อวสาน! โก๊ะตี๋ข้าวมันไก่ สาขาสุดท้าย ไม่รอด
“โก๊ะตี๋” เริ่มเข้าสู่วงการตั้งแต่อายุประมาณ 13 ปี โดยร่วมงานกับคณะตลกเอ็ดดี้ ผีน่ารัก ใช้ชื่อในวงการ ณ ตอนนั้นว่า “โก๊ะตี๋ผีน่ารัก มาเปลี่ยนชื่อเป็น “โก๊ะตี๋ อารามบอย” หลังจากมีชื่อเสียงในภาพยนตร์เรื่อง “โก๊ะตี๋ วีรบุรุษอารามบอย” และแยกออกมาตั้งคณะตลกของตัวเอง โดยชื่อเสียงของ “โก๊ะตี๋” โด่งดังมาก มีทั้งงานละคร , ภาพยนตร์ เป็นพิธีกร รวมถึงมีธุรกิจ “โก๊ะตี๋ข้าวมันไก่” ของตัวเองด้วย
ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า มีการจดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท โก๊ะข้าวมันไก่ จำกัด เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2555 ด้วยทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท และถ้าลองย้อนไปดูไอเดียของธุรกิจนี้ “โก๊ะตี๋” เคยกล่าวว่าตั้งใจอยากทำร้านข้าวมันไก่เพราะตัวเองชอบมาก ได้เจอข้าวมันไก่เจ้าหนึ่งอร่อยมาก จึงตัดสินใจซื้อสูตรแล้วเอามาปรับให้เหมาะสม ใช้เวลากว่าปีครึ่งกว่าที่สูตรทุกอย่างจะลงตัวถึงเริ่มเปิดร้านแรกได้”
ภาพจาก www.facebook.com/KhaomangaiKhotee
โก๊ะตี๋ข้าวมันไก่ สาขาแรกเปิดที่ RCA และในเวลาไม่กี่เดือนก็ทยอยเปิดสาขาอื่นตามมามากขึ้น ช่วงเวลาที่พีคสุดของโก๊ะตี๋ข้าวมันไก่คือปี 2558 ที่ระบุว่าตอนนั้นโก๊ะตี๋ข้าวมันไก่มีถึง 18 สาขา เช่น ทาวน์อินทาวน์, พุทธมณฑลสาย, เมืองทอง, พหลโยธิน 18 sun tower, รามอินทรา , ศูนย์อาหารสามย่านสเตชั่น เป็นต้น
ในบรรดาสาขาหลายแห่งช่วงนั้นเน้นการขยายสาขาเองไม่ได้ขายแฟรนไชส์ โดยแบ่งเป็น2 ส่วน คือ ที่ร่วมหุ้นกับญาติๆ และเพื่อนๆ พี่ๆ ในวงการ อีกส่วนหนึ่งคือการลงทุนร่วมกับบริษัท พระนครฟิล์ม ช่วงเวลาที่พีคแบบสุดขีดตั้งเป้าจะขยายสาขาไปตามหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ รวมถึงมีแผนจะเปิดร้านในต่างประเทศด้วย นอกจากนี้รายได้ของร้านโก๊ะตี๋ข้าวมันไก่ก็ไม่ธรรมดาเช่นกันสูงสุดถึง 800,000 บาท/เดือน (สาขา RCA)
ภาพจาก www.facebook.com/KhaomangaiKhotee
แต่แทนที่ธุรกิจนี้จะรุ่งและพุ่งแรงไปเรื่อยๆ กลับกลายเป็นว่า “สาขาเริ่มทยอยปิดตัวไปเรื่อยๆ” ทั้งที่ความจริงแล้ว “รสชาติ” ของโก๊ะตี๋ข้าวมันไก่ก็ถือว่าอร่อยระดับหนึ่ง โดยส่วนตัวก็เคยได้ลองไปกินตามงานอีเว้นท์ต่างๆ ราคาต่อจาน 50-60 บาท ทั้งข้าวและไก่ถือว่านุ่มอร่อย น้ำซุปก็รสชาติดี เด็ดสุดคือน้ำจิ้มที่ทำออกมาได้อร่อยกว่าอีกหลายแบรนด์ที่เราเคยลองกินมา แม้ตอนหลังจะมีการปรับราคาขายต่อจานแพงขึ้น ก็พอเข้าใจได้ถึงต้นทุนวัตถุดิบต่างๆ ที่ปรับขึ้นมาก
ปัญหาที่ทำให้ “โก๊ะตี๋ข้าวมันไก่” ไปไม่รอด หลักๆน่าจะเป็นเพราะ “การบริหารงาน” เนื่องจากถ้าไปดูความตั้งใจของโก๊ะตี๋ที่เริ่มธุรกิจนี้เพราะอยากให้ญาติพี่น้องมีรายได้ จึงได้สร้างธุรกิจข้าวมันไก่ แต่กลายเป็นว่าไม่มีใครที่คิดจะจริงจังและทำธุรกิจนี้ให้ไปต่อได้ คิดแต่เรื่องการขายจนสุดท้ายไม่มีการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของสินค้า เกิดเป็นกระแสว่าร้านโก๊ะตี๋ข้าวมันไก่ สาขานี้อร่อย แต่ทำไมสาขานี้ไม่อร่อย บางสาขาก็รอนาน ยังไม่นับรวมปัญหาจิปาถะต่างๆ อันเกิดจาก “ระบบบริหารงาน” ที่แก้ปัญหาในภาพรวมไม่ได้
ภาพจาก www.facebook.com/KhaomangaiKhotee
ช่วงหนึ่งโก๊ะตี๋เคยกล่าวว่า “ร้านข้าวมันไก่ที่ RCA ชายดีมาก ดังมาก แต่ไม่เหลือเงินเลย กำไรได้เดือนหนึ่งสูงสุดคือ 8 แสนบาท เงินที่ได้มาก็แบ่งให้คนในครอบครัวทั้งหมด แต่กลายเป็นว่าคนในครอบครัวมาคิดเล็กคิดน้อย คนนั่นทำมาก คนนี้ทำน้อย สุดท้ายก็แยกกัน แล้วเราก็ต้องไปใช้หนี้ให้”
และนี่คงจะเป็นปัญหาหลักที่ทำให้ “โก๊ะตี๋ข้าวมันไก่” เดินทางมาถึงจุดสิ้นสุดโดยสาขาสุดท้ายที่เหลืออยู่คือ เส้นรัชดา-รามอินทรา (เส้นตัดใหม่) ซึ่งถ้าใครที่ขับรถผ่าน คงสังเกตว่าร้านนี้ไม่เปิดมาสักพักแล้วด้วย สอดคล้องกับข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ที่ระบุว่าบริษัท โก๊ะข้าวมันไก่ จำกัดได้แจ้งเลิกกิจการตั้งแต่ปี 2558
ซึ่งสาขาที่เปิดต่อเนื่องมาหลังจากนั้นอาจเป็นสาขาที่ดำเนินธุรกิจด้วยตัวเอง โดยยังใช้ชื่อของโก๊ะตี๋ข้าวมันไก่ เพียงอย่างเดียว แต่ไม่ได้มีระบบการสนับสนุนจากบริษัทในการช่วยเหลือแต่อย่างใด สุดท้ายเมื่อขายไม่ดี ก็ต้องปิดกิจการไปในที่สุด
ภาพจาก www.facebook.com/KhaomangaiKhotee
บทสรุปของเรื่องนี้สะท้อนความจริงให้เห็นว่า “ระบบบริหารจัดการ” สำคัญที่สุด แม้จะเป็นธุรกิจที่มีแม่เหล็กดึงดูดเป็นคนมีชื่อเสียงแต่ถ้าไม่รักษาคุณภาพสินค้าและบริการให้ดี ลูกค้าเกิดความเบื่อหน่าย สินค้าก็ขายไม่ได้ แย่ที่สุดคือการบริหารจัดการภายในถ้าไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียว ไม่ได้มีความตั้งใจทำธุรกิจอย่างจริงจัง ไม่สนเรื่องบริหาร สนแต่รายได้อย่างเดียว ช่วงแรกอาจจะขายได้ขายดี แต่เมื่อน้ำลดตอผุดเมื่อไหร่เมื่อนั้นก็เตรียมตัวเจ๊งได้เลย
รู้หรือไม่! เปิดร้านข้าวมันไก่แบบใช้แบรนด์ตัวเองมีค่าอุปกรณ์+วัตถุดิบเปิดร้านครั้งแรกประมาณ 25,000 บาท ยังไม่รวมค่าเช่าสถานที่ , ค่าน้ำ ค่าไฟ และเงินทุนหมุนเวียน เบ็ดเสร็จควรมีงบลงทุนเบื้องต้นประมาณ 50,000 บาท โดยขึ้นอยู่กับขนาดร้านเป็นสำคัญด้วย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)