เจาะตลาด “ Gen C ” กลุ่มผู้บริโภคใหญ่สุดในปี 2025

เราคุ้นหูกันมาหลาย Gen ตั้งแต่ Baby Boomers , Gen X , Gen Y , Gen Z , Gen Alpha จนล่าสุดมาถึง Gen Beta (เริ่มตั้งแต่ ปี 2025 – 2039) ข้อสังเกตคือ Gen จะใช้ช่วงอายุในการจำแนกคนออกเป็นกลุ่มๆ และที่ผ่านมาการตลาดของแต่ละแบรนด์จะเน้นเจาะกลุ่ม Gen ที่เป็นฐานลูกค้าตัวเอง โดยใช้กลยุทธ์ด้านการตลาดที่เหมาะสม ซึ่งความต้องการของคนแต่ละ Gen ก็แตกต่างกันด้วย

แต่ในปี 2025 นี้การตลาดต้องคิดใหม่ ทำใหม่ เพราะการแยกประเภทลูกค้ายุคใหม่ไม่ได้โฟกัสเฉพาะเรื่อง Demographic เช่น เพศ, อายุ อีกต่อไป แต่จะมองที่ “ไลฟ์สไตล์” ซึ่งปัจจุบันผู้บริโภคมีไลฟ์สไตล์หลากหลาย ซับซ้อน และมีความเป็นปัจเจกสูง หนึ่งในผู้บริโภคเซ็กเมนต์ใหม่ ที่เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของสังคมโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วยก็คือ “Gen C” ผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นหลัก มีอิทธิพลต่อการกำหนดเทรนด์ และมีอำนาจการซื้อสูง

เจาะตลาด Gen C

คำจำกัดความของผู้บริโภค “Gen C” คือ ผู้บริโภคที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร เป็นกลุ่มคนที่ให้ความสำคัญกับการบริหารการเงินและการลงทุน รักความสะดวกสบาย สนใจสิ่งที่มีไลฟ์สไตล์เฉพาะตัว ชอบจัดการทุกอย่างด้วยตัวเอง

รู้จักสร้างสมดุลของการใช้ชีวิตระหว่างเรื่องงาน และเรื่องส่วนตัว ทั้งยังชอบติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลัก จึงเป็นคนที่ทันสมัยเท่าทันเหตุการณ์ และอัพเดตเทรนด์ใหม่อยู่เสมอ อาจแบ่งคน Gen C นี้ได้อีก 3 กลุ่มคือ

– Baby Gen C อยู่ในช่วงวัยรุ่น ตั้งแต่มหาวิทยาลัย ถึงช่วงเริ่มทำงานใหม่ ข้อสังเกตคือกลุ่มนี้ยังมีกำลังซื้อตามการตัดสินใจของผู้ปกครอง ดังนั้น หากแบรนด์ทำให้ผู้บริโภคกลุ่มนี้สามารถโน้มน้าวผู้ปกครองได้ การขายค้าและบริการให้กับคนกลุ่มนี้ก็ไม่ยาก

– Bachelor Gen C อยู่ในช่วงวัยทำงานระดับพนักงาน จนถึงผู้บริหารระดับกลาง เป็นกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อ ประกอบกับทุกวันนี้หลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยเข้าสู่ “สังคมคนโสด” มากขึ้น ผู้บริโภคกลุ่มนี้ โฟกัสที่ตัวเองอย่างเต็มที่ พร้อมที่จะซื้อสินค้า และทุ่มเงินให้กับความสะดวกสบายของตัวเอง

– Marriage Gen C ช่วงวัยที่มีครอบครัว และมองหาความมั่นคง กลุ่มนี้จะมองที่ครอบครัวเป็นหลัก ดังนั้นการขายสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภคกลุ่มนี้ต้องมองทั้งครอบครัวด้วย

เจาะตลาด Gen C

ส่วนคำถามว่า “Gen C” ที่ว่านี้มีจำนวนมากแค่ไหน เนื่องจากไม่ได้เป็นการอ้างอิงจากปีเกิดเหมือน Gen อื่นๆที่ผ่านมาคนที่อยู่ใน Gen X , Gen Y , Gen Z , Gen Alpha ก็สามารถเป็น Gen C ได้ แต่ถ้าจะให้โฟกัสที่ตัวเลขจริงๆ ต้องไปดูข้อมูลของ Gen ต่างๆมาประกอบ อ้างอิงจากต้นปี 2567 ที่ผ่านมา โดย

  • Gen X มีจำนวน 6,091,150 คน
  • Gen Y มีจำนวน 15,144,468 คน
  • Gen Z มีจำนวน 7,670,354 คน

และถ้านับรวมกับ Gen Alpha และ Gen Beta ก็จะเป็นตัวเลขภาพรวมที่ชัดเจน ซึ่งการเป็น Gen C คือยุคที่ทุกคนอยากเป็นเด็กแนว แต่เป็นเด็กแนวที่มีสมองและไม่ยอมให้ใครมาหลอกขายสินค้าหรือบริการแบบ Hardsale อีกต่อไป

เจาะตลาด Gen C

ถ้าดูข้อมูลเชิงลึกไปอีกจะพบว่า Gen C มีตัวเลขที่สัมพันธ์กับการใช้โซเชี่ยลค่อนข้างมาก

  • 42% เข้าถึงข้อมูลผ่านเว็บไซต์โซเชียลมีเดียและใช้แท็บเล็ตขณะดูทีวี
  • 64% ใช้เวลาไปกับแอพพลิเคชั่นต่างๆ บนสมาร์ทโฟน
  • 90% ของผู้บริโภค Gen C สร้างเนื้อหาบนโลกออนไลน์อย่างน้อยเดือนละครั้ง

การแบ่งปันชีวิตกับโลกดิจิทัลผ่านเครือข่ายโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Twitter และ Instagram ความคิดสร้างสรรค์และกรอบความคิดดิจิทัลคือสิ่งที่ทำให้คน Gen C แตกต่างจาก Gen อื่นๆ

สิ่งเหล่านี้คือข้อมูลสำหรับคนทำธุรกิจที่ต้องศึกษาและสร้างกลยุทธ์ด้านการตลาดที่ เจาะตลาด Gen C ได้อย่างเหมาะสม โดยกลุ่ม Gen C ถูกมองว่าเป็นทองคำในยุคการตลาดดิจิทัล แต่การทำการตลาดกับคน Gen C ต้องมีดีกว่าแค่การโฆษณาทั่วไป ต้องเป็นการโฆษณาแบบ Gen C โดยเฉพาะถึงจะมีโอกาสเพิ่มยอดขายได้จริง

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด