อย่าประมาท! เจ้าของธุรกิจต้องเตรียมตัวรับมือปี 2566 ภาวะเศรษฐกิจขาลงรุนแรงทั่วโลก
ใกล้จะสิ้นปี 2565 จะเริ่มต้นปี 2566 หลายคนมองว่า ภาวะเศรษฐกิจของไทยจะดีขึ้นกว่าปี 2565 โดยมีปัจจัยมาจากสถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศเริ่มดีขึ้น เนื่องจากรัฐบาลเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศมากขึ้น อีกทั้งสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศเริ่มคลี่คลาย กิจกรรมต่างๆ กลับมาดำเนินการได้ตามปกติ
แต่รู้หรือไม่ว่าในมุมองมองของนักเศรษฐศาสตร์ รวมถึงนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องเศรษฐกิจโลก มองว่า ปัญหาเศรษฐกิจจะมีความรุนแรงและชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 ต่อเนื่องไปจนถึงปี 2566 โดยภาวะเศรษฐกิจถดถอยในระดับโลกนี้
ถือว่ามีความรุนแรงและจะเป็นการเกิดขึ้นมาก่อน โดยสัญญาณของปัญหาเศรษฐกิจที่จะได้เห็น คือ การเริ่มปลดพนักงานของบริษัทขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ และยุโรป ขณะที่ประเทศตลาดเกิดใหม่หลายประเทศที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจและการเงินและต้องเข้าขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
เมื่อถามว่า ผู้ประกอบการ นักธุรกิจ นักลงทุน รวมถึงประชาชนทั่วไป จะเตรียมตัวรับมือวางแผน และ อย่าประมาท อย่างไรกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2566 วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีความข้อมูลจากนักเศรษฐศาสตร์รวมถึงนักวิชาการที่เกี่ยวข้องมานำเสนอให้ทราบคับ
เมื่อนักธุรกิจชั้นนำของโลกรวมถึงนักเศรษฐศาสตร์หลายคนในเมืองไทย ได้ส่งสัญญาณออกมาในแนวทางเดียวกัน โดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจโลกในปลายปี 2565 และช่วงปี 2566 จะเกิดปัญหาเศรษฐกิจถดถอย
โดยเฉพาะประเทศที่เป็นเสาหลักทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา และหลายประเทศทางยุโรป โดยเฉพาะอังกฤษ จะเผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอยแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าครองชีพสูง ต้นทุน-วัตถุดิบในการการผลิตสูงขึ้น
เมื่อปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจะส่งผลกระทบในปี 2566 ผู้ประกอบการ นักธุรกิจต้องเตรียมตัวในเรื่องของการบริหารจัดการต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนภาคประชาชนต้องประหยัดมากขึ้น อะไรที่ไม่จำเป็นต้องระงับการใช้ข่ายออกไปก่อน เพื่อ Save เงินเอาไว้ให้มากที่สุด จะเผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอยแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
เพราะโดยปกติเมื่อเกิดวิกฤตเงินต้องเตรียมสำรองไว้เป็นรายจ่ายจากปกติ 6 เดือน อาจต้องเพิ่มเป็น 12 เดือน ดังนั้น ประชาชนต้องเตรียมเสบียง ต้องประหยัดอดออม หากเกิดวิกฤตในปี 2566 จะอยู่รอดได้ เพราะสภาวะเศรษฐกิจถดถอยอาจจะยาวนานไปจนถึงปี 2567 หลังจากนั้นจะเป็นผลกระทบต่อเนื่องจากวิกฤติของตลาดเกิดใหม่
อย่างไรก็ดี สำหรับข้อดีในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอย คือ เรื่องของสินค้าบริโภค-อุปโภคราคาจะถูกลง นักลงทุนรวมถึงประชาชนที่ต้องการจะสร้างบ้าน สร้างอสังหาริมทรัพย์ในปี 2566 จะได้ซื้อวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในการก่อสร้างจะราคาถูกกว่าที่เป็นอยู่ เนื่องจากประเทศจีนมีความเสี่ยงเรื่องเศรษฐกิจมากขึ้น เมื่อเศรษฐกิจไม่ดีสินค้าจากจีน เช่น เหล็กต่างๆ ก็จะทยอยไหลออกมาทำให้ถูกลง ตรงนี้ถือเป็นข่าวดีกับคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ และประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย ให้ข้อมูลเศรษฐกิจผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัวว่า วิกฤตจากภาคการเงิน จะลามสู่ธุรกิจที่แท้จริงในปี 2566 จะเป็นเรื่องของตลาดจริง เช่นเรื่องการส่งออก การผลิตที่จะกระทบ จากข้อมูลนี้ทุกคนจะเตรียมการให้ดี เพราะว่าประเทศไทยอยู่ในฐานะที่ดี
แต่ประชาชนรวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจต้องเตรียมการ เหมือนน้ำมาแล้วให้อยู่ในที่ดอน แต่ถ้าน้ำมามากก็ต้องเตรียมกระสอบทราย อย่าไม่ประมาท เติมทรายใส่กระสอบเอาไว้ ถ้าไม่เติมเอาไว้พอน้ำมาอาจจะท่วมบ้านได้ โดยสถานการณ์ในปลายปี 2565 จะเริ่มหนักขึ้นในปี 2566 ผู้ประกอบการ รวมถึงประชาชนต้องเตรียมการให้ดี
ดร.กอบศักดิ์ ยังให้ข้อมูลถึงปัจจัยกระทบการลงทุนในปี 2566 คือ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์, ความผันผวนของตลาดการเงินม การปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT), การชะลอตัวและถดถอยของเศรษฐกิจทั่วโลก, ปัญหาเศรษฐกิจจีน และการเกิดวิกฤติการเงินของประเทศตลาดเกิดใหม่
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
แหล่งข้อมูล https://bit.ly/3usmdLP , https://bit.ly/3BfX0rU
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3Pc4FwQ
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)