เกือบไม่ได้เป็น “หัวม้าลาย” อาณาจักรเครื่องครัวสแตนเลส 1.3 พันล้านบาท
หากพูดถึงเครื่องครัวสแตนเลสในเมืองไทย หนึ่งในชื่อที่หลายคนนึกถึงแรกๆ คือ หัวม้าลาย ครองส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่งราวๆ 50% จากมูลค่ากว่า 50,000 ล้านบาท มีจุดเริ่มต้นจากเศษสแตนเลสเหลือใช้ผลิต “ช้อนจีน” ก่อนขยายอาณาจักรสู่สินค้าเครื่องครัวที่มีกำไรกว่า 164 ล้านบาท แต่รู้หรือไม่เริ่มแรกเกือบไม่ได้เป็น “หัวม้าลาย” สินค้าที่ครองใจครัวเรือนไทยในวันนี้
จุดเริ่มต้น “หัวม้าลาย”
ภาพจาก https://www.zebra-head.com/
ตราหัวม้าลาย มีจุดเริ่มต้นจากเศษสแตนเลส โดยคุณเสถียร ยังวาณิช เมื่อปี 2509 ในตอนนั้นเขารับจ้างผลิตชุดครัวสแตนเลสให้กับโรงแรมและสายการบินต่างๆ ภายใต้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ชุมศิลป์อุตสาหกรรม เขาใช้เศษสแตนเลสที่เหลือจากการรับจ้างผลิตชุดครัวนำมาใช้ผลิตเป็น “ช้อนสแตนเลส” หรือ ช้อนจีน “ตราหัวม้าลาย” วางขายในตลาดเมื่อปี 2511
สำหรับชื่อ “หัวม้าลาย” เกิดขึ้นจากคุณเสถียรต้องการให้ลูกค้าจดจำได้ง่าย เพราะสมัยก่อนคนอ่านหนังสือไม่ค่อยออก สินค้าส่วนใหญ่มักจะใช้สัญลักษณ์สัตว์เป็นโลโก้ ไม่ว่าจะเป็น ช้าง เสือ สิงโต แต่บังเอิญว่าตอนไปจดทะเบียนตราสินค้า พวกสัตว์อื่นๆ ถูกจดทะเบียนไปหมดแล้ว ทำให้เหลือแต่หัวม้าลายพอดี คุณเสถียรจึงใช้หัวม้าลายเป็นโลโก้ตั้งแต่นั้นมา
ภาพจาก https://www.zebra-head.com/
จากนั้นบริษัทฯ ได้พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอย่างต่อเนื่องจนกลายมาเป็น บริษัท เสถียรสแตนเลสสตีล จำกัด (มหาชน) ในปี 2539 มีสินค้าวางจำหน่ายกว่า 2,200 รายการ มีโรงงานตั้งอยู่ที่นิคมพัฒนา จ.ระยอง ปัจจุบันบริหารโดยทายาทรุ่น 2
หัวม้าลายครองส่วนแบ่งตลาดราวๆ 50-55% จากมูลค่า 4 พันล้านบาท มีคู่แข่งหลักๆ ในตลาดเดียวกัน เช่น ตรานกนางนวล หรือซีกัล (บริษัท ไทยสเตนเลสสตีล จำกัด) ตราจากัวร์ (บริษัท จากัวร์อินดัสตรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด)
ภาพจาก https://www.zebra-head.com/
สินค้าเครื่องครัวตราม้าลายมีหลากหลาย อาทิ หม้อต้ม กระทะ ทัพพี กระบวย ตะหลิว ที่ลับมีด หม้อกรอง ช้อน ส้อม ขาม ถ้วย จาน ถาด โถ ปิ่นโต กล่องข้าว หม้อหิ้ว ขัน กาน้ำ กาต้มน้ำ คูลเลอร์ กะละมัง เหยือก ฯลฯ
หัวม้าลาย ยังแตกไลน์ผลิตภัณฑ์เครื่องครัวในเครือภายใต้แบรนด์ ESTIO เป็นสินค้าเกรดพรีเมียม และ พระอาทิตย์ ราคาย่อมเยา เพื่อครอบคลุมกลุ่มลูกค้าหลากหลาบ ทั้งโรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหาร ครัวเรือน
ภาพจาก https://www.zebra-head.com/
แต่หัวม้าลายยังคงมีสัดส่วนการจำหน่ายมากสุด 90% ในบรรดา 3 แบรนด์ในเครือ สำหรับในต่างประเทศส่งออกประมาณ 30% อาทิ สิงคโปร์ พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย บังคลาเทศ อินโดนีเซีย ฮ่องกง รวมถึงอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง รวมกว่า 30 ประเทศทั่วโลก
ช่องทางการจำหน่ายเครื่องครัวหัวม้าลายมีหลากหลาย ทั้งยี่ปั๊ว ห้างสรรพสินค้า ออกบูธตามสถานที่ต่างๆ รวมถึงการสร้างร้านโมเดล Zebra Shop เปิดสาขาแรกที่จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันมีมากกว่า 56 สาขาทั่วประเทศ
รายได้ “หัวม้าลาย” เทียบกับ คู่แข่ง
ภาพจาก facebook.com/Zebrathailandclub
จากการตรวจสอบงบกำไรขาดทุน บริษัท เสถียรสเตนเลสสตีล จำกัด (มหาชน) เจ้าของผลิตภัณฑ์เครื่องครัวตราหัวม้าลาย จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า
- ปี 63 รายได้ 1,349 ล้านบาท กำไร 107 ล้านบาท
- ปี 64 รายได้ 1,394 ล้านบาท กำไร 162 ล้านบาท
- ปี 65 รายได้ 1,369 ล้านบาท กำไร 164 ล้านบาท
ภาพจาก facebook.com/seagullbrand
บริษัท ไทยสเตนเลสสตีล จำกัด (เครื่องครัวตรานกนางนวล หรือ ซีกัล)
- ปี 63 รายได้ 1,105 ล้านบาท กำไร 42 ล้านบาท
- ปี 64 รายได้ 1,138 ล้านบาท กำไร 92 ล้านบาท
- ปี 65 รายได้ 1,065 ล้านบาท กำไร 51 ล้านบาท
ภาพจาก facebook.com/jaguarware
บริษัท จากัวร์อินดัสตรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด (เครื่องครัวตราจากัวร์)
- ปี 63 รายได้ 233 ล้านบาท กำไร 2.01 แสนบาท
- ปี 64 รายได้ 245 ล้านบาท กำไร 6.13 แสนบาท
- ปี 65 รายได้ 232 ล้านบาท กำไร 6.27 แสนบาท
ภาพจาก facebook.com/Zebrathailandclub
จะเห็นได้ว่ารายได้ของเครื่องครัว “ตราหัวม้าลาย” ในช่วง 3 ปี ตั้งแต่ 2563-2565 สูงถึง 1.3 พันกว่าล้านบาทมาโดยตลอด มีกำไรหลักร้อยล้านบาทเพิ่มขึ้นทุกปี โดยปี 2565 ล่าสุดได้กำไรถึง 164 ล้านบาท สูงกว่าคู่แข่งเครื่องครัว “ซีกัล” ที่มีกำไรในปี 2565 อยู่ที่ 51 ล้านบาท ส่วนเครื่องครัว “ตราจารกัวร์” มีกำไร 6.27 ล้านบาท
กำไรของเครื่องครัวตราหัวม้าลายที่มากกว่าคู่แข่งในตลาด อาจเป็นเพราะตราหัวม้าลายเป็นเจ้าแรกในตลาดเมืองไทย ทำตลาดมายาวนาน ทำให้ลูกค้าจดจำชื่อได้ง่าย มีสินค้าหลากหลายครอบคลุมทุกกลุ่มลูกค้า ทั้งภัตตาคาร ร้านอาหาร จัดเลี้ยง ครัวเรือน อีกทั้งราคาเข้าถึงได้ง่าย ส่วนสินค้าคู่แข่งอยู่ในระดับพรีเมียมทำให้ลูกค้าบางกลุ่มเข้าถึงได้ยาก
ภาพจาก https://www.zebra-head.com/
อย่างไรก็ตาม หากย้อนกลับไปดูรายได้ของเครื่องครัว “ตราหัวม้าลาย” ช่วงปี 59-60 มีรายได้ถึง 2 พันล้านบาท แต่หลังจากนั้นมาจนถึงปัจจุบันรายได้ลดลงเรื่อยๆ สะท้อนให้เห็นว่าตลาดเครื่องครัวมีการแข่งขันกันสูง
ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว สินค้าจากจีนทะลักเข้ามาในไทย รวมถึงสินค้าเครื่องครัวจากบริษัทค้าปลีกต่างๆ ผลิตขึ้น ที่สำคัญสินค้าเครื่องครัวเป็นสินค้าที่ใช้ได้นานหลายปี ดังนั้น ความท้าทายของเครื่องครัว “หัวม้าลาย” อาจต้องเน้นการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ให้เข้ากับกระแสหรือเทรนด์ โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่รักสุขภาพ
ภาพจาก https://www.zebra-head.com/
เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3MAqgPI
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3My1RtT
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
ข้อมูลจาก
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)