เงินกู้หมุนเวียน ตัวช่วยสำหรับธุรกิจ SME ที่มีเงินทุนหมุนเวียนน้อย

สำหรับเจ้าของธุรกิจ SME รายย่อย หรือเจ้าของธุรกิจเปิดใหม่หลายราย รู้หรือไม่ว่าบางครั้ง การที่ธุรกิจใหม่ๆ “เจ๊ง” อาจไม่ได้เกิดจากการขาดทุนเพราะขายไม่ได้เพียงอย่างเดียว บางครั้งต่อให้สินค้าขายดี หรือได้รับการตอบรับดี ก็อาจเสี่ยงเจ๊งได้เช่นเดียวกัน ซึ่งความเสี่ยงที่ว่านี้ อาจเกิดจากการที่ธุรกิจของคุณไม่มีเงินทุนหมุนเวียนที่เพียงพอ และเจ้าของธุรกิจอาจไม่เคยทำความรู้จักกับเงินกู้หมุนเวียนที่เป็นตัวช่วยสำคัญสำหรับธุรกิจโดยเฉพาะ

เงินทุนหมุนเวียน คืออะไร?

เงินกู้หมุนเวียน

เงินทุนหมุนเวียน หมายถึง “เงินทุนสำรองระยะสั้น” ที่ธุรกิจจำเป็นจะต้องมีเพื่อนำเอาไว้ใช้ในการดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับธุรกิจ ให้ธุรกิจราบรื่นในทุกๆ วัน หากธุรกิจมีเงินทุนหมุนเวียนเยอะ หมายความว่าธุรกิจนั้นมีสภาพคล่องทางการเงินสูง เป็นธุรกิจที่มีสินทรัพย์เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ไว และเป็นธุรกิจที่สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ตามกำหนด แต่หากธุรกิจมีเงินทุนหมุนเวียนน้อย

นั่นหมายความว่าธุรกิจเริ่มมีความเสี่ยง หากขาดสภาพคล่องทางการเงิน จะทำให้ธุรกิจไม่สามารถหมุนเงินเอามาจ่ายหนี้ได้ทัน ซึ่งปัญหาเงินทุนหมุนเวียนน้อย จะเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยกับธุรกิจ SME รายย่อย หรือธุรกิจที่เพิ่งเปิดมาได้ไม่นานนั่นเอง

ในการทำธุรกิจ ควรมีเงินทุนหมุนเวียนเท่าไหร่?

เนื่องจากเงินทุนหมุนเวียน มีความสำคัญอย่างมากในการทำธุรกิจ หากมีน้อยเกินไปก็อาจทำให้ธุรกิจขาดสภาพคล่องทางการเงิน แต่หากมีมากจนเกินไป ก็อาจทำให้ธุรกิจไม่เติบโตเท่าที่ควร ดังนั้นเงินทุนหมุนเวียนที่พอดี สามารถที่จะพิจารณาได้จากสิ่งเหล่านี้

  • พิจารณาจากประเภทของธุรกิจ เช่น หากเป็นธุรกิจที่มีลักษณะซื้อวัตถุดิบเพื่อนำมาผลิต ผู้ประกอบการอาจจะต้องมีเงินทุนหมุนเวียนที่มากเสียหน่อย เนื่องจากธุรกิจที่ต้องการการผลิตของมาเพื่อขายนั้น จะใช้เวลานานมากกว่าธุรกิจประเภทซื้อมาขายไป
  • พิจารณาจากรายจ่ายประจำวันว่า ในแต่ละวันธุรกิจของคุณมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ต้องจ่ายออกไป
  • พิจารณาจากรายจ่ายพิเศษ เช่น ช่วง High Season เจ้าของธุรกิจอาจต้องมีการสำรองเงินไว้มากกว่าปกติ

เงินกู้หมุนเวียน มีความสำคัญอย่างไร?

เงินกู้หมุนเวียน

ในกรณีที่ธุรกิจของคุณ เป็นธุรกิจที่ไม่ได้มีเงินทุนหมุนเวียนสูง เงินกู้หมุนเวียน จะเป็นสิ่งที่เข้ามามีบทบาทกับธุรกิจของคุณมากยิ่งขึ้น โดยเงินกู้หมุนเวียนที่ว่า หมายถึง เงินกู้ ที่ผู้ประกอบการกู้มาเพื่อใช้ในการทำธุรกิจ อาจจะเป็นการกู้เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน หรือเป็นการกู้เพื่อนำเอามาต่อยอด ให้ธุรกิจเติบโตขึ้นก็ได้เช่นเดียวกัน และที่สำคัญในการกู้เงินหมุนเวียนเพื่อธุรกิจนี้

ทุกธุรกิจสามารถที่จะทำการกู้ได้ ไม่จำกัดว่าจะต้องเฉพาะธุรกิจใด ธุรกิจหนึ่ง หรือจำกัดเฉพาะธุรกิจเปิดใหม่ ที่มีเงินทุนไม่สูงเท่านั้น ซึ่งเงินกู้เพื่อธุรกิจนี้ มีให้เลือกกู้หลายรูปแบบ หลายประเภท แต่ละแบบอาจมีเงื่อนไข และอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันออกไป แต่หากให้แนะนำเงินกู้ สำหรับนำไปหมุนเวียนธุรกิจ ในกรณีที่ธุรกิจไม่ได้เสี่ยงขาดทุนจากการที่สินค้าขายไม่ได้ เราอยากแนะนำ สินเชื่อหมุนเวียนธุรกิจ (แฟคเตอริ่ง) จะเหมาะมากที่สุด

ทำไมถึงเลือกแนะนำ เงินกู้หมุนเวียน แฟคเตอริ่ง?

อย่างที่ได้มีการกล่าวไปในตอนต้นแล้วว่า ธุรกิจที่ปิดตัวลงนั้น อาจไม่ได้มาจากสาเหตุที่สินค้าขายไม่ได้เพียงอย่างเดียว แต่อาจมาจากการที่ธุรกิจไม่มีเงินหมุนเวียนที่เพียงพอ และหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้หลายธุรกิจไม่มีเงินหมุนเวียนเพียงพอ คือ การติดปัญหาในเรื่องของ Credit Term ที่ทำให้ธุรกิจได้รับเงินช้า ซึ่งเป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบให้ธุรกิจหมุนเงินไม่ทัน

ดังนั้น เงินกู้หมุนเวียน แฟคเตอริ่ง หรือ สินเชื่อหมุนเวียนธุรกิจ แฟคเตอริ่ง (Factoring) ที่เป็นบริการรับซื้อลูกหนี้ทางการค้า สินเชื่อระยะสั้นที่ให้เจ้าของธุรกิจ สามารถเปลี่ยนบิลหรือเอกสารทางการค้าให้กลายเป็นเงินสดแทน โดยที่ไม่ต้องรอระยะเวลาชำระหนี้ หรือ Credit Term ทำให้เจ้าของธุรกิจสามารถที่จะนำเงินที่ได้ ไปใช้ดำเนินการธุรกิจหรือขยายธุรกิจต่อได้ทันที โดยที่ไม่ต้องรอเก็บเงินคู่ค้าทางธุรกิจด้วยตนเอง

สรุปบทความ

ก็จบลงไปแล้วสำหรับบทความที่จะช่วยให้ เจ้าของธุรกิจ SME รายย่อย และเจ้าของธุรกิจเปิดใหม่ เข้าใจเกี่ยวกับเงินทุนหมุนเวียนที่มีความสำคัญในธุรกิจ และเข้าใจถึงตัวช่วยดีๆ อย่าง เงินกู้หมุนเวียน ที่จะเข้ามาแก้ปัญหาเกี่ยวกับสภาพคล่องทางการเงิน สำหรับธุรกิจที่มีเงินทุนหมุนเวียนน้อย หรือธุรกิจที่ต้องการเติบโตมากยิ่งขึ้น

หากธุรกิจของคุณกำลังประสบปัญหาเรื่องเงินทุนหมุนเวียนอยู่ เงินกู้เพื่อธุรกิจถือเป็นตัวช่วยดีๆ ที่จะทำให้ธุรกิจของคุณสามารถที่จะก้าวผ่านช่วงวิกฤตเหล่านี้ไปได้

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต