อัตราค่าเช่า Occupancy Rate สูตรพื้นฐาน คิดให้ได้ เพิ่มกำไรได้จริง

อัตราค่าเช่า (Occupancy Rate) คือ อัตราส่วนของพื้นที่หรือหน่วยที่ถูกเช่าออกไปแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่หรือหน่วยทั้งหมดที่มีอยู่ โดยทั่วไปใช้เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการเช่าพื้นที่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ หรือที่พักอาศัย

ยกตัวอย่าง Occupancy Rate “ธุรกิจโรงแรม”

อัตราค่าเช่า

คือ เปอร์เซ็นต์ของห้องที่ถูกเช่าในช่วงเวลาที่กำหนด เราจะหา Occupancy rate อัตราการเช่าโดยวิธีการคำนวณง่ายๆ คือ จำนวนห้องพักที่ถูกเช่า หาร จำนวนห้องพักทั้งหมดของโรงแรม x 100% = อัตราการเช่า

  • เช่น โรงแรมมีห้องพักทั้งหมด 100 ห้อง คืนๆ หนึ่งมีการเข้าพัก 60 ห้อง
  • จะได้อัตราการเข้าพัก 60 หาร 100 x 100% = 60%

นั่นหมายความว่าโรงแรมของคุณมีอัตราเข้าพัก 60% ในคืนนั้น แสดงให้เห็นว่า ห้องพักโรงแรมมีการเช่าเต็มมากกว่าจำนวนห้องว่างในคืนนั้น ถ้าใครอยากหาอัตราว่าของห้องพักโรงแรม ให้ใช้หลักการคำนวณ ดังนี้

  • จำนวนห้องว่าง x 100 หาร จำนวนห้องทั้งหมด
  • จะได้อัตราว่างของห้อง 40 x 100 หาร 100 = 40% ส่วนอัตราเข้าพัก 60%

เจ้าของโรงแรมต้องดูอีกว่า อัตราการเข้าพัก 60% เป็นช่วงวันธรรมดา หรือเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดยาว ถ้าเป็นช่วงวันหยุดยาวก็จะสามารถทำการตลาดเพื่อดึงดูดลูกค้าได้มากขึ้นได้ โดยทั่วไปอัตราการเข้าพักที่ดีสำหรับโรงแรมจะขึ้นอยู่กับปัจจัย คือ ประเภทของโรงแรม, สถานที่ตั้ง, ฤดูกาล, ราคา, คู่แข่ง, คุณภาพมาตรฐาน, การบริการ, สิ่งอำนวยความสะดวก เป็นต้น

อีกตัวอย่าง…การหาอัตราการเช่าและราคาค่าเช่าของ “ตลาดนัด”

อัตราค่าเช่า

Occupancy Rate สมมติถ้ามีการเช่าพื้นที่ขายของในตลาดนัดเกือบเต็มทุกล็อค คิดเป็น 95% ถือว่าดีมากๆ เพราะพ่อค้าแม่ค้าจำนวนมากแทบจะต่อคิวขอเช่าพื้นที่ขายของในตลาดของคุณ

นั่นแสดงให้เห็นว่า พื้นที่ตลาดนัดสามารถสร้างรายได้ให้แก่ร้านค้ามากกว่าค่าเช่า ดังนั้น พ่อค้าแม่ค้าจึงเต็มทุกล็อค

ส่วน Rental Rate ก็คือ ค่าเช่าพื้นที่ในตลาดนัด ถ้าเจ้าของตลาดนัดสามารถเก็บค่าเช่าได้มากเท่าไหร่ ก็จะทำให้ได้กำไรมากขึ้น ดังนั้น คนมาเช่าเต็มพื้นที่ยิ่งดี จะทำให้มีรายได้มากขึ้นๆ

อย่างไรก็ตาม ถ้าเมื่อไหร่ที่ Rental Rate เพิ่มขึ้น สวนทาง Occupancy Rate ที่ลดลง นั่นแสดงให้เห็นว่า พ่อค้าแม่ค้าหรือคนมาเช่าพื้นที่ขายของในตลาดนัด สู้ไม่ไหวกับค่าเช่าที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้องย้ายออกไป

แต่ถ้าตลาดนัดของคุณ อยู่ในทำเลดี คนพักอาศัยหนาแน่น ไม่มีคู่แข่ง ลูกค้าเข้าไปซื้อของในตลาดเยอะมาก แทบจะเดินไม่ได้ ส่งผลให้พ่อค้าแม่ค้าในตลาดนัดขายดีมาก เจ้าของตลาดนัดก็อาจขึ้นค่าเช่าได้ เพราะร้านค้าขายดิบขายดี

สรุปคือ Occupancy Rate ถ้ารู้ก่อนและคำนวณอย่างละเอียด จะช่วยให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์หรือเจ้าของพื้นที่ สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ สามารถปรับกลยุทธ์ธุรกิจและการบริหารจัดการ เพื่อสร้างมูลค่าและรายได้ ก่อนที่จะเจ๊งได้

ข้อมูลจาก

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช