อะไรก็แพง! อาชีพ “พ่อค้าแม่ค้า” ยุคนี้ยังน่าสนใจไหม?

ในช่วงหนึ่งที่คนตกงาน มีปัญหาถูกเลิกจ้างอันเนื่องจากโควิด ตอนนั้นคิดอะไรไม่ออกก็มาเป็น พ่อค้าแม่ค้า ทีนี้พอใครๆก็เลือกมาขายของ ไปเดินตลาดบางทีเจอพ่อค้าแม่ค้ามากกว่าเจอลูกค้าซะอีก

พ่อค้าแม่ค้า

เหตุผลที่คนตัดสินใจออกมาค้าขายเองมีหลายอย่างเช่น

  • เบื่องานประจำ
  • อยากมีเวลาที่เป็นอิสระไม่อยากทำงานตามกรอบเวลาเข้าเช้าออกเย็น
  • เงินเดือนไม่พอใช้ทำงานไปก็ไม่มีเงินเก็บ
  • รายได้ไม่พอรายจ่ายได้เงินเดือนละครั้งมันไม่พอกิน
  • อยากมีอาชีพเป็นของตัวเอง
  • เห็นคนอื่นขายดีแล้วน่าสนใจอยากลองทำบ้าง

แต่เอาเข้าจริงๆ ปัญหาที่ พ่อค้าแม่ค้า ยุคนี้เจอเต็มๆ คือ “วัตถุดิบแพง” ทุกอย่างราคาแพงมาก เมื่อต้นทุนแพงจะมาขายถูกอยู่จะเอากำไรจากที่ไหน แต่ปัญหามันก็ทับซ้อนอีกว่า “ตั้งราคาแพง” คนก็ไม่อยากซื้อ พอ “ตั้งราคาถูก” ตัวเองก็ไม่มีกำไร จึงเป็นสถานการณ์แบบกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เดินหน้าก็ไม่ได้ถอยหลังก็ตกเหว

พ่อค้าแม่ค้า

ซ้ำร้ายไปกว่าบางคนตัดสินใจลาออกจากงานทั้งที่ยังไม่รู้ว่ามาเป็นพ่อค้าแม่ค้าแล้วจะรายได้ดีจริงไหม ถึงขนาดที่บางคนทุ่มเทเงินเก็บก้อนสุดท้ายเอามาเซ้งร้าน เปิดร้าน ทำร้าน ด้วยหวังว่าจะลืมตาอ้าปาก เป็นนายตัวเอง มีรายได้ดีกว่างานประจำแต่ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้การเป็นพ่อค้าแม่ค้าในยุคนี้ไม่เฟื่องฟูอย่างที่ใจคิด เช่น

  • คู่แข่งเยอะมาก ไม่ว่าจะเลือกขายอะไรก็เจอคู่แข่งเพียบ
  • ต้นทุนแรงงาน วัตถุดิบ ทุกอย่างปรับตัวสูง การกำหนดราคาขายก็ต้องสูงไปด้วย
  • คนไม่ค่อยมีกำลังซื้อเพราะค่าแรงถูก เงินไม่พอใช้ อะไรที่แพงไป คนก็ไม่อยากซื้อ
  • การตลาดออนไลน์ทำให้คนหันไปช็อปปิ้งหรือสั่งสินค้าผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ มากขึ้น

พ่อค้าแม่ค้า

โดยเฉพาะเรื่องการซื้อสินค้าออนไลน์นี่สร้างการเปลี่ยนแปลงในแวดวงค้าขายไปมาก เดี๋ยวนี้ร้านไหนไม่ปรับตัวเข้าหาออนไลน์อาจพูดได้เลยว่าลำบากแน่ เพราะคุณเชื่อหรือไม่มีข้อมูลน่าสนใจว่าตลาดค้าปลีกออนไลน์ในเมืองไทย มีมูลค่าราว 140,000 ล้านบาท โดยนักช็อปออนไลน์ชาวไทย ทุก ๆ 100 คน

  • 72 คน ซื้อของผ่านเว็บไซต์ หรืออีคอมเมิร์ซอย่าง Lazada และ Shopee
  • 28 คน ซื้อของบนโซเชียลมีเดีย (Instagram, Twitter , Facebook , TikTok)

และปัจจุบันคนไทยใช้โซเชียลมีเดียกัน มากถึง 52.25 ล้านบัญชี คิดเป็นสัดส่วนถึง 73% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ในขณะที่ คนไทยใช้โซเชียลมีเดียกันเฉลี่ย มากถึง 2 ชั่วโมง 44 นาที ในแต่ละวัน เมื่อช่องทางในการขาย มีทั้งคนเล่นเยอะ ทั้งคนเล่นนาน พอจับมาคูณกัน ก็เท่ากับว่าโอกาสในการขายของจากบรรดาพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

กลับมาที่คำถามว่าเป็นพ่อค้าแม่ค้ายุคนี้ยังน่าสนใจไหม? คำตอบคือ “น่าสนใจ” แม้จะมีคู่แข่งเพียบ มีตลาดออนไลน์ที่คนให้ความนิยมสูง แม้วัตถุดิบจะแพง ค่าแรงจะถูก คนไม่อยากจ่ายเงินซื้อของแพง แต่!!!

“ถ้าสินค้านั้นคือความต้องการ คือความจำเป็น คือสิ่งที่ต้องใช้ ยังไงคนก็ต้องซื้อ”

พ่อค้าแม่ค้า

คำถามอีกเช่นกันว่า “จะหาสินค้าแบบนั้นได้จากที่ไหน” คำตอบคือต้องไปคิด วิเคราะห์ แยกแยะ ทำแผนการตลาดตัวเองให้ดีก่อนจะเริ่มเป็นพ่อค้าแม่ค้า

  • ฉันควรขายอะไรที่คนอยากซื้อ เช่นถ้าเป็นอาหาร ควรเป็นอาหารแบบไหน ถ้าเป็นเครื่องดื่มควรเป็นแบบไหน เป็นต้น
  • ดูทำเลที่จะขายให้มีกลุ่มลูกค้าที่เราต้องการขาย อย่าคิดว่าจะเปิดแล้วที่ไหนก็ขายได้ขายดี ทำเลเป็นสิ่งสำคัญมาก
  • ค้นหารูปแบบการขายที่สร้างจุดเด่นให้ตัวเอง เพื่อให้คนรู้จัก ให้คนรู้ว่าเราขายอะไร เราทำอะไร
  • การตั้งราคาขายจำเป็นต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ในการขาย สัมพันธ์กับต้นทุนวัตถุดิบที่ต้องเลือกมาใช้ให้เหมาะสม
  • ตลาดออนไลน์ต้องใช้ต้องมี อย่าคิดว่าสินค้าดีแค่มีหน้าร้านก็จะขายได้ ยุคนี้คิดแบบนั้นไม่พอแล้ว
  • มองหาโอกาสในการขยายธุรกิจ หรือแตกไลน์สินค้าให้เหมาะสมต่อไปในอนาคต

เราเคยเห็นคนทำงานประจำหลายคนที่ผันตัวเองมาเป็นพ่อค้าแม่ค้า มาขายหมูปิ้ง มาขายแซนวิช มาเปิดร้านชานมกาแฟ อะไรเหล่านี้เป็นต้น บางคนรอด บางคนร่วง บางคนบ่นอยากกลับไปทำงานประจำดีกว่า

การจะเป็นพ่อค้าแม่ค้าหรืออยากมีธุรกิจตัวเอง จะต้องไม่ลืมว่าการทำธุรกิจตัวเองต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ เมื่อก่อนทำงานประจำไม่ต้องคิดเยอะไม่ต้องคิดอะไรมาก สั่งอะไรมาก็ทำ งานเลิกก็เลิกกัน รอรับเงินเดือนละครั้ง

พ่อค้าแม่ค้า

แต่พอมาทำธุรกิจเอง ต้องตื่นตัวตลอดเวลาต้องคิดต้องหาวิธีว่าจะทำอย่างไรให้ขายดี ต้องติดต่อต้องพูดคุย ต้องเข้าถึง อะไรที่ไม่เคยทำก็ต้องทำ ยิ่งถ้าเป็นธุรกิจที่มีลูกน้องก็ต้องพ่วงการดูแลพนักงานเข้าไปอีก ไหนจะการแบกรับปัจจัยเสี่ยงรอบด้านที่จะตามมา แต่ข้อดีที่หากทำได้คือธุรกิจจะสร้างรายได้ที่ดีกว่าทำงานประจำได้แน่ เพียงแค่ไม่ได้มีอะไรง่ายเหมือนที่ใจคิด

หากคิดจะเป็นพ่อค้าแม่ค้าทุกอย่างต้องเตรียมความพร้อม ต้องมีแผนหลัก แผนสำรอง ดีกว่าการออกมาทำอย่างไร้แบบแผน คิดว่าคนอื่นทำได้ คนอื่นทำแล้วดี แบบนี้ไม่แนะนำ ใครที่ถามว่าพ่อค้าแม่ค้ายุคนี้ยังดีไหม คำตอบก็คือ “ดี” แต่อยู่ที่ว่า “คุณพร้อมแค่ไหน” ต้องสำรวจตัวเองให้ดีถ้ามั่นใจก็เดินหน้าต่อไปได้เลย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด