เจาะตลาดค้าปลีกปี 2568! พุ่งหาลูกค้าด้วย “STP Marketing”
จากการประเมินธุรกิจค้าปลีกในปี 2568 คาดว่าจะมีอัตราเติบโตที่ 3-5% ถ้าแยกประเภทจะพบว่า
- ร้านค้าปลีกประเภทแฟชั่น-ไลฟ์สไตล์ , ภัตตาคาร ร้านอาหารและเครื่องดื่ม อาจเติบโตประมาณ 3-7%
- ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ตกแต่ง มีอัตราเติบโตประมาณ 2-5%
- ร้านสะดวกซื้อ, ซูเปอร์มาร์เก็ต, ไฮเปอร์มาร์เก็ต และร้านค้าส่งสินค้าอุปโภคบริโภค จะเติบโตประมาณ 1-3%
คำถามคือในภาวะที่เศรษฐกิจมีการแข่งขันกันสูงมาก ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ก็มีรอบด้าน ไม่ว่าจะต้นทุนที่เพิ่ม กำลังซื้อที่หดหาย ทิศทางการทำตลาดค้าปลีกในปี 2568 ต้องเน้นแบบไหน เพื่อให้ธุรกิจอยุ่รอด
แน่นอนว่ากลยุทธ์การตลาดคือสิ่งที่ต้องนำมาใช้อย่างถูกต้อง และที่เหมาะสมมากที่สุดในปี 2568 คือ “STP Marketing” ที่ใช้การรวบรวมข้อมูลแล้วนำข้อมูลที่ได้ไปเพื่อหากลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง
โดยมี 3 กระบวนการคือ Segmentation, Targeting และ Positioning ซึ่งการตลาดในรูปแบบนี้ เป็นการเจาะจงกลุ่มเป้าหมายของสินค้าหรือแบรนด์อย่างชัดเจน ทำให้นักการตลาด เจ้าของตราสินค้าสามารถสื่อสารตรงถึงกลุ่มเป้า หมายได้ถูกต้องและถูกจุด
ยกตัวอย่างง่ายๆที่เห็นภาพของการใช้ STP Marketing คือ 7 – Eleven ที่มีการ Repositioning ตัวเองใหม่ โดยปรับเปลี่ยนจากแค่การเป็นร้านคอนวีเนียน ฟู้ด สโตร์ มาสู่การเป็น “ออลล์ คอนวีเนียน” ที่ตอบโจทย์ความสะดวกสบายทุกรูปแบบของการใช้ชีวิตของลูกค้า
หรือการพัฒนาธุรกิจของโลตัส ที่ใช้ STP Marketing สร้างโมเดลการตลาดแบบ Hyper Hybrid รวมห้างค้าปลีกค้าส่งไว้ในที่เดียวมีการคัดสรรสินค้าอุปโภคบริโภคมากมาย โดยเฉพาะสินค้า Slap Pricing หรือ ซื้อเยอะ ราคาขายส่ง เพื่อผู้ประกอบการและลูกค้าได้เลือก เป็นต้น
ถึงแม้ว่า STP Marketing จะไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่ และกลยุทธ์ที่ว่านี้ก็มีการนำมาใช้นานแล้ว แต่ก็ขึ้นอยู่กับไอเดียของนักการตลาดในแต่ละแบรนด์เองว่าจะผนวกใช้ STP Marketing อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เหมือนที่ครั้งหนึ่ง Steve Jobs เคยกล่าวไว้ว่า “ไม่ต้องถามลูกค้าว่าต้องการอะไร เพราะว่าลูกค้าก็ไม่รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร ถ้าเราไปถามเราก็ได้ข้อมูลเดิมๆ สินค้ามันก็วนอยู่กับเรื่องเดิมๆ”
สิ่งที่เราต้องทำคือการหาคุณค่าใหม่ๆ ที่ลูกค้าไม่เคยเจอ ไม่เคยเห็นมาก่อน อาจจะไม่ตรงกับความต้องการของคนที่เคยใช้สินค้าแบบเดิมๆ เช่นบรรดาศูนย์การค้าต่างๆ จากในอดีตที่เป็นศูนย์รวมของร้านค้าและบริการ เพื่อผลักดันให้ตัวเองก้าวขึ้นไปเป็นเดสทิเนชั่นของการช้อปปิ้ง
ในปัจจุบันต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นไลฟ์สไตล์ มิกซ์ ที่เลือกวางร้านค้าหรือบริการ โดยดูความต้องการและรสนิยมของลูกค้าว่ามีออกมาอย่างไร แม้ลูกค้าจะเป็นกลุ่มเดียวกัน แต่รสนิยมอาจจะแตกต่างกันออกไป แม้แต่ร้านกาแฟก็เช่นกันที่หากหวังจะอยู่รอด จะต้องแตกเซ็กเม้นต์แยกย่อยไปตามรสนิยมของลูกค้า มากกว่าที่การมีแค่ร้านเดียวแล้วสามารถตอบโจทย์ได้ครบทุกกลุ่ม
ทั้งนี้ธุรกิจค้าปลีกในปี 2568 ควรให้ความสำคัญกับ Data Base ของลูกค้า แล้วนำมาวิเคราะห์ศึกษาพฤติกรรมลูกค้า โดยจะเริ่ม Segment ลูกค้าออกมาเป็นกลุ่มๆ และนำเสนอคุณค่าเพิ่มที่แตกต่างกันไปตาม Segment ของลูกค้า จะทำให้การโฟกัสกลุ่มเป้าหมายเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น
และต้องไม่ลืมว่าปัจจุบันกระแสโซเชี่ยลมาแรงมาก สินค้าที่ต้องการอาจไม่ใช่แค่เพราะว่าจำเป็น แต่ต้องเป็นสินค้าที่ตอบโจทย์ในด้านคุณค่าต่อความรู้สึกด้วย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)