เจาะกลยุทธ์! Brand Key 9 ขั้นตอน สำเร็จตั้งแต่ยังไม่เริ่ม

มีหลายคนสงสัยว่าทำธุรกิจเหมือนกันแต่ทำไม บางคนทำสำเร็จ! บางคนไม่สำเร็จ? ความแตกต่างคืออะไร? เงินทุน หรือประสบการณ์

ผลการสำรวจชี้ชัดลงไปอีกว่าผู้ที่ทำธุรกิจขนาดย่อมแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

  1. กลุ่มที่สามารถทำกำไร ซึ่งมีประมาณ 40% ของเหล่า SMEs ทั่วประเทศ
  2. กลุ่มที่มีผลประกอบการระดับปานกลาง ซึ่งมีประมาณ 30% ของเหล่า SMEs ทั่วประเทศ
  3. กลุ่มที่มีผลกระกอบการขาดทุน ซึ่งมีประมาณ 30% ของเหล่า SMEs ทั่วประเทศ เช่นกัน

ถ้าเจาะลึกไปอีกจะพบว่า มีธุรกิจขนาดย่อมที่ปิดตัวลงหลังจากเปิดกิจการภายใน 5 ปีแรกถึง 95% และยังมีอีกกว่า 50% ที่ปิดกิจการภายในระยะเวลาเพียงแค่ 1 ปี ทั้งๆ ที่นักธุรกิจเหล่านี้ไม่ใช่คนที่ไม่ขยัน ไม่สู้ชีวิต ไม่อดทน เพียงแต่แค่ทำในสิ่งที่ยังไม่ถูกต้องเพียงเท่านั้น

ในทางทฤษฏีมีโมเดลสู่ความสำเร็จให้ศึกษาเยอะมาก ยกตัวอย่างเช่น ทฤษฏี “7S” , ทฤษฎีการบริหารจัดการ POCCC , ทฤษฎีของแมคเคลแลนด์ , แนวคิดแบบสามเหลี่ยมอัจฉริยะ เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าทุกทฤษฏีมีเป้าหมายที่ให้ผู้ปฏิบัติตามเดินหน้าสู่ความสำเร็จ แต่เนื่องจากปัจจัยและตัวแปรในการทำธุรกิจของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน การจะให้ประสบความสำเร็จเหมือนกันจึงเป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยาก

หนึ่งในโมเดลสู่ความสำเร็จที่น่าสนใจและคิดว่าคนทำธุรกิจน่าจะเอามาปรับใช้ได้คือวิธีที่เรียกว่า คือ Brand Key Framework และถ้าจะให้อธิบายความหมายของคำนี้แบบง่ายๆ ก็คือ เครื่องมือที่ช่วยในการสร้างแบรนด์ และหาตัวตนที่แท้จริงของแบรนด์ โดยมีหัวใจหลักของกลยุทธ์นี้ 9 ข้อได้แก่

1.ประวัติศาสตร์ (ความแข็งแกร่งของแบรนด์)

Brand Key

หลายแบรนด์ที่มี Brand’s History ส่วนใหญ่จะกลายเป็นแบรนด์ดัง ยกตัวอย่าง กางเกงยีนรุ่น Levi’s 501 เป็นจุดเริ่มต้นของกางเกงขุดเหมือง ก่อนจะกลายเป็นกางเกงยีนแฟชั่นตัวแรกของโลก ที่ทำให้แบรนด์ Levi’s กลายเป็นแบรนด์ในตำนาน ได้รับความไว้วางใจจากใครหลาย ๆ คนหรือ Apple ที่ในช่วงเวลาหนึ่ง คือ เป็นผู้บุกเบิกการเปลี่ยนพฤติกรรมของคนทั่วโลก จากการใช้โทรศัพท์มือถือแบบปุ่มกด สู่การใช้สมาร์ตโฟนหน้าจอสัมผัส อย่างแพร่หลาย เป็นต้น

2.สภาพแวดล้อมการแข่งขัน (Competitive Environment)

Brand Key

คือ การพิจารณาคู่แข่งที่ทำธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกัน เช่น ถ้าเราขายสินค้าเกี่ยวกับชานมไข่มุก ก็ควรศึกษาคู่แข่งที่ทำแบรนด์ใกล้เคียงกัน รวมถึงคู่แข่งทางอ้อมอื่น ๆ ด้วย เช่น น้ำอัดลม, น้ำผลไม้ และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เป้าหมายของการศึกษาคู่แข่งเพื่อสร้างจุดที่แตกต่างเพื่อให้แบรนด์มีเอกลักษณ์มากขึ้น

3.กลุ่มเป้าหมาย (Target)

Brand Key

เราต้องรู้ว่าสินค้าเราต้องขายให้ใคร จากนั้นศึกษาถึงรายละเอียดเชิงลึกในกลุ่มลูกค้าเช่น พฤติกรรม, เป้าหมาย, ปัญหา หรือเส้นทางการเป็นลูกค้า เพื่อนำมาวิเคราะห์และสร้างสินค้าที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด

4.ข้อมูลเชิงลึก (Insight)

Brand Key

ข้อมูลเชิงลึก สามารถหาได้จากหลากหลายวิธี เช่น การหาแนวโน้มเทรนด์ของตลาด,การสัมภาษณ์ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายแบบเจาะลึก, การใช้แบบสอบถาม หรือการใช้ Social Media เป็นต้น

5.ข้อดี / ประโยชน์ (Benefits)

Brand Key

ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมักมีคุณค่าในตัวเอง และสามารถเชื่อมโยงให้กับกลุ่มลูกค้าได้ แบรนด์ดังส่วนใหญ่มักมีกิจกรรมเพื่อสังคม หรือการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างภาพจำให้คนรู้จักแบรนด์ได้มากขึ้นด้วย

6.ค่านิยม, ความเชื่อ และบุคลิกภาพ (Values, Beliefs & Personality)

Brand Key

ทั้ง3 สิ่งนี้ จะเป็นตัวกำหนดรูปลักษณ์และความรู้สึกที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์เช่น Starbucks ที่ให้ความสำคัญกับการบริการลูกค้า ชุมชน และสิ่งแวดล้อมทำให้ลูกค้ามีความรู้สึกว่าแบรนด์ Starbucks มีความเข้าถึงได้ง่าย

7.เหตุผลที่น่าเชื่อถือ (Reason to Believe)

Brand Key

คือ สิ่งที่มาสนับสนุนความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ สินค้า หรือบริการซึ่งอาจจะเป็นการได้รับการรับรองจากหน่วยงานราชการ หรือองค์กรที่น่าเชื่อถือ, มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หรือรีวิวการใช้งานจริงจากลูกค้าเก่าก็ได้ หากเราสังเกตกดีๆ สินค้าหลาย แบรนด์ จะมีการนำผลการทดสอบหรือรีวิวความพึงพอใจของลูกค้า มาใช้ในการโฆษณากันเป็นจำนวนมาก

8.คุณลักษณะที่แตกต่าง (Discriminator)

คือ ความแตกต่างระหว่างแบรนด์ของเรากับคู่แข่งถ้ายิ่งสร้างความแตกต่างได้ดี และสื่อออกไปให้ลูกค้ารับรู้ ก็จะสามารถทำให้ลูกค้าหันมาใช้สินค้าของแบรนด์เราที่มีความโดดเด่นกว่าได้เช่นกัน

9.แก่นแท้และ ใจความสำคัญของแบรนด์ (Brand Essence)

Brand Key

เป็นสิ่งที่แบรนด์ต้องยืนหยัดในทางการค้าและการตลาด ซึ่งหมายถึงพันธกิจหรือคำมั่นสัญญาที่แบรนด์มีต่อลูกค้า เช่น Nike มีพันธกิจของแบรนด์ คือ การส่งมอบแรงบันดาลใจ และนวัตกรรมให้กับนักกีฬาทั่วโลก เป็นต้น

สิ่งเหล่านี้คือ Brand Key Framework ที่เป็นรากฐานสู่ความสำเร็จของแบรนด์ ซึ่งในฐานะผู้ลงทุนอาจต้องค่อยๆสร้างสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้น สำคัญที่สุดคือการบริหารจัดการ , การวางแผนธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งยุคนี้คู่แข่งเยอะ ปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจก็มาก การทำธุรกิจยิ่งต้องมีความรัดกุมเพื่อโอกาสในการอยู่รอดต่อไป 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด