อย่ายอมแพ้! พลิกชีวิตติดหนี้ 7.7 ล้าน สู่เถ้าแก่คริสปี้คอร์น

เชื่อว่าหลายๆ คนมีความใฝ่ฝันอยากประสบความสำเร็จ อยากเป็นเถ้าแก่ อยากเป็นเจ้าของบริษัท ตั้งแต่อายุยังน้อยๆ แต่ใช่ว่าเส้นทางของแต่ละคนจะสวยหรู ไม่มีอุปสรรค ต้องดิ้นรน ฟันฝ่าขวากหนาม เพื่อให้ตัวเองไปถึงจุดหมายที่ตั้งไว้ 

พลิกชีวิตติดหนี้

แต่ไม่ว่าเราจะอายุมากน้อยเท่าไหร่ หากมีความฝันที่มั่นคง กล้าที่จะลงมือทำ แม้ว่าบางครั้งอาจก้าวพลาดไปบ้าง ล้มลุกคุกคลานไปหลายครั้ง ตราบใดที่เรายังมีลมหายใจ ตราบนั้นเราจะไม่รู้จักคำว่า “ยอมแพ้”

เช่นเดียวกับเรื่องราวของ “กิตติพงษ์ สุขเคหา” หรือ “แบงค์ คริสปี้คอร์น” กรรมการผู้จัดการ บริษัท คริสปี้คอร์น สตอรี่ จำกัด กว่าจะประสบความสำเร็จในวันนี้ ต้องก้าวพลาดมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง แม้จะเป็นหนี้สินกว่า 7.7 ล้านบาท จนเหลือเงินติดตัวเพียงแค่ 40 บาท แต่คำว่า “อยากรวย” ก็ทำให้อุปสรรคต่างๆ เป็นแค่ประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้มาเท่านั้น

“อยากมีเงิน” เป้าหมายแรกของชีวิต

w2

จุดเริ่มต้นของ “แบงค์” กว่าจะมาเป็นผู้บริหารคริสปี้คอร์น ขนมที่ได้รับความนิยมในร้านค้าต่างๆ โดยเฉพาะ 7-Eleven ที่มีวางจำหน่ายเกือบทุกสาขาในขณะนี้ มาจากคำพูดดูถูกของสาวทำนองว่าไม่รวย ให้กลับไปดูดนมแม่

จึงเป็นจุดเริ่มต้นทำให้แบงค์คิดยากจะรวยตั้งแต่วันนั้น โดยวิธีทำให้ตัวเองรวยของแบงค์ คือ ตั้งเป้าเริ่มต้นทำงานต้องได้เงินเดือน 25,000 บาท ซึ่งเป้าหมายแรกของเขาก็ประสบความสำเร็จ เพราะเจ้านายเก่าตอนสมัยฝึกงานเรียกให้ไปทำงานด้วย

ช่วงที่ทำงานรถไฟฟ้า MRT อยู่นั้น แบงค์ได้ทุ่มเทในการทำงานทุกอย่าง ใครใช้ให้ทำอะไรก็ทำหมด จนเข้าตาผู้ใหญ่ที่ทำงานรถไฟฟ้าท่านหนึ่ง ถึงกับออกปากชมว่า “เด็กคนนี้เป็นใคร เก่งๆ แบบนี้ อนาคตเป็นเจ้าของบริษัทฯ แน่เลย”

อยากเป็นเจ้าของบริษัท

w3

หลังจากวันนั้น แบงค์ได้ตั้งเป้าหมายในชีวิตใหม่ คือ การเป็นเจ้าของบริษัท กระทั่งตัดสินใจลาออกจากงานในช่วง 8 เดือนต่อมา ด้วยอายุเพียง 23 ปี กับการเป็นเจ้าของบริษัท “Shingo Corporation Co., Ltd.” ธุรกิจกล้องวงจรปิด โดยใช้เงินลงทุนจากการกู้ธนาคารจำนวน 1 ล้านบาทมาเปิดบริษัท แทนเงินที่พ่อให้ 1 ล้านบาทที่เขาใช้หมดภายใน 3 เดือน

พอเปิดบริษัทกล้องวงจรปิดได้ 3 เดือน น้ำก็มาท่วมกรุงเทพฯ พอดี ทำให้ขายของไม่ได้ บริษัทเป็นหนี้มหาศาล บังเอิญว่าช่วงนั้นแบงค์ได้ดู Talk Show ของคุณตัน “เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส” เขาจึงเปลี่ยนวิธีการขายกล้องวงจรปิดทางออนไลน์แทนการเดินทางออกไปหาลูกค้า ปรากฏว่าขายดีกว่าการออกไปหาลูกค้าเสียอีก จากหมื่นเป็นแสน เป็นล้านบาท

หลังจากนั้นอีก 4 เดือน แบงค์ผมก็ได้เป็นเจ้าของรถสปอร์ตคันหรู กลายเป็นพวกอู้ฟู่ ฟุ่มเฟือย หลงในความรวย ปัจจัยเหล่านี้เอง ทำให้ทุกอย่างของแบงค์ต้องพังครืนในพริบตา ด้วยอายุ 25 ปี เพราะความหลงตัวเอง บ้าอำนาจเงิน ทำธุรกิจแบบประมาท อีกทั้งยังทำธุรกิจผิดพลาดกับงานใหญ่ๆ สุดท้ายกลายเป็นหนี้ก้อนโต 7.7 ล้านบาท เหลือเงินติดตัว 40 บาท

จุดเริ่มต้นของคริสปี้คอร์น

w4

หลังจากแบงค์ติดหนี้ เหลือเงินติดตัว 40 บาท จนถึงกับต้องให้ลูกน้องเลี้ยงข้าว กระทั่งคิดจะฆ่าตัวตาย แต่ได้มีเจ้าของโรงงาน Adda Line มาหาเพื่อเตือนสติ และบอกว่า ให้แบงค์ลุกขึ้นมาทำงาน เพราะเขาเกิดมาเพื่อประสบความสำเร็จ

หลังจากได้รับคำเตือนสติ ด้วยความหิว แต่ไม่มีเงินติดตัว แบงค์มองเห็นกระปุกขนมคอนเฟรกเคลือบคาราเมล ที่แฟนของเขาทำไว้ก่อนเลิกกัน และเปิดกินจนเกือบครึ่งกระปุก เห็นว่ารสชาติอร่อย จึงได้โทรสอบถามแฟนเก่าว่าทำเองหรือไม่ แฟรนเก่าก็บอกว่าทำเอง แบงค์ก็เลยขอสูตรจากแฟนเก่า นั่นคือจุดเริ่มต้นของธุรกิจ Krispy Corn

https://www.facebook.com/krispycorn/videos/464736614008649/

เดินตามรอยเถ้าแก่น้อย

w5

หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมแบงค์เลือกทำธุรกิจคริสปี้คอร์น เขาบอกว่า ไม่ได้คิด คิดแค่จะทำอย่างไรให้มีชีวิตในวันพรุ่งนี้ แม้ว่าจะขายของข้างถนนก็ยอม ที่สำคัญธุรกิจคริสปี้คอร์นเป็นของกิน เป็นปัจจัย 4 คนที่คนขาดไม่ได้ อีกทั้งขนมแบบนี้ยังไม่มีใครทำแบบจริงจัง เหมือนกับ “เถ่าแก่น้อย สาหร่ายทอด” ที่ไม่ได้พึ่งมีในไทย แต่มีมาหลาย10 ปี แล้ว

เพียงแต่ “เถ้าแก่น้อย สาหร่ายทอด” พัฒนาเอามาใส่แพ็กเกจใหม่ เพื่อเพิ่มอายุให้ยาวขึ้น ส่วนคริสปี้คอร์นก็จะเอามาใส่แพ็คเกจสวยๆ เพิ่มอายุ และเป็นเจ้าแรกในประเทศไทย พร้อมกับใส่ Story เข้าไป

สำหรับเงินลงทุนทำธุรกิจคริสปี้คอร์นได้มาจากการยืม โดยแบงค์ได้ไปยืมจากแม่แฟนเก่า ได้เงินมา 90,000 บาท เป็นทุนเริ่มต้นธุรกิจ 40,000 บาท อีก 50,000 บาท เอาไปจ่ายค่างวดรถงวดสุดท้าย

ที่เหลือแบงค์เอาเงิน 18,000 ซื้อเตาอบ, 12,000 จ้างแรงงานต่างด้าวมา 3 คน, 3,000 ซื้อซอง, 7,000 ซื้อวัตถุดิบ ที่เหลือเป็นเงินทุนหมุนเวียนซื้อของ หลังจากนั้นก็ลองแพ็คขายหน้า 7-11 ปรากฏว่าวันแรกขายหมด

จนกระทั่งนำไปสู่การสร้างโรงงานผลิตอย่างจริงจัง เพราะยอดสั่งซื้อเข้ามาจำนวนมาก แต่ก็ยังต้องกู้หนี้ยืมสินอยู่เช่นเดิม หลังจากนั้น 4 เดือนถัดมามีโรงงานแรกกำลังผลิต 4,000 กล่องต่อวัน อีก 4 เดือน ถัดมาโรงงานที่ 2 พร้อมเครื่องจักรกำลังผลิต 40,000 ต่อวัน ถือว่าเร็วมากสำหรับธุรกิจน้องใหม่คริสปี้คอร์น

ชูออนไลน์-ตัวแทน-ร้านค้า จุดขายคริสปี้คอร์น

w6

ขนมคริสปี้คอร์น มีกลุ่มลูกค้าคือกลุ่มวันรุ่น คนทำงาน การนำเสนอผู้บริโภคจะผ่าน Online เกือบ 100% เพราะเป็นช่องทางเดียวที่เข้าถึงมากที่สุดและเร็วที่สุด โดยใช้เงินน้อยที่สุดไม่ถึง 5% ของยอดขาย จึงทำให้ได้ยอดขายมาเยอะ

นอกจากนี้ ช่วงแรกๆ ช่องทางจำหน่ายของคริสปี้คอร์น เป็นระบบตัวแทน ด้วยระบบ Master Dealer ที่แบงค์คิดขึ้นมาเอง ซึ่งถือเป็นช่องทางที่กระจายสินค้าไปได้ทั่วประเทศ

แต่ในวันนี้ คริสปี้คอร์นมีวางจำหน่ายที่ 7-Eleven เกือบทุกสาขาทั่วประเทศ มีด้วยกัน 3 รสชาติ แต่ก็ยังมีช่องทางขายสินค้าผ่านตัวแทนอยู่เหมือนเดิม แต่ไม่มาก โดยจะมีการปรับเปลี่ยนตัวแทนจำหน่าย ที่มีศักยภาพมาเป็น Distributor Center เพื่อเป็นศูนย์กระจายสินค้าให้กับคริสปี้คอร์นในอนาคต

แบงค์บอกว่า เขาจะสร้างรายได้ให้กับตัวแทนรายใหญ่ ให้ได้สูงถึงเดือนละหลายแสน หลายล้านบาท ด้วยนโยบายที่ว่า “เราจะโตและสู้ไปด้วยกัน” โดยแบงค์จะไม่ทิ้งระบบตัวแทน พร้อมพัฒนาให้มีความพิเศษกว่าการค้าสมัยใหม่เสมอ

Story หัวใจการตลาดคริสปี้คอร์น

w7

หลายๆ คนจะไม่เคยเห็น คริสปี้คอร์น โฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านทางทีวีมากนัก ส่วนใหญ่โฆษณาและสร้างการรับรู้ผ่านออนไลน์ ในรูปแบบ Story เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนทั่วไป

ผ่านการเขียนบทความการต่อสู้ชีวิต การทำธุรกิจ การไม่ยอมแพ้ ล้มแล้วลุกของ “แบงค์ คริสปี้คอร์น” นอกจากนี้ยังมีการการถ่ายโฆษณาบนโลกอินเตอร์เน็ตกับทาง Net idol ด้วย

นักธุรกิจสร้างแรงบันดาลใจ

w8

ในเมืองไทยหลายคนอาจมองว่า “ต็อบ เถ้าแก่น้อย” และ “ตัน อิชิตัน” คือนักธุรกิจต้นแบบ และผู้สร้างแรงบันดาลให้กับแบงค์ แต่ในต่างประเทศ ผู้สร้างแรงบันดาลใจให้แบงค์

คือ ริชาร์ด แบรนสัน นักธุรกิจชาวอังกฤษ เจ้าของธุรกิจ “เวอร์จิ้น” รวมถึง “มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก” ที่เขาชื่นชอบในการแต่งกายด้วยเสื้อยืด กางเกงยีนส์ และรองเท้าผ้าใบ

แต่งตัวคริสปี้คอร์นเข้าตลาดหุ้น

w9

ปัจจุบันคริสปี้คอร์น กำลังอยู่ในช่วงของการเตรียมตัวเข้าตลาดหุ้น เพื่อเป้าหมายการสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจคริสปี้คอร์นอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยเป้าหมายแรกเพิ่มกำลังการผลิต

และเจาะตลาดให้เข้าถึงผู้บริโภคให้มากขึ้น โดยเฉพาะการวางจำหน่ายผ่านร้าน 7-Eleven ให้ครบทุกสาขาทั่วประเทศ รวมถึงการก้าวออกไปเติบโตในต่างประเทศด้วยเช่นกัน

w10

เรื่องราวของ “แบงค์ คริสปี้คอร์น” สอนให้เราได้รู้ว่า “ความล้มเหลว” เป็นโอกาสที่จะนำไปสู่การเริ่มต้นอีกครั้ง แต่เป็นการ “เริ่มต้น” ที่ดีกว่าเดิม เพราะหลังจากที่เป็นหนี้สินจากธุรกิจล้องวงจรปิดกว่า 7.7ล้านบาท

แต่ก็ไม่มีใครเคยคิด หรือฝันว่า จากปัญหานั้น จะทำให้แบงค์เปลี่ยนจากเจ้าของบริษัทเล็กๆ มาเป็นเจ้าของโรงงาน เจ้าของบริษัทที่กำลังจะเข้าตลาดหุ้น ดังเช่นคำพูดของแบงค์ ที่ว่า ชีวิตคนเรามีพรุ่งนี้เสมอ วันพรุ่งนี้ต้องดีกว่าวันนี้ “ฟ้าหลังฝน ย่อมสวยงามเสมอ”

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com
อ่านจดหมายข่ายคนอื่นๆ goo.gl/Nc6m8f

แหล่งข้อมูล https://goo.gl/r1qoyn

https://www.facebook.com/brandthinkbiz/videos/2104874533171421/?t=0

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3ojIO7L

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช