า
เจ้าของธุรกิจทั้งแฟรนไชส์และทั่วไปที่อยากเปิดร้านในห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า แต่ไม่รู้ขั้นตอนการเปิดร้านรวมถึงไม่รู้ว่าสัญญาเช่าจะยาวกี่ปี ค่าเช่าแพงหรือไม่ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบครับ
การเปิดร้านในศูนย์การค้ามีผู้ให้เช่าและผู้เช่าทั้งเป็นบุคคลและนิติบุคคล ระยะเวลาสัญญามีระยะสั้น คือ รายวัน, รายเดือน ส่วนระยะยาว คือ รายปี, 1 -3 ปี สัญญาเช่าพื้นที่ที่เป็นรายวันส่วนใหญ่จะเป็นการเช่าพื้นที่โปรโมชั่น พื้นที่สำหรับจัดกิจกรรม, งานออกบูธ, งานขายสินค้าระยะเวลา 3 – 15 วัน ส่วนการเช่าพื้นเปิดร้านค้าขั้นต่ำ 1 เดือน หรือ 3 – 6 เดือน และ กรณีระยะยาวจะเป็นระยะเวลา 1 – 3 ปี และสามารถตกลงในการต่อสัญญาได้อีกครั้งละปี หรือ 3 ปี แล้วแต่จะตกลง
สำหรับพื้นที่เช่าเปิดร้านค้า ทางศูนย์การค้าจะคำนวณพื้นที่เช่า กว้าง x ยาว มีหน่วยเป็นเมตร พื้นที่เช่ารวมคิดเป็นตารางเมตร ส่วนค่าเช่าจะคิดเป็นการเช่าเหมาทั้งห้องต่อเดือน หรือต่อตารางเมตรต่อเดือน เช่น ราคาค่าเช่าเหมาต่อร้านค้าเดือนละ 10,000 บาท หรือ กรณีค่าเช่าตารางเมตรละ 500 บาทต่อตารางเมตร พื้นที่เช่าร้านค้าขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 5 เมตรคิดเป็น 6 x 5 = 30 ตารางเมตร ราคาค่าเช่าเดือนละ 30 x 500 = 15,000 บาท
ค่าบริการกรณีพื้นที่เช่า ศูนย์การค้าบางแห่งจะคำนวณแบบค่าเช่ารวมค่าบริการ แต่ส่วนใหญ่จะมีการคิดค่าบริการที่ประกอบด้วยค่าบริการไอเย็นและค่าบริการส่วนกลาง เช่น
- ค่าบริการตารางเมตรละ 200 บาท ต่อเดือน จากพื้นที่ร้านค้า
- 30 ตารางเมตร จะคิดเป็น ค่าบริการ เดือนละ 200 x 30 = 6,000 บาท
- พร้อมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% = 420 บาท ดังนั้น ราคาค่าเช่า รวมค่าบริการ เดือนละ 15,000 + 6,000 + 420 = 21,420 บาท
- ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ ตามที่แต่ละศูนย์การค้ากำหนดโดยเรียกเก็บพร้อมค่าเช่า เป็นหน่วยต่อบาทต่อเดือน ตามการใช้จริง
- เงินประกันสัญญา จะมีการวางเงินประกันสัญญา 2-6 เดือน ตามระยะเวลาการเช่าและนโยบายของแต่ละศูนย์การค้า
ขั้นตอนก่อนจะทำสัญญาเช่า
เมื่อเจ้าของร้านติดต่อขอเช่า ทางศูนย์การค้าบางแห่งจะขอให้จัดทำใบจองพื้นที่ หรือใบแสดงเจตจำนงในการเช่าพื้นที่ เพื่อบอกว่าจะจองพื้นที่ร้านค้านี้แน่นอน โดยมีรายละเอียดทั้งของผู้เช่าและผู้ให้เช่า พื้นที่เช่า เงื่อนไขการเช่า ราคาค่าเช่า และ เงินประกันสัญญา พร้อมวางเงินมัดจำ เพื่อสร้างความมั่นใจทั้ง 2 ฝ่ายว่า พื้นที่เช่านี้จะได้รับสิทธิในการเปิดดำเนินธุรกิจ ในการขายสินค้าหรือบริการในศูนย์การค้าแห่งนี้แน่นอน ก่อนดำเนินการจัดทำสัญญาเช่าและสัญญาบริการ
หลังจากทำสัญญาลงนามกันเรียบร้อย ถึงเวลาในการรับมอบพื้นที่เช่าเพื่อออกแบบ ตกแต่ง ส่งภาพ Perspectives งานโครงสร้าง งานระบบไฟฟ้า งานระบบประปา งานปรับอากาศ งานเฟอร์นิเจอร์ และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่จะเปิดดำเนินการ ทั้งนี้ เมื่อทางร้านค้าในฐานะผู้เช่าจะต้องนำเสนอให้ทางศูนย์การค้า ต้องพิจารณาและหากอนุมัติ ทางร้านค้าจะต้องจัดหาผู้รับเหมา เพื่อดำเนินการตกแต่งตามรายละเอียดที่นำเสนอและได้รับอนุมัติ
สำหรับในช่วงที่ตกแต่งร้านค้า ศูนย์การค้าส่วนใหญ่จะยกเว้นค่าเช่าและค่าบริการ หรือเรียกว่า ปลอดค่าเช่าตามขนาดพื้นที่เช่าและนโยบาย โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 30 – 90 วัน ซึ่งช่วงการตกแต่งร้านจะมีเจ้าหน้าที่ทางศูนย์การค้าเป็นผู้ดูแล ควบคุมให้เป็นไปตามแบบที่ได้รับอนุมัติ พร้อมเตรียมการโปรโมท จัดทำสื่อการตลาดให้แก่ร้านค้า
ข้อควรพิจารณาในการเลือกพื้นที่เช่าศูนย์การค้า
1. ทำเล
ที่นับเป็นหัวใจสำคัญของการเปิดร้าน ทั้งทำเลของศูนย์การค้าเองว่าอยู่ในย่านชุมชนหรือไม่ ติดถนนหรือต้องเข้าซอย รวมถึงทำเลของร้านค้าเองว่า ในผังของห้าง ร้านของเราเป็นจุดอับหรือไม่ มีคนเดินผ่านมากน้อยแค่ไหน
2. ประเภทของลูกค้า
เพราะศูนย์การค้าแต่ละแห่งมีกลุ่มลูกค้าแตกต่างกันออกไป พิจารณากลุ่มลูกค้าของศูนย์การค้าให้ตรงกับความต้องการของเรา ว่ากลุ่มลูกค้าเราเป็นแบบไหน เป็นลูกค้าเกรด A B หรือ C มีกำลังซื้อมากน้อยแค่ไหน
3. เปรียบเทียบคู่แข่งใกล้เคียง
ดูว่าศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้าที่อยู่โดยรอบ ในแต่ละวันสามารถดึงดูดคนได้มากน้อยแค่ไหน
4. จำนวนลูกค้าใช้บริการ
ที่เกิดขึ้น มีลักษณะเป็นอย่างไร ส่วนใหญ่ลูกค้าเยอะช่วงไหน เช้าหรือเย็น? ซึ่งต้องสังเกตทั้งวันธรรมดาและวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ว่ามีคนมากน้อยแค่ไหน
5. ค่าเช่าและเงินประกัน
ต้องพิจารณารายละเอียดต่างๆ ทั้งค่าเช่าว่าเป็นราคาสุทธิหรือยัง?, เงินประกันและเงินล่วงหน้าเป็นระยะเวลากี่เดือน? และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่บางครั้งผู้เช่าก็ไม่ได้นึกถึง เช่น ค่าส่วนกลาง, ค่าที่จอดรถ หรือแม้กระทั่งการขึ้นค่าเช่าของห้างเมื่อหมดสัญญา
6. แผนการส่งเสริมการตลาด
สอบถามแผนงานการจัดกิจกรรมของห้างหรือศูนย์การค้า ว่าตลอดทั้งปีมีการจัดกิจกรรมหรือส่งเสริมการขายอะไรบ้าง เพราะจะเป็นการดึงดูดลูกค้าทั้งใหม่และเก่าให้มาใช้บริการมากขึ้น นั่นก็เท่ากับช่วยเพิ่มกำลังซื้อให้กับลูกค้าได้มากขึ้น
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3AJSzUh
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)