เงินก็น้อย งานก็หายาก ปี 2565 ควรทำอะไรดี
ก้าวสู่ปี 2565 แต่ปัญหาระดับประเทศที่เราต้องเจอในตอนนี้การแพร่ระบาดของโควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอนที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อพุ่งสูงต่อเนื่อง ไหนจะปัญหาเรื่องค่าครองชีพ ของแพง รายได้เท่าเดิม กลายเป็นเคราะห์ซ้ำกรรมซัด ยิ่งทำให้เรารู้สึกว่าต้องประหยัดมากขึ้น การจะเลือกลงทุนอะไรก็ต้องคิดว่าคุ้มค่ามากที่สุด
www.ThaiSMEsCenter.com เข้าใจความต้องการของส่วนใหญ่ที่ต้องการหาอะไรก็ได้ที่จะทำแล้วมีรายได้ไม่ต้องลงทุนมาก ลองมาดูสิ่งที่เราได้รวบรวมมาน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นให้คนส่วนใหญ่ในปี 2565 นี้ได้
ภาระรายได้กับรายจ่ายของคนไทยในปี 2565 เป็นอย่างไร
จากข้อมูลพบว่าในปี 2564 คนไทยมีหนี้สินเฉลี่ย เฉลี่ย 6.8 แสนบาท โดย 16% มีหนี้สินเพิ่มขึ้นหลังการแพร่ระบาดของโควิดและในปี 2565 ก็เชื่อว่าตัวเลขหนี้สินนี้จะเพิ่มสูงขึ้นอีก หากคำนวณย่อยลงไปอีกจะพบว่าภาระหนี้ที่ต้องจ่ายแต่ละเดือนมีสัดส่วน 42.8% คิดง่ายๆ ว่าถ้ามีเงิน 100 บาท ต้องจ่ายหนี้ 42.8 บาท เหลือเงินใช้และเงินออม 57.2 บาทเท่านั้นและหากมีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท การใช้จ่ายไม่ให้เกิน 50% ของรายได้ เท่ากับสามารถรองรับค่าอาหาร ค่าเดินทางด้วยรถสาธารณะ และค่าเช่าบ้านหลักพันต้นๆ ซึ่งเหมาะสำหรับใช้ชีวิตคนเดียวได้เท่านั้น
ส่วนตัวเลขในภาคแรงงานก็น่าสนใจไม่แพ้กันพบว่าตัวเลขแรงงานในระบบประกันสังคมจำนวน 11.07 ล้านคน ลดลงจากก่อนที่โควิดระบาดซึ่งมีจำนวนแรงงานในระบบ 11.54 ล้านคน แรงงานในส่วนนี้ลดลงกว่า 4.63 แสนคนหรือลดลงประมาณ 4.01%
เงินก็น้อย งานก็หายาก ปี 2565 ควรทำอะไรดี
เมื่อปัญหาใหญ่ของเราคือเงินทุนไม่มี งานหายาก ก็ต้องมาแก้ปัญหาไปทีละประเด็น และถ้ามีการวางแผนเรื่องนี้ไว้ล่วงหน้าการแก้ปัญหาก็จะทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งสิ่งที่เราคิดว่าควรทำในปี 2565 นี้ได้แก่
1.หางานที่ตรงกับความต้องการของตลาด
ภาพจาก www.freepik.com
แม้งานจะหายากแต่ก็ใช่ว่าจะหาไม่ได้เลย การเลือกเรียนให้ตรงกับสายงานที่มีความต้องการคือสิ่งสำคัญที่ควรวางแผนไว้แต่เนิ่นๆ งานที่ตลาดมีความต้องการส่วนใหญ่ยังมีน้อย เพราะงานเหล่านี้อาจต้องใช้ทักษะและความสามารถเป็นพิเศษ แต่หากเราได้ทำในตำแหน่งเหล่านี้เงินเดือนดีและมีโอกาสก้าวหน้าได้มาก เช่น นักการตลาดดิจิทัล , ที่ปรึกษาด้านการเงินและบัญชี, โปรแกรมเมอร์ , คอมพิวเตอร์กราฟฟิค , วิศวกรคอมพิวเตอร์ , วิศวกรก่อสร้างและไฟฟ้า , แพทย์และพยาบาล , เป็นต้น
2.เปิดร้านธุรกิจยาและอาหารเสริม
ภาพจาก www.freepik.com
นับแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาและต่อเนื่องมาถึงในปีนี้ ธุรกิจยาและอาหารเสริมคือเทรนด์ลงทุมาแรงที่น่าสนใจอย่างมาก เพราะคนส่วนใหญ่หันมาสนใจเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น รวมถึงยาและเวชภัณฑ์ต่างๆ ก็มีปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้นมาก อย่างไรก็ดีการลงทุนในธุรกิจนี้จำเป็นต้องได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้อง มีการใช้เงินลงทุนที่ค่อนข้างสูง แต่เชื่อได้ว่าจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว
3.ขายของออนไลน์
ภาพจาก www.freepik.com
คนที่มีทุนน้อย ตกงานหรือไม่มีงานทำวิธีที่หารายได้ง่ายที่สุดคือการขายของออนไลน์ซึ่งก็มีตัวอย่างของหลายคนที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งแนวโน้มของตลาดอีคอมเมิร์ซ มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มูลค่าการตลาดเติบโตแบบก้าวกระโดดและคาดว่าในปี 2565 ก็ยังโตมากขึ้น แต่ก็ใช่ว่าทุกคนที่จะประสบความสำเร็จได้ ที่สำคัญอย่าลืมว่าต้องเจอคู่แข่งจำนวนมาก ดังนั้นเรื่องของไอเดียการตลาด การหาจุดเด่น จุดขายของตัวเองจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
4.อาชีพไรเดอร์
ภาพจาก www.freepik.com
ธุรกิจเดลิเวอรี่เติบโตสูงมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา อาชีพไรเดอร์กลายเป็นอาชีพที่น่าสนใจเพราะใช้เงินลงทุนน้อย มีมอเตอร์ไซด์คันเดียวก็สามารถสมัครตามแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ซึ่งปัจจุบันเราจะเห็นไรเดอร์เพิ่มมากขึ้น โดยรายได้ของไรเดอร์ถือว่าน่าสนใจ แต่คนที่สนใจทำอาชีพนี้ก็ต้องรู้จักเทคนิคในการหารายได้ และต้องมีความชำนาญในการขับขี่ยานพาหนะ รวมถึงต้องมีใจรักในงานบริการด้วย
5.ธุรกิจขายประกัน
ภาพจาก www.freepik.com
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาคนไทยต้องเผชิญการแพร่ระบาดโควิด 19 เรื่องของสุขภาพเป็นสิ่งที่หลายคนให้ความสนใจ ธุรกิจขายประกันจึงเติบโตอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากแผนประกันต่าง ๆที่ออกมาตอบโจทย์กับความต้องการของลูกค้า ซึ่งตัวแทนขายประกันได้รับอานิสงฆ์นี้แต่การขายประกันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายอีกเช่นกัน เพราะเราต้องทำให้ลูกค้าเชื่อใจ ไว้ใจ และเชื่อมั่นในประกันที่จะซื้อ สำหรับนักขายที่มีประสบการณ์สามารถทำยอดขายได้ดีและมีรายได้ที่น่าสนใจมาก
6.อาชีพอิสระ
ภาพจาก www.freepik.com
การก้าวเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบทำให้หลายคนเลือกทำอาชีพอิสระ เพราะใช้เงินทุนน้อย และไม่ต้องอยู่ในกรอบธรรมเนียม แต่อาชีพอิสระก็ใช่จะสำเร็จกันได้ง่าย ต้องอาศัยทักษะ ความขยัน ตั้งใจทำจริง และต้องมีไอเดียในการหารายได้ ซึ่งปัจจุบันอาชีพอิสระมีให้เลือกหลายรูปแบบเช่น blogger , reviewer , youtuber , แอดมินแพจ , ฟรีแลนด์ ต่างๆ เป็นต้น
7.เลือกลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์
สำหรับคนที่มีเงินทุนน้อย และไม่รู้จะเริ่มต้นอาชีพแบบไหนอย่างไร เส้นทางลัดที่ดีที่สุดคือเลือกลงทุนแฟรนไชส์ที่มีข้อดีคือไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ มีแพคเกจลงทุนให้เลือกหลายแบบ มีราคาให้เลือกตามความเหมาะสม มีทีมงานมืออาชีพคอยให้คำปรึกษา มีอุปกรณ์ในการเปิดร้านพร้อมวัตถุดิบ คนสนใจสามารถเลือกแฟรนไชส์ที่ปัจจุบันมีจำนวนมาก โดยอาจเริ่มจากเงินลงทุนน้อยๆ และเมื่อขายดีค่อยขยายกิจการให้เติบโตมากขึ้นได้
ซึ่งแนวทางเหล่านี้อาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เราได้รวบรวมมา บางอย่างก็ยังต้องใช้เงินทุนอยู่บ้าง แต่โดยภาพรวมแล้วไม่ว่าจะคิดทำอะไรก็ตาม ต้องพยายามหาจุดเด่น หาความแตกต่าง เพิ่มกลยุทธ์ด้านการตลาดเข้าไปให้มากขึ้น เพราะยุคนี้คู่แข่งมีมาก เราต้องเข้าหาลูกค้ามากกว่ารอให้ลูกค้ามาหาเรา เหนือสิ่งอื่นใดต้องพยายามตามกระแสเทคโนโลยีให้ทัน รู้จักพลิกแพลงในการเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส แม้จะมีเงินทุนน้อยก็อาจจะกลายเป็นเศรษฐีในปี 2565 นี้ได้
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3eWjPVQ , https://bit.ly/31yHkBn , https://bit.ly/32OaJYZ , https://bit.ly/3HCqWio
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3tlZcJy
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)