เจาะลึก! อยู่ได้มั้ย เปิดร้านอาหาร ขายผ่าน app อย่างเดียว
ก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดโควิด กระแสของเดลิเวอรี่ก็คาดหมายว่าจะเติบโต แต่เมื่อมีการแพร่ระบาดในช่วงกว่า 2 ปีที่ผ่านมา การขายอาหารผ่านแอพ การขายอาหารแบบเดลิเวอรี่กลายเป็นช่องทางหลักในทันที
ก็มีคำถามที่น่าสนใจว่าหากสถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น การขายอาหารแบบเดลิเวอรี่จะยังคงดีอยู่ไหม และที่พ่อค้าแม่ค้าหน้าใหม่ที่ไม่มีหน้าร้านแต่เน้นขายแบบเดลิเวอรี่อย่างเดียว พวกเค้าเหล่านี้จะมีกำไรได้เหมือนเปิดหน้าร้านแค่ไหน
www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าหลายคนอยากรู้คำตอบเพื่อจะได้มีข้อมูลไว้เป็นแนวทางเผื่อว่าอยากขายอาหารผ่านแอพเดลิเวอรี่บ้าง
กระแส “เดลิเวอรี่” ยังแรง และคาดว่าจะเติบโตมากขึ้น
ขายอาหารผ่านเดลิเวอรี่จะรอดไม่รอด ขั้นแรกต้องไปจับกระแสของเรื่องนี้ก่อน ถ้าดูข้อมูลด้านการตลาดจากสำนักวิจัยต่างๆ จะเห็นไปในทิศทางเดียวกันคือเดลิเวอรี่ยังโตได้อีกมาก
ยกตัวอย่างข้อมูลจากบริษัทวิจัยตลาด “สเตติสตา” ประเมินว่า ปัจจุบัน ตลาดเดลิเวอรี่อาหารผ่านระบบออนไลน์ทั่วโลกมีมูลค่าราว 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์ และมีแนวโน้มจะขยายตัวมากกว่า 11 เปอร์เซ็นต์ ต่อปี ไปจนถึงปี 2566 โดยเฉพาะในเอเชียที่ตลาดดีลิเวอรี่อาหารผ่านออนไลน์เติบโตอย่างเด่นชัด
ประเมินว่าน่าจะมีมูลค่าราว 5.3 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่ระบุว่าทั้งปี 2564 ปริมาณการสั่งอาหารจัดส่งที่บ้านน่าจะมีจำนวนไม่น้อยกว่า 120 ล้านครั้ง หรือเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัวมีมูลค่ารวมสูงถึง 5.31 – 5.58 หมื่นล้านบาท หรือขยายตัวสูงถึงร้อยละ 18.4 – 24.4
เปิดร้านอาหาร ขายผ่าน app อย่างเดียว อยู่ได้มั้ย??
ภาพจาก www.freepik.com/
ตัดกลับมาที่คำถามหลักถ้ามองว่ากระแสเดลิเวอรี่ยังดีและมาแรงขนาดนี้ การเปิดร้านอาหารและขายแบบเดลิเวอรี่อย่างเดียวไม่ต้องมีหน้าร้าน จะอยู่ได้มั้ย?? คำตอบชัดเจนเลยว่า “อยู่ได้”
ลองมาวิเคราะห์ตัวเลขสักเล็กน้อย ในกรณีถ้าขายหน้าร้านปกติ ยกตัวอย่างสินค้าง่ายๆอย่าง “เฟรนฟรายส์” ต้นทุนโดยรวม (ค่าวัตถุดิบ + อุปกรณ์ประกอบอาหาร + ต้นทุนจิปาถะ) ประมาณ 20 บาท หากขายราคา 45 บาท กำไรจากการขายหน้าร้านคือ 25 บาท กำไรคิดเป็นสัดส่วน 55.56% จากราคาขาย
ในกรณีที่จะหันมาขายเฉพาะเดลิเวอรี่อย่างเดียวก็เท่ากับว่าเราต้องมีต้นทุนเพิ่มคือค่า GP ประมาณ 15-35% (ตามเงื่อนไขของแต่ละค่าย) มาคำนวณดูว่า กำไรของร้านจะเหลือเท่าไหร่
ต้นทุนเดิมของเฟรนฟรายส์คือ 20 บาท + ค่า GP เดลิเวอรี่ที่ 30% (ประมาณ 13.5 บาท) จะทำให้มีต้นทุนเพิ่มมาเป็น 33.5 บาท ถ้าขายในราคาเดิมคือ 45 บาท กำไรจะลดลง หรือ 11.5 บาท หรือคิดเป็น 25.56% จากราคาขาย
ภาพจาก www.freepik.com/
หลายคนบอกเห็นตัวเลขแบบนี้เกิดคำถามว่าจะกำไรที่น้อยลงร้านค้าจะอยู่ได้อย่างไร แต่เราต้องไม่ลืมเรื่อง “ยอดขาย” เพราะการขาย “เดลิเวอรี่” มีจุดเด่นคือ การเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น กำไรที่อาจจะลดลง แต่ถ้ามีปริมาณการขายที่เพิ่มมากขึ้น
เช่นขายหน้าร้านปกติกำไร 25 บาท/ชิ้น แต่ 1 วันขายได้ 100 ชิ้น กำไร 2500 บาท แต่ถ้าขายเดลิเวอรี่อย่างเดียวเน้นๆ ไปเลยทำการตลาดอย่างดี โปรโมทอย่างดีอัดแคมเปญเต็มที่ อาจจะขายได้วันละ 300 ชิ้นเพิ่มขึ้นมาเท่าตัว กำไรต่อชิ้นที่มองว่าน้อยก็อาจไม่น้อย คิดตัวเลขกำไรต่อวันจะได้ประมาณ 11.5 x 300 = 3,450 บาท
ภาพจาก www.freepik.com/
เกิดคำถามอีกว่าถ้ายอดขายไม่ได้เยอะเหมือนที่เราคำนวณแบบนี้การขายแต่เดลิเวอรี่อย่างเดียวจะอยู่รอดได้อย่างไร เรื่องนี้ต้องไปดูกลยุทธ์ในการขาย เพราะส่วนใหญ่ราคาขายหน้าร้านกับราคาเดลิเวอรี่ส่วนใหญ่จะแตกต่างกัน ดังนั้นร้านอาหารส่วนใหญ่จะบอกค่าคอมมิชชั่นลงไปในเมนูแล้ว สังเกตได้ว่าราคาจึงค่อนข้างแตกต่าง
เช่น สเต๊ก 1 จาน ราคาหน้าร้าน 50 บาท แต่พอเราเข้าไปสั่งในแอพเดลิเวอรี่ราคาขายอาจเป็น 60-65 บาท เป็นต้น ราคาขายที่เพิ่มขึ้นนี้จึงเอามาถัวเฉลี่ยทำให้ร้านค้าได้กำไรต่อชิ้นเพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องรอให้ยอดขายเพิ่มขึ้นมากๆ ร้านอาหารก็สามารถมีกำไรจากการขายและสามารถอยู่รอดได้เช่นกัน
เทรนด์ “เปิดร้านเดลิเวอรี่” ขยายตัวไปทั่วโลก
ภาพจาก https://box8.in/
ตัวอย่างที่ชัดเจนว่าการขายเดลิเวอรี่อย่างเดียวอยู่รอดได้แน่ ถ้ารู้จักบริหารจัดการ เพราะธุรกิจหลายแห่งทั่วโลกก็กำลังขยายกิจการในรูปแบบเดลิเวอรี่ โดยเว็บไซต์นิกเกอิ เอเชียน รีวิว ระบุว่า ร้านอาหารแบบไม่มีหน้าร้านเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในจีน อินเดีย และญี่ปุ่น เพราะเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนต่ำ มีทุนน้อยก็ทำได้ แถมไม่เสี่ยงเจ๊งเหมือนการมีหน้าร้านให้นั่งกิน และไม่ต้องปวดหัวกับปัญหาขาดแคลนคนงานอีกด้วย
ยกตัวอย่างบริษัท อูเบอร์ อีตส์ (Uber Eats) จับมือกับเชนคาเฟ่อินเดีย “คาเฟ่ คอฟฟี่ เดย์” เพื่อให้บริการเครือข่ายร้านอาหารเฉพาะดีลิเวอรี่ หรือ BOX8 ร้านอาหารไร้หน้าร้านชื่อดังในอินเดียได้เปิดให้บริการในเมืองใหญ่ๆ ทั้งมุมไบ ปูเน่ และบังกาลอร์ นอกจากนี้ ยังมีแบรนด์ Curry Me Up และ Kadhai House สนใจตลาดนี้เช่นกัน
หรือในญี่ปุ่นบริษัทสตาร์ตอัพ “เซนโตเอน” ก็เริ่มให้บริการครัวร่วมใช้ “Kitchen Base” โดยครัวที่มี 4 ห้อง จะรองรับร้านอาหารเสิร์ฟเฉพาะ เดลิเวอรี่ได้ 8 ราย แบ่งเป็นตอนกลางวัน 4 ราย และตอนกลางคืนอีก 4 ราย โดยคิดค่าธรรมเนียมราว 100,000-150,000 เยน ต่อเดือน เป็นต้น
5 เทคนิคสำคัญเปิดขายเดลิเวอรี่อย่างเดียวก็อยู่รอดได้
1.เลือกทำเฉพาะเมนูที่เหมาะกับเดลิเวอรี่
หากจะขายเดลิเวอรี่ไม่มีหน้าร้านก็ต้องเลือกเมนูที่เหมาะสมเพราะไม่ใช่ทุกเมนูที่จะขายเดลิเวอรี่ได้ควรจะเลือกเมนูที่สามารถขนส่งได้ โดยที่รสชาติและคุณภาพของอาหารไม่เสียไป พร้อมเลือกแพคเกจจิ้งที่เหมาะสมกับเมนูนั้น ๆ เพื่อให้เมื่อไปถึงมือลูกค้าในสภาพที่ดีทั้งรสชาติและภาพลักษณ์ ทำให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจ
2.รู้จักการคำนวณต้นทุนก่อนขาย
ต้นทุนค่าคอมมิชชั่นคือตัวแปรสำคัญมาก บางรายอาจสูงถึง 35% ถ้าเราเลือกเมนูที่มีกำไรน้อยอยู่แล้วมาทำเดลิเวอรี พอโดยหัก GP ก็จะทำให้กำไรหดหายไปได้ หรือกลายเป็นขาดทุนทันที ดังนั้นจึงต้องคำนวนต้นทุนของแต่ละเมนูให้ดี แล้วค่อยมาเลือก ว่าเมนูไหนคุ้มค่าที่จะทำเดลิเวอรี ขายแล้วยังมีกำไรอยู่
3.จัดเซตเมนูเดลิเวอรี่
บางทีการขายแบบชิ้นเดียว จานเดียว อาจทำให้มีปัญหาเรื่องกำไร วิธีการหนึ่งคือการจัดเซตสินค้าที่ร้านค้าได้กำไรเพิ่ม ลูกค้าก็ประทับใจเพิ่มขึ้น หรือการเพิ่มไซด์เมนูให้ใหญ่ขึ้น ราคาเพิ่มขึ้น การใช้ไอเดียเล่นกับเมนูนอกจากทำให้ร้านค้าได้กำไรเพิ่มขึ้น ลูกค้ายังรู้สึกว่าร้านของเรามีอะไรใหม่ๆ ให้น่าลองเสมอๆด้วย
4.รุกตลาดออนไลน์
ภาพจาก www.freepik.com
ขายเดลิเวอรี่อย่างเดียวไม่มีหน้าร้านสิ่งสำคัญคือการรุกตลาดออนไลน์เพื่อให้คนได้เห็นร้านของเรามากขึ้น ทั้ง Facebook, Instagram, Twitter หรือ LINE OA เราต้องหมั่นสร้างคอนเทนต์ที่น่าสนใจ และทำโปรโมชันบ้าง เพื่อดึงดูดลูกค้าให้ลองสั่งอาหารของร้านเราให้มากขึ้น
5.รักษามาตรฐานของร้านสำคัญมาก
จะขายดีแค่ไหน คุณภาพของบริหาร อาหารเราต้องเหมือนเดิม ดังนั้นเรื่องระบบรับออร์เดอร์จึงต้องบริหารจัดการให้ดีเพื่อไม่ให้ลูกค้าต้องหัวเสียคอยสินค้าเรานานเกินไป โดยปัจจุบันแต่ละค่ายเดลิเวอรี่ก็พยายามเข้ามาสนับสนุนในเรื่องการรับออร์เดอร์ของร้านค้าเพื่อให้รักษามาตรฐานได้ดีที่สุด
การขายแบบเดลิเวอรี่ไม่มีหน้าร้านเราเชื่ออย่างยิ่งว่าอยู่ได้แน่ เพราะปัจจุบันมีร้านค้าในลักษณะนี้จำนวนมาก และสร้างยยอดขายได้ดีกว่าการมีหน้าร้านที่บางคนบอกว่าประหยัดเรื่องต้นทุนค่าเช่าพื้นที่ ไม่ต้องจ้างคนงานมาก บางคนมีรายได้จากการขายอาหารเดลิเวอรี่อย่างเดียวเดือนละหลายหมื่นบาท แต่คนที่อยากทำธุรกิจแนวนี้ต้องศึกษาแนวทางให้ชัดเจน วางระบบบริหารจัดการให้ดี ที่สำคัญต้องตั้งใจทำจริงค่อยๆ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วผลลัพธ์ที่ได้ก็จะเป็นไปตามที่เราต้องการ
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3BL7P2j
อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)