อาชีพพ่อค้าแม่ค้า รายได้ดีกว่าทำงานประจำแค่ไหน?

สถานการณ์แพร่ระบาดโควิดที่ผ่านมาเราเห็นคนตกงาน ว่างงานเพิ่มมากขึ้น และอาชีพที่เพิ่มขึ้นมากในช่วงนี้ก็คือ อาชีพพ่อค้าแม่ค้า ยิ่งสมัยนี้มีการตลาดออนไลน์ที่ทำให้ขายง่ายมากขึ้น เราจึงเห็นว่าคนส่วนใหญ่คิดอะไรไม่ออกก็ตัดสินใจเป็นพ่อค้าแม่ค้า ส่วนจะขายอะไรแบบไหนก็แล้วแต่การตัดสินใจ

แต่สิ่งที่ www.ThaiSMEsCenter.com สนใจคือแท้ที่จริงแล้วการเป็นพ่อค้าแม่ค้าจะมีรายได้ที่ดีกว่าทำงานประจำได้แค่ไหน ลองมาดูข้อมูลเหล่านี้เพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจสำหรับใครที่บอกว่าอยากเป็นพ่อค้าแม่ค้าเหลือเกิน

ข้อดีของการเลือกอาชีพพ่อค้าแม่ค้า

1.มีโอกาสขยายกิจการ เพิ่มช่องทางสร้างรายได้

การเป็นพ่อค้าแม่ค้าไม่มีตำแหน่งหน้าตาทางสังคมเหมือนทำงานประจำที่มีเรื่องยศ ตำแหน่งเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่งานนี้ใครจะสนถ้าทำอาชีพพ่อค้าแม่ค้าแล้วรวย เรื่องอื่นก็ธรรมดาทันที บางคนเรียนจบสูงแล้วหันมาเป็นพ่อค้าแม่ค้าจะยิ่งได้เปรียบเพราะมีวิธีคิด มีความรู้ในด้านต่างๆ ทำให้มีช่องทางขยายกิจการได้เร็วกว่ามาก ไม่ใช่แค่เปิดร้านค้าหน้าบ้าน หรือในตลาด เท่านั้น แต่ยังสามารถเปิดร้านค้าผ่านเฟสบุ๊ค เว็บไซต์ เพิ่มช่องทางขายผ่านโซเชียลต่างๆ การใช้ภาษาสากลได้จึงสามารถติดต่อกับชาวต่างประเทศได้ ขายสินค้าไปได้ทั่วโลก อย่าง Amazon หรือ eBay สั่งสินค้าจาก Alibaba มาขาย เป็นต้น

2.มีโอกาสสร้างความมั่นคงของชีวิตในบั้นปลายเร็วขึ้น

บางคนอาจจะมองในเรื่องเงินบำนาญ หรือสวัสดิการที่จะได้รับ แต่การทำงานส่วนตัว เป็นพ่อค้า แม่ค้า หากรู้จักบริหารเงิน ก็ไม่จำเป็นต้องรอหลังเกษียณ บางคนสามารถตั้งตัวได้เร็ว และเกษียณตัวเองได้เร็วกว่านั้น มีชีวิตบั้นปลายที่สบายเร็วขึ้น เช่น ซื้อสลากออกสิน ตราสารหนี้ ซื้อหุ้น หรือลงทุนด้านอื่น ก็มีโอกาสสร้างผลตอบแทนทุกเดือน เป็นเหมือนบำนาญมีเงินให้ใช้ตลอดชีวิต หากรู้จักบริหารเงิน ก็จะมีเงินใช้ตลอดชีวิตได้เช่นกัน ไม่ได้ต่างอะไรจากการทำงานข้าราชการที่บางครั้งคนทำงานราชการพอเกษียณออกมาก็เหลือแค่ความทรงจำแต่ไม่มีเงินใช้ในบั้นปลายชีวิต

3.ได้ทำงานที่เป็นอิสระ

การตัดสินใจเป็นพ่อค้าแม่ค้าส่วนใหญ่มองว่าได้ทำงานอิสระ และเด็กยุคใหม่ไม่นิยมทำงานภายใต้ข้อบังคับของใคร การมีอาชีพที่อิสระจึงมีความต้องการมาก ลบล้างความคิดแบบเดิมๆที่นิยมให้ลูกเรียนสูงๆ เพื่อจบออกมาแล้วมีเงินเดือนขั้นต่ำแค่ 15,000 บาท ซึ่งการมีกิจการตัวเองอาจเริ่มต้นยากแต่ถ้าทำได้นี่คืออาชีพอิสระและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ เราจึงเห็นเด็กยุคใหม่สนใจในการเป็นสตาร์ทอัพกันมากขึ้น

ก่อนคิดเป็นพ่อค้าแม่ค้ามีปัจจัยอะไรให้พิจารณาบ้าง?

สำหรับบางคนที่ชอบคำนวณเป็นตัวเลขก่อนจะลาออกมาเริ่มอาชีพพ่อค้าแม่ค้ามักจะมองหาตัวเลขอ้างอิงต่างๆ เช่น เรามีรายได้ต่อเดือนขณะทำงานประจำเท่าไหร่ , มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนเท่าไหร่ และหากมาเป็นพ่อค้าแม่ค้าต้องใช้เงินทุนเริ่มต้นเท่าไหร่ , โอกาสในการขายคืนทุนมีกำไรนานแค่ไหน , เงินทุนหมุนเวียนที่ต้องใช้คือเท่าไหร่ และไหนจะต้องวางแผนเก็บออมเพื่อยามฉุกเฉิน เป็นต้น

ซึ่งหากพิจารณาสิ่งเหล่านี้บางคนตัดสินใจว่าอยู่ทำงานประจำต่อดีกว่าเพราะออกมาแล้วมันเสี่ยง แต่ในอีกมุมหนึ่งบางคนบอกว่ายอมเสี่ยงเพราะในช่วงเริ่มต้นอาจลำบากแต่ระยะยาวมันคือการสร้างรากฐานชีวิตที่ดีกว่าทำงานประจำ เช่นทำงานประจำเงินเดือน 15,000 ค่าใช้จ่ายจิปาถะหักประกันสังคมต่างๆ หักค่าใช้จ่ายต่างๆ บางทีเงินเดือนไม่พอใช้ แต่ถ้ามาขายของ อาจมีรายได้ต่อวัน 300-500 บาท รายได้ต่อเดือนประมาณ 15,000 – 20,000 บาท อาจไม่ต่างจากทำงานประจำแต่มีโอกาสขยายกิจการเติบโตได้มากกว่าก็ขึ้นอยู่กับวิธีในการบริหารจัดการของเราเป็นสำคัญ

ตัวอย่างความสำเร็จของคนที่ทำงานประจำแล้วหันมาเป็นพ่อค้าแม่ค้า

แน่นอนว่าการจะพูดให้เห็นภาพต้องใช้วิธียกตัวอย่างจะชัดเจนที่สุด เริ่มจาก แม่ค้าขายไก่ย่างส้มตำรายหนึ่งดีกรีจบปริญญาตรี ก่อนหน้านี้เคยเป็นครูอัตราจ้าง เงินเดือนไม่พอกิน ตัดสินใจหันมาขายส้มตำไก่ย่าง มีรายได้ต่อวัน 2,000 – 3,000 บาท รายได้ต่อเดือนมากกว่า 40,000 – 50,000 บาท ซึ่งถือว่าสูงกว่าทำงานประจำมาก และเงินส่วนนี้แม้จะยังไม่หักค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่ก็ถือว่าดีกว่าตอนทำงานประจำ หรือแม่ค้าอีกรายขายข้าวเหนียวหน้าหมู

ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เคยเป็นพนักงานประจำได้เงินเดือนหลักหมื่นแต่ภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาทำให้บริษัทเริ่มมีความไม่แน่นอน จึงตัดสินใจลาออกมาขายข้าวเหนียวหน้าหมู ห่อละ 30-50 บาท ปรากฏว่าสร้างรายได้เดือนละหลายหมื่นบาทสูงกว่าทำงานประจำและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน

ตัวอย่างเหล่านี้สะท้อนให้เห็นภาพว่าการเป็นพ่อค้าแม่ค้ามีรายได้ที่ดีแน่นอน แต่ก็ใช่ว่าทุกคนที่คิดและมาเป็นพ่อค้าแม่ค้าจะประสบความสำเร็จทุกคน บางคนทำได้ บางคนทำไม่ได้ บางคนรายได้ดีเกินคาด บางคนมีรายได้แค่พอเลี้ยงตัวไปวันๆสิ่งสำคัญคือแนวคิด กลยุทธ์การตลาด การหาไอเดียในการขาย

โดยเฉพาะยุคนี้ที่พ่อค้าแม่ค้ามีมาก ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าจากใครที่ไหนก็ได้ หน้าที่ของพ่อค้าแม่ค้าคือต้องตอบคำถามตัวเองก่อนเริ่มกิจการให้ได้ ว่าทำไมลูกค้าต้องซื้อสินค้าจากเรา , ทำไมลูกค้าต้องซื้อสินค้าของเราตอนนี้ และสินค้าของเราดีกว่าที่มีในตลาดอย่างไร ถ้าตอบ 3 คำถามนี้ได้ไม่ว่าจะขายอะไรก็รับประกันว่าขายดีมีรายได้ดีกว่าทำงานประจำแน่นอน

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3c0paKf , https://bit.ly/3n0TsD4 , https://bit.ly/3F28heM , https://bit.ly/3kpzJeu

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3Xm0IsX


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด