เจาะลึก 13 แบรนด์ร้านอาหารในเครือซีพี
เครือซีพี นอกจากจะมีร้านกาแฟสดมากถึง 9 แบรนด์แล้ว ยังมีแบรนด์ร้านอาหารภายใต้การบริหารของบริษัทในเครือมากถึง 13 แบรนด์เช่นเดียวกัน อยากรู้หรือไม่ว่ามีแบรนด์ไหนบ้าง วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้ทราบ
1. เชสเตอร์
ภาพจาก bit.ly/3ar9Fep
ร้านอาหารเชสเตอร์ เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2531 เมื่อเครือเจริญโภคภัณฑ์ กลุ่มบริษัทซึ่งเป็นผู้นำในธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรครบวงจรของไทย และผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจผลิตอาหารมาตรฐานระดับโลก ได้ก่อตั้ง บริษัท เชสเตอร์ฟู้ด จำกัด ขึ้นด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ อาหารที่มีคุณภาพแก่ผู้บริโภค
เชสเตอร์ จึงถือกำเนิดขึ้นในฐานะธุรกิจร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด ระดับสากลของคนไทยรายแรก ที่มีคุณภาพและมาตรฐานเทียบเท่ากิจการฟาสต์ฟู้ดชั้นนำจากต่างประเทศ ตลอดระยะเวลากว่า 33 ปี
ปัจจุบันเชสเตอร์ถือเป็นแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดดำเนินธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ เป็นแบรนด์ร้านฟาสต์ฟู้ดที่ฮอตฮิตติดตลาดและมีการขยายสาขาไปทั่วประเทศมากกว่า 200 สาขา เหมาะสำหรับนักลงทุนที่อยากทำเป็นธุรกิจที่พร้อมเติบโตอย่างมั่นคง ด้วยประสิทธิภาพของทีมงานที่มีความเป็นมืออาชีพ การส่งเสริมการตลาดที่โดดเด่น รวมไปถึงการพัฒนาเมนูใหม่ๆ เอาใจลูกค้าอย่างต่อเนื่อง สิ่งเหล่านี้คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เชสเตอร์กลายเป็นแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดขวัญใจคนไทยมานานแสนนาน
สนใจร่วมธุรกิจแฟรนไชส์ ร้านเชสเตอร์ ติดต่อสอบถามรายละเอียดที่
คุณกัณฑพัชร์ เชิดเพ็ชรัตน์ (ผู้จัดการสำนักพัฒนาธุรกิจ)
โทร. 02-641-0377
คุณพิมพ์นารา บุญราช (ผู้จัดการฝ่ายแฟรนไชส์สัมพันธ์)
โทร. 02-641-0461
หรือดูรายละเอียด https://bit.ly/2ZsnNxO
2. ร้านเป็ดย่าง เจ้าสัว
ภาพจาก facebook.com/Pedyangjaosua
แฟรนไชส์เป็ดย่างจากฮ่องกง ได้รับความนิยมติดอันดับต้นๆ มาโดยตลอด ด้วยอัตรากำลังการเติบโตที่สูง ประกอบกับราคาที่จับต้องง่าย และ เคล็ดลับสูตรต้นตำรับอันเป็นเอกลักษณ์ ตอบโจทย์สำหรับผู้ต้องการมองหาธุรกิจ ร้านอาหารแนวคิดแบบไม่ซ้ำใคร
ลงทุนน้อย คืนทุนไว กำไรดี ต้นทุนไม่สูง งบไม่บานปลาย อุปกรณ์ครบ ได้มาตรฐาน ไม่ต้องคิดค้นสูตรเอง มีทีมพัฒนาสินค้าสนับสนุน มีทีมงานทำการตลาด ประชาสัมพันธ์ให้ ปัจจุบันมีกว่า 40 สาขาทั่วประเทศ
3. ห้าดาว
ภาพจาก facebook.com/Fivestarbusiness
หนึ่งในแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดที่โดดเด่นมาตลอด คือ ธุรกิจห้าดาว ของบริษัท ซีพีเอฟเรสเทอรองท์ แอนด์ ฟู้ดเชน จำกัด เพราะแบรนด์มีประสบการณ์การดำเนินกิจการในไทยมานานกว่า 30 ปี และมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องกว่า 6,000 สาขา ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ และยังไปต่อกว่า 1,600 สาขาในต่างประเทศทั้งประเทศเวียดนาม อินเดีย ลาว และกัมพูชา
เหตุผลหลักที่แฟรนไชส์ห้าดาวได้รับความสนใจเพราะราคาไม่สูง ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นเพียงแค่หลักหมื่น ใช้พื้นที่ขนาดเล็กกะทัดรัด ขายได้ทุกที่ ทุกทำเลทั่วภูมิภาค มีวัตถุดิบและอุปกรณ์มาตรฐานจากโรงงานโดยตรง พร้อมทั้งมีทีมงานทำการตลาด คอยดูแลให้ตลอดอายุสัญญาแฟรนไชส์
ปัจจุบัน “ธุรกิจห้าดาว” ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น จากกลุ่มผู้ที่อยากมีอาชีพ อยากมีรายได้ และต้องการมีธุรกิจของตัวเอง ด้วยภาพลักษณ์ที่ได้ปรับเปลี่ยนให้ดูทันสมัยขึ้น เพื่อการเป็นแบรนด์สากล เริ่มจากการ เปลี่ยนชื่อแบรนด์ จาก “5 ดาว” มาเป็นภาษาอังกฤษ “Five Star” เพื่อเชื่อมโยงไปถึงธุรกิจที่ได้ขยายสู่ต่างประเทศ ครอบคลุมทุกความต้องการของผู้บริโภค
รูปแบบร้านธุรกิจห้าดาวมักจะเป็นร้านค้าในรูปแบบของคีออส (Premium Kiosk) และแบบชุดเคาน์เตอร์ (Counter Shop) ซึ่งปัจจุบันก็ได้มีการปรับเปลี่ยนหน้าตาของซุ้มให้ทันสมัยขึ้น เพื่อดึงดูดลูกค้าในทุกระดับ และจากการที่ธุรกิจห้าดาว ได้ก้าวสู่การเป็นธุรกิจระดับสากล การสร้างทางเลือกให้ผู้ประกอบการที่ต้องการภาพลักษณ์ และอยู่ในเทรนด์ด้วย ปัจจุบันจึงมีการพัฒนาร้านในรูปแบบร้านอาหาร (Five Star Restaurant) เปิดร้านคู่กับร้านกาแฟ Star Coffee
สนใจลงทุนแฟรนไชส์ธุรกิจห้าดาว ติดต่อฝ่ายพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์
โทรศัพท์ 02-8008000
หรือดูรายละเอียด https://bit.ly/3qxs2UL
4. กระทะเหล็ก
ภาพจาก facebook.com/ironpanofficial
“ร้านกระทะเหล็ก” แฟรนไชส์อาหารตามสั่งน้องใหม่ในเครือ “ธุรกิจห้าดาว” ของบริษัท ซีพีเอฟเรสเทอรองท์ แอนด์ ฟู้ดเชน จำกัด ซึ่งเป็นผู้นำด้านธุรกิจอาหารของประเทศไทย
แฟรนไชส์ “ร้านกระทะเหล็ก” ในเครือของธุรกิจห้าดาวนั้น เป็นแฟรนไชส์ร้านอาหารตามสั่งแนวสตรีทฟู้ดที่ได้รับการตอบรับจากนักลงทุนไทยอย่างรวดเร็วเพียงระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี มีแล้วกว่า 2 สาขา ได้แก่ ตึก A C.P Tower 3 BTS พญาไท และ สาขาห้างเซ็นเตอร์วัน อนุสาวรีย์ชัยฯ โด Concept ของร้านเป็นรูปแบบนั่งรับประทาน สั่งซื้อกลับบ้าน และเดลิเวอรี่
ความน่าสนใจลงทุนแฟรนไชส์อาหารตามสั่ง “ร้านกระทะเหล็ก” คือ เป็นร้านแบบ Restaurant ใช้งบลงทุนเริ่มต้นที่ 500,000 บาท (40 ตารางเมตร) คืนทุนเร็ว โดย 2 สาขาแฟรนไชส์ที่เปิดไปแล้ว สามารถคืนทุนเร็วไม่ถึง 1 ปี
5. HARBOUR
ภาพจาก facebook.com/CPHiLaiHarbour
ภัตตาคารบุฟเฟ่ต์ “Harbour Restaurant” (ไห่หลาย ฮาร์เบอร์) เปิดสาขาแรกไปแล้วที่ไอคอนสยาม ด้วยงบลงทุน 130 ล้านบาท เป็นร้านขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่ถึง 2,000 ตารางเมตร รองรับลูกค้า 1,000 ที่นั่งต่อวัน หรือ 450 ที่นั่งต่อรอบ เปิดทุกวัน ในวันจันทร์ – ศุกร์ 2 รอบ เป็นบุฟเฟ่ต์ภัตตาคารที่มีราคาขายในมื้อกลางวัน 799 บาท มื้อเย็น 899 บาท และวันเสาร์-อาทิตย์เปิดทั้งวัน 1,099 บาท
ปีแรกของการทำธุรกิจ ซีพีเอฟมีการตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 240 ล้านบาท พร้อมกับเตรียมขยายสู่หัวเมืองใหญ่หลายแห่งในไทย เช่น พัทยา ภูเก็ต ที่เป็นเมืองท่องเที่ยว โดยเป้าหมายการเปิด “ฮาร์เบอร์” ในไทย ต้องการขยายให้ได้ 5 สาขาภายใน 5 ปี เงื่อนไขของการพิจารณาเลือกโลเกชั่นเพื่อลงทุนเปิดสาขา จะต้องมีความหนาแน่นของประชากรในละแวกสาขาตั้งอยู่ ต้องมีอย่างน้อย 1 ล้านคน และต้องมีขนาดพื้นที่ใหญ่เพียงพอที่จะรองรับการเปิดร้านขนาด 2,000 ตารางเมตร
6. Dak Galbi
ภาพจาก bit.ly/3s1owlK
อีกหนึ่งธุรกิจร้านอาหารในเครือซีพีเอฟ หลังจากบริษัท ซีพีเอฟ เรสเทอรองท์ แอนด์ ฟู้ดเชน จำกัด (CPF RF) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของเครือซีพี ได้ลงนามสัญญาจองซื้อหุ้นและร่วมลงทุนในหุ้นของบริษัท ดัคกาลบี้ กรุ๊ป จำกัด (Dak Galbi) ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในไทยที่ประกอบธุรกิจร้านอาหารเกาหลีแบบผัดร้อน (Real Time Cooking)
โดย CPF RF จะเข้าถือหุ้นในสัดส่วน 60% โดย Dak Galbi ประกอบธุรกิจร้านอาหารเกาหลีแบบผัดร้อน (Real Time Cooking) โดยจะทำการผัดและปรุงอาหารต่อหน้าลูกค้า ปัจจุบันมีสาขาในไทยทั้งสิ้น 10 สาขา
7. Wok Station
ภาพจาก facebook.com/wokstation.th
Wok Station เป็นร้านอาหารแนวสตรีทฟู้ดภายใต้การดำเนินงานของกลุ่มร้านอาหาร Dak Galbi โดยบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ชูแนวคิดในการสนับสนุนผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (Start Up) ในด้านร้านอาหาร มุ่งสานฝันและให้โอกาสคนรุ่นใหม่ได้เติบโตร่วมกับบริษัท โดยประเดิมหนุนกลุ่ม Dak Galbi สร้างสรรค์ร้านอาหารแบรนด์ใหม่ “Wok Station” เอเชี่ยนสตรีทฟู้ด เสริฟทั้งความอร่อยและความสนุกผ่านเทคโนโลยีบริหารร้านแบบจัดเต็ม
ดัคกาลบี้กรุ๊ป ได้เริ่มขยายเชนร้านอาหารใหม่ WOK Station” ในสไตล์ Asian Street Food แล้วถึง 3 สาขา โดยมีสาขาต้นแบบหรือ Flagship Store ที่ 101 ทรู ดิจิทัลพาร์ค ถนนสุขุมวิท101 ร้าน WOK Station มีรูปแบบการให้บริการปรุงอาหารสดตามความต้องการของลูกค้า ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภครุ่นใหม่ที่ต้องการอาหารอร่อยถูกปาก สะอาด ถูกอนามัย มีความสนุกสนานในการสั่งอาหาร ให้เลือกได้ทั้งแบบตามใจสั่ง และสั่งตามสูตร
8. Food World
ภาพจาก bit.ly/3doA2U4
เป็นศูนย์อาหารที่มีความหลากหลาย ทั้งที่เป็นร้านอาหารของกลุ่มบริษัทเอง และร้านอาหารจากภายนอก ปัจจุบันศูนย์อาหาร ซีพี ฟู้ดเวิลด์ ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลการจัดเลี้ยงเต็มรูปแบบ โดยแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ บริการอาหารจัดเลี้ยง มีทั้ง Meal Box และ Snack Box รวมถึงการจัดเลี้ยงแบบครบวงจร และบริการอาหารสำหรับผู้ป่วย โดยมีแผนกโภชนาการ ภายใต้การกำกับดูแลของเซฟมืออาชีพ และมีมาตรฐานสากลระดับโลก อย่าง JCI และ HACCP
ขณะเดียวกัน แตกไลน์ธุรกิจศูนย์อาหาร “ซีพีฟู้ดเวิลด์” เพื่อเป็นหน้าร้านสร้างแบรนด์ใหม่ๆ เช่น ร้านข้าวไข่เจียว “จ.การเจียว” ร้านข้าวขาหมู “โปยก่ายตือคา” ร้านราดหน้ามหาชน ร้านอาหารไทย “ต้มยำทำแกง” ร้านก๋วยเตี๋ยวอร่อยเลิศ และร้านข้าวมันไก่เฟซดุ๊ก ปัจจุบันซีพีฟู้ดเวิลด์มีสาขารวม 11 แห่ง ได้แก่ สาขาโรงพยาบาลศิริราช อาคารปิยมหาราชการุณย์ สาขาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ศูนย์อาหารทวีวงศ์ทวัลยศักดิ์ สาขาสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ อาคาร CP All Academy สาขามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต สาขาศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ สาขาศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์ สาขาโรงพยาบาลรามาธิบดีฯ สาขาคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารบรมนาถศรีนครินทร์ สาขาโรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา สาขาโรงพยาบาลบีเอ็นเอช และสาขาปิยชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
9. ราเมน ฮาบุ
ภาพจาก facebook.com/ramenhabu
ร้านราเมนฮาบุ เป็นร้านอาหารในโครงการพัฒนาผู้นำตามวิสัยทัศน์ของคุณธนินท์ เจียรวนนท์ โดยรวมสุดยอด 6 น้ำซุปรสชาติต้นตำรับจากเมืองต่างๆ ของประเทศญี่ปุ่น อาทิ ซุปกระดูกหมูเข้มข้นทงคตสึ ซุปเกลือชิโอะ ซุปโชยุ ซุปมิโสะ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีข้าวหมูคาคุนิ แกงกะหรี่หน้าต่างๆ และอาหารทานเล่นอีกมากมาย ปัจจุบันมีทั้งหมด 3 สาขา ได้แก่ สาขา G tower, สาขาแมคโครสาทร และสาขาล่าสุด คือ ชั้น 1 ศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์
10. ก.ไก่อร่อย
ภาพจาก bit.ly/3s8vbL9
หลายคนอาจไม่รู้จักร้านนี้ และเปิดสาขาแรกตอนไหน จะมีแต่ข้อมูลล่าสุดจากเพจของร้านเอง ที่เพิ่งจะเปิดสาขาที่ 6 ในปั๊ม ปตท. ศรีวารีสแควร์ เมื่อช่วงต้นเดือนเมษายน
ที่น่าสนใจคือโมเดลแฟรนไชส์ร้านนี้จะแตกต่างจากร้าน “5 ดาว” และ “ร้านเป็ดย่าง เจ้าสัว” เพราะร้านจะไม่มีขนาดเล็กๆ หรือที่เรียกว่า คีออส แต่จะเป็นร้านที่มีขนาดพื้นที่เริ่มต้น 30-40 ตารางเมตร มีพื้นที่รองรับให้ลูกค้านั่งรับประทาน เมนูอาหารจะเน้นที่มีวัตถุดิบไก่เป็นหลักทั้งแบบทอดและย่าง อีกทั้งแต่ละเมนูมีความใกล้เคียงกับร้านอาหาร QSR
11. CP Kitchen
ภาพจาก facebook.com/cpkitchenbrand
ร้านอาหารในเครือซีพี อาหารจานเดียว เสิร์ฟเร็ว ช่วงเช้ามีเมนูพิเศษ เช่น ข้าวต้ม ข้าวมันไก่ ส่วนใครชอบเกี๊ยวกุ้งซีพี ก็ต้องมาลองที่นี่ เป็นรูปแบบอาหารจานด่วนเมนูง่ายๆ อย่าง ปอเปี๊ยะทอด, เกี๊ยวต้มยำ, กะเพราหมูคุโรบุตะ เป็นต้น และหากสังเกตเมนูร้านนี้จะเป็นการนำอาหาร RTE และ อาหารปรุงสุกของ CPF มาดัดแปลงเติมแต่งรสชาติพร้อมเสิร์ฟให้ลูกค้า
12. ตะหลิว
ภาพจาก facebook.com/TALIEWTH
ตะหลิว แบรนด์ร้านอาหารตามสั่งจากเชสเตอร์ของซีพี วางจุดยืนเหมือนกับแบรนด์อื่นๆ เน้นที่เมนูอาหารตามสั่ง เมนูอาหารไทยยอดนิยมอย่างข้าวผัดกะเพรา ผัดมาม่า ต้มยำ และเมนูเส้น มีราคาเริ่มต้นที่ 60 บาท
โดยเชสเตอร์ได้นำร่องเปิดร้านตะหลิวแบบเงียบๆ ในช่วงเดือนมิถุนายน 2563 เลือกโลเคชั่นเป็นฟู้ดคอร์ทระดับพรีเมียม ได้แก่ อาคาร CP Tower 2 และโรงพยาบาลศิริราช และล่าสุดได้เปิดสาขาใหม่ที่อิมพีเรียล สำโรง เป็นโมเดลแบบร้านมีที่นั่ง
13. ครัวพี่เสือ
ภาพจาก bit.ly/3qvU2Ij
ครัวพี่เสือ เป็นแบรนด์ร้านอาหารน้องใหม่ในเครือธุรกิจห้าดาว เมนูอาหารจะออกแนวไก่ทอด อาหารจานเดียว ทำเลที่ตั้งจะอยู่ตามน้ำมันเอสโซ่ โดยที่ผ่านมานำร่องเปิดที่สถานีบริการน้ำมันเอสโซ่เอกชัย-บางบอน โดย CPF วางเป้าหมาย “ครัวพี่เสือ” ขยายสาขารูปแบบแฟรนไชส์ หากได้รับความนิยมในอนาคต
ทั้งหมดเป็น 13 แบรนด์ร้านอาหารในเครือซีพี ที่หลายๆ คนอาจไม่รู้จักมาก่อน โดเป้าหมายของเครือซีพีต้องการที่แย่งพื้นที่ในสมรภูมิการแข่งขันในธุรกิจร้านอาหารเมืองไทยปี 2564 ที่คาดการณ์ว่าจะเติบโตมากกว่า 4 แสนล้านบาท
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
อ้างอิงข้อมูล https://bit.ly/3aG6lfN