อวสาน! เจมส์ข้าวมันไก่ ไข้หวัดนกระบาด 21 ปีที่แล้ว
“ยอม ยอมเป็นข้าวมันไก่” ท่อนเพลงสุดฮิตจากเพลงข้าวมันไก่ที่อยู่ในอัลบั้ม Siren Love เมื่อปี 2540 ของเจมส์ เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ ไม่น่าเชื่อว่า 5 ปีต่อมาจากเพลงดังนี้จะกลายมาเป็นธุรกิจ “เจมส์ข้าวมันไก่” ที่จดทะเบียนในนามของบริษัทเจมส์ ชิ๊คเก้นไรซ์ จำกัด เป็นธุรกิจของครอบครัวที่ก่อตั้งในปี 2545 และธุรกิจนี้ก็ไม่ได้ทำเล่นๆ แต่เอาจริงจังมากๆ โดยใช้สูตรข้าวมันไก่ไหลำที่สืบทอดกันมากว่า 40 ปี
รูปแบบธุรกิจก็มีเป้าหมายเพื่อขยายในรูปแบบแฟรนไชส์วัตถุประสงค์หลักคือ มุ่งเน้นที่การสร้างอาชีพให้ผู้ที่มีเงินทุนไม่มาก แต่ต้องการเป็นเจ้าของกิจการเล็ก ๆ ของตัวเองเรียกได้ว่าเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ยุคแรก ๆ ของไทย ที่เกิดปรากฎการณ์คนต่อเเถวยาวเพื่อรอกินข้าวมันไก่ของเจมส์ ถึงขนาดขายจนไก่หมด ขอได้กินแค่ข้าวมันเปล่า ๆ ก็ยอม
ภาพจาก https://citly.me/fuDjy
ธุรกิจนี้เจมส์จริงจังแค่ไหนดูได้จากการสร้างโรงงานผลิตข้าวมันไก่แห่งแรกในประเทศไทยที่จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นโรงงาน ที่ได้มาตรฐานของ GMP ,HACCP ผลิตไก่ได้วันละ 10 ตันต่อวัน และข้าวหุงสำเร็จ 30 ตันต่อวัน
และยังวางโครงสร้างในการลงตรวจสอบสาขาต่างๆ เพื่อให้บริการและรสชาติเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด นอกจากนี้แผนงานในการขยายสาขาก็มีชัดเจน ถ้าเป็นสาขาในต่างจังหวัดที่อยู่ใกล้ๆ บริษัทฯจะมีรถขนส่งวัตถุดิบให้ แต่ถ้าเป็นสาขาที่อยู่จังหวัดไกลๆ บริษัทจะจัดส่งวัตถุดิบให้ทางเครื่องบิน
ภาพจาก https://citly.me/fuDjy
ค่าแฟรนไชส์ในการลงทุนอยู่ที่ 50,000 บาท ก็จะได้รับอุปกรณ์+วัตถุดิบ พร้อมการฝึกอบรมต่างๆ จุดพีคที่สุดของ “เจมส์ข้าวมันไก่” อยู่ในช่วงต้นปี 2546 หรือเพิ่งจะเปิดกิจการมาได้ประมาณ 8 เดือนมีแฟรนไชส์ในกรุงเทพฯ กว่า 100 สาขา
และในต่างจังหวัดอีกกว่า 40 สาขา ซึ่งจากข้อมูลระบุว่าแฟรนไชส์ “เจมส์ข้าวมันไก่” ในขณะนั้นมียอดขายเฉลี่ยต่อสาขาประมาร 150-200 จาน โดยสาขาที่มียอดขายดีมากที่สุด คือ สาขาวัดสามง่าม ขายได้วันละ 400-500 จาน
เมื่อธุรกิจกำลังเติบโตแบบทะลุเป้า ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะคิดถึงสเต็ปต่อไป โดยเจมส์ข้าวมันไก่ตั้งเป้าว่าจะขยายแฟรนไชส์เข้าไปในห้างสรรพสินค้าก็ได้เจรจาทั้งกับเดอะมอลล์ และเซ็นทรัล รวมถึงเตรียมเปิดร้านอาหารตามอาคารพาณิชย์เพิ่มเติม และยังมีโปรเจคสินค้าใหม่คือไก่ทอดคาวาอี้ ที่เตรียมเปิดตัวสู่ตลาดด้วย
ภาพจาก https://citly.me/mUxJF
แต่ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน! ทำธุรกิจก็ต้องเตรียมแผนสำรองฉุกเฉินในกรณีที่เกิดวิกฤติด้วยเช่นกัน เจมส์ข้าวมันไก่ที่กำลังรุ่งๆ ใครจะไปคิดว่าจู่ๆ “โรคไข้หวัดนก H5N1” จะเกิดระบาดขึ้นมา
การระเบิดนี้ตามข้อมูลบอกว่ามีการติดต่อถึงคนเป็นครั้งแรกที่ฮ่องกงเมื่อปี 2540 จนกระทั่งปลายปี 2546 – 2547 มีการระบาดของไข้หวัดนกในสัตว์ปีกครั้งใหญ่ในภูมิภาคเอเชียได้แก่ เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย เวียดนาม ไทย ไต้หวัน กัมพูชา ญี่ปุ่น ลาว ปากีสถาน ฮ่องกง และจีน
และนี่คือบททดสอบที่ยิ่งใหญ่ของ “เจมส์ข้าวมันไก่” ที่พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดต่อได้ งัดมาทุกกลยุทธ์ที่จะดึงความเชื่อมั่นให้กลับมา ทำแม้กระทั่งร่วมกับหน่วยงานภาครัฐออกรณรงค์ให้คนลดความวิตกจากโรคระบาด แต่ก็ต้องยอมรับว่าวิกฤตินี้ใหญ่มาก สุดท้ายหลายสาขาต้องทยอยปิดตัว
เนื่องจากไม่มีรายได้ บางสาขาที่มีขนาดใหญ่ก็จำเป็นต้องลดขนาดตัวเองลงมา เรียกว่าพยายามทำทุกอย่างเพื่อยื้อธุรกิจนี้ให้อยู่รอดแต่ก็ไม่ไหว เจมส์ข้าวมันไก่ปิดตัวอย่างถาวรไปในปี 2550 จบตำนาน ร้านข้าวมันไก่ชื่อดังของเมืองไทย ที่ต้องแพ้ให้กับวิกฤติที่มาจากธรรมชาติ
ภาพจาก https://citly.me/eOilu
รู้หรือไม่! วิกฤติไข้หวัดนกในปี 2547 ประเทศไทยมีการสูญเสียด้านการส่งออกสัตว์ปีกมากกว่า 60,000 ล้านบาท และมีผู้ป่วยจำนวน 22 ราย เสียชีวิต 14 ราย ผลกระทบด้านอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่พื้นบ้านมีความเสียหายเป็นจำนวนมาก มีการทำลายไก่ไปมากกว่า 60 ล้านตัว
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)