เจาะตลาด “เครื่องดื่มชาแนวใหม่” มาแรงในจีน มูลค่ากว่า 1 ล้านล้านบาท สร้างโอกาสผู้ประกอบการไทย
รู้หรือไม่ว่า เครื่องดื่มที่กำลังฮิตติดลมบนในประเทศจีนอยู่ในขณะนี้ ก็คือ “เครื่องดื่มชาแนวใหม่” หรือ New-style tea ยุค 3.0 มีส่วนผสมระหว่างชา+ชีส และ ชา+ผลไม้สด พัฒนาต่อมาจากสมัยชานมไข่มุก
เครื่องดื่มชาแนวใหม่ มีจุดเด่นตรงที่ใช้วัตถุดิบคุณภาพสดใหม่ ตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคชาวจีนที่มีค่านิยมการบริโภคแนวใหม่ สอดคล้องกับยุคที่ผู้บริโภคชาวจีนหันมาใส่ในเรื่องสุขภาพมากขึ้น ประกอบกับกระแสโซเชียลมีเดียได้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยในจีน ยิ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้เครื่องดื่มชาแนวใหม่ได้รับความนิยมในตอนนี้
สมาคมธุรกิจแฟรนไชส์จีน คาดการณ์ว่า สิ้นปี 2566 ตลาดเครื่องดื่มชาแนวใหม่ในจีนจะมีมูลค่า 149,800 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 44.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และในปี 2568 จะมีมูลค่าสูงถึง 201,500 ล้านหยวน หรือราวๆ 1 ล้านล้านบาท
จากสถิติช่วงกลางปี 2566 พบว่าในจีนแผ่นดินใหญ่มีร้านเครื่องดื่มชาแนวใหม่กว่า 515,000 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบร้านแฟรนไชส์ ในปี 2565 มีการเติบโตสูงถึง 55.2% ถ้าเป็นพื้นที่ชุมชนเมืองใหญ่ หรือพื้นที่ธุรกิจสำคัญ ร้านแฟรนไชส์เครื่องดื่มชาแนวใหม่จะมีการเติบโคสูงถึง 80% และแนวโน้มยังคงเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
ตลาดเครื่องดื่มชาแนวใหม่ในจีน จะได้รับความนิยมและกำลังฮิตในหมู่กลุ่มวัยรุ่น และวัยทำงาน โดย “หนานหนิง” เป็นเมืองเอกของกว่างซี ติด 1 ใน 10 ของเมืองที่มีร้านเครื่องชาแนวใหม่มากที่สุดของจีน ในปี 2565 พบว่ามีการเติบโตเพิ่มขึ้น 8.64% ข้อมูลบนแพลตฟอร์ม Meituan ระบุง่า คนหนานหนิงทุก 5 คน มี 1 คนชอบดื่มชานม โดยประชากรกว่า 1.94 ล้านคน ชอบซื้อชานม คิดเป็น 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมดกว่า 8.89 ล้านคน
ภาพจาก www.facebook.com/nayukisg
แนวโน้มของธุรกิจเครื่องดื่มชาแนวใหม่ในจีนจะพัฒนาและขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์มากขึ้น รวมถึงในหนานหนิง ปัจจุบันมีแบรนด์แฟรนไชส์เครื่องดื่มชาแนวใหม่เข้าไปเปิดตลาดในหนานหนิงแล้ว อาทิ Hey Tea, Nayuki, Ah Ma, Hand Make, Tea Expert, Chictea, Liulijing, Baozhugong, Chadaofo, Qiancha
เคล็ดลับเจาะตลาดจีน โอกาสทองผู้ประกอบการไทย
ภาพจาก www.facebook.com/NaixueThailand
- สร้างแบรนด์ให้แตกต่าง สร้างสรรค์เมนูแปลกใหม่ เช่น เบเกอรี่ ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟ ผลไม้แปลกใหม่ เหมือนแบรนด์ Naixue ชูเมนูชามะขามป้อม หรือแบรนด์ Ah Ma Hand Make จากกว่างซี ใช้สินค้าโอท็อปเป็นวัตถุดิบในเครื่องดื่ม เช่น นมควาย ชามะลิ เผือกกวน ข้าวเหนียว (โมจินม)
- สร้างแบรนด์ด้วยเรื่องราว ยกตัวอย่างแบรนด์ Ah Ma Hand Make บอกเล่าเรื่องราวความทรงจำสมัยเด็กเป็นจุดขาย เพื่อให้ลูกค้ากลุ่มวัยรุ่นคล้อยตามความรู้สึก สร้างความผูกพันกับแบรนด์
- ใช้กลยุทธ์ Co-Branding เช่น แบรนด์ Hey Tea จับมือกับแบรนด์แฟชั่น FENDI ผุดแคมเปญการตลาดระยะสั้นๆ กับเมนูน้ำผลไม้ปั่นแนวทรอปิคอลราคาเริ่มต้น 19 หยวน แถมมีโปรโมชั่นซื้อ 2 แก้ว แถมของที่ระลึก FENDI สร้างกระแสได้อย่างมาก ทำยอดขายได้ถึง 1.5 ล้านแก้วใน 3 วันแรก
- ตกแต่ง ดีไซน์ร้านสะดุดตา สไตล์คาเฟ่ เมนูเครื่องดื่มแปลกใหม่ มีเอกลักษณ์ โดดเด่น เป็นตัวตนของแบรนด์
- ขยายช่องทางการขายออนไลน์ เดลิเวอรี่ รวมถึงขายคูปองส่วนลดบนแพลตฟอร์ม Live-streaming ้เช่น Taobao Live/ Kuaishou และ TikTok
- บริการหลังการขายรวดเร็ว มีทีมงานที่มีประสิทธิภาพ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
- อย่าแตะประวัติศาสตร์และการเมือง ยกตัวอย่างแบรนด์ไต้หวัน Yifang แสดงจุดยืนของไต้หวัน ท้าทายชาตินิยมจีน สุดท้ายถูกแบนจากผู้บริโภคชาวจีน
แม้ว่าเทรนด์เครื่องดื่มชาแนวใหม่อาจจะเป็นธุรกิจกระแส แต่ถ้าผู้ประกอบการให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพวัตถุดิบ รสชาติ การบริการ ราคาเข้าถึงได้ มีช่วงจำหน่ายหลากหลาย ตลอดจนการพัฒนา “สูตร” เฉพาะของตัวเอง หรือร่วมมือกับพันธมิตรท้องถิ่น อาจประสบความสำเร็จในตลาดจีนได้ไม่ยาก
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
ข้อมูล
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consulta