อย่าท้อ! 5 ปัญหาสำหรับคน เปิดร้านกาแฟ ต้องเจอแน่นอน

ถ้าถามถึงธุรกิจยอดฮิตต้องมีชื่อของร้านกาแฟอยู่ในลำดับต้นๆเป็นแน่ จากภาพรวมในปี 2559 ที่มีมูลค่าราว 15,000 ล้านบาทมาในปี 2560 ตลาดกาแฟมีมูลค่าสูงขึ้นที่ 17,000 ล้านบาทเติบโตขึ้นกว่า 15% คงไม่ต้องอธิบายว่าทำไมร้านกาแฟถึงฮิตแม้จะมีคู่แข่งอยู่มากมายแต่ฐานผู้บริโภคก็มีมากขึ้นตามไปด้วย

อย่างไรก็ตามธุรกิจร้านกาแฟแม้เทรนด์นี้จะฮิตติดลมบนแต่ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อคิดสะกิดใจที่คนทำร้านกาแฟทุกคนจะต้องพบเจอ หากคิดจะทำธุรกิจนี้จริงๆก็ควรหาวิธีรับมือกับปัญหาเหล่านี้ให้ได้

1.เงินทุนไม่พอสำหรับการหมุนเวียนในร้าน

เปิดร้านกาแฟ

อันที่จริงก็น่าจะเป็นปัญหาของทุกธุรกิจแต่ร้านกาแฟอาจจะชัดเจนกว่า เพราะร้านกาแฟนั้นต้องมีการตกแต่งบรรยากาศภายใน ค่าวัตถุดิบสำหรับทำกาแฟ เบเกอรี่ หรือการสั่งสินค้าเข้าร้านต่างๆ ที่ควรมีเงินสำรองไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท/เดือน และถ้ายิ่งเป็นร้านที่มีขนาดใหญ่ขึ้นควรมีการสำรองเงินทุนส่วนนี้ไว้มากขึ้น และอย่าเพิ่งคิดขยายสาขาหากร้านแรกยังไม่แข็งแกร่งมากพอ

2.ขาดแคลนเงินทุนในการบำรุงอุปกรณ์ในร้าน

เปิดร้านกาแฟ

ร้านกาแฟที่ดีก็จะมีเครื่องชงกาแฟที่มีคุณภาพ แม้จะแลกมาด้วยราคาที่สูงแต่ก็มั่นใจได้ว่าจะไม่เสื่อมสภาพและเสียหายจากการใช้งานที่ถูกวิธี อย่างไรก็ตามร้านกาแฟส่วนใหญ่ละเลยการเก็บเงินส่วนนี้ไว้เพราะต่อให้เครื่องชงกาแฟจะดีแสนดีแค่ไหนก็ย่อมมีวันต้องซ่อมบำรุงเหมือนกัน

ซึ่งในทางปฏิบัติเครื่องชงกาแฟควรมีการล้างเครื่องทุก 6 เดือน ค่าใช้จ่ายในการล้างประมาณ 2,000 บาท/ครั้ง นั้นยังไม่รวมถึงการดูแลอุปกรณ์อื่นๆในร้านเช่นการล้างแอร์ที่ควรทำทุก 3 เดือน หรือการดูแลตู้ทำความเย็นสำหรับเก็บเบเกอรี่ ซึ่งหากอุปกรณ์ขาดการดูแลก็จะทำให้ธุรกิจเกิดการสะดุดได้

3.วัตถุดิบสำคัญขาดตลาด

เปิดร้านกาแฟ

ร้านกาแฟทุกร้านจะต้องมีวัตถุดิบสำคัญนั้นอาจจะหมายถึงเมล็ดกาแฟ ที่แต่ละร้านอาจจะมีตัวแทนที่คอยให้บริการอย่างต่อเนื่องจนบางคนละเลยและไม่สนใจที่จะหาวัตถุดิบทดแทนไว้ ซึ่งในบางกรณีตัวแทนอาจจะเจอปัญหาวัตถุดิบขาดช่วงนั้นหมายความว่าร้านกาแฟก็จะต้องเจอกับปัญหานี้ด้วย

ทางออกที่ดีที่สุดคือการหาวัตถุดิบสำรองจากตัวแทนจำหน่ายรายอื่นหรือการมองหาตลาดวัตถุดิบที่สามารถทดแทนกันได้ อย่าไปมัวพะวงกับเรื่องราคาที่อาจจะสูงกว่าเดิมเพราะหากไม่มีวัตถุดิบในการผลิตกาแฟแล้วรับรองได้เลยว่าการเซฟต้นทุนแบบไม่อยากจ่ายแพงจะทำให้ร้านกาแฟเราเสียหายเกินกว่าที่คิดไว้ไม่น้อยทีเดียว

การเตรียมป้องกันที่ดีคือ คอยตรวจเช็คปริมาณวัตถุดิบให้ดี เตรียมหาวัตถุดิบไว้ล่วงหน้า ให้คอยสังเกตว่าวัตถุดิบจะหมดช่วงเดือนไหน แล้วสั่งของให้ได้มากที่สุดเพื่อความสบายใจ

4.ทำเลไม่ดีพอ

เปิดร้านกาแฟ

การ เปิดร้านกาแฟ ทำเลนั้นสำคัญมากแต่บางทีคนทำธุรกิจก็ไม่สามารถเลือกทำเลที่ดีที่สุดได้ บางทีก็เป็นทำเลแบบพอไหวแต่พอทำเข้าจริงๆ ก็มีผลมากกว่าที่คิด หรือบางทีเราเปิดร้านกาแฟในทำเลที่เคยมีร้านกาแฟอื่นมาก่อน

เมื่อเขาเลิกกิจการไปเรามาเปิดแทนก็จะถูกเหมารวมว่าเป็นร้านเดียวกันทั้งที่ความจริงแล้วไม่ใช่ การแก้ปัญหาในเรื่องทำเลไม่สร้างกำไรนี้ค่อนข้างยาก แต่หากมีทุนมากพอก็อาจจะจัดงบประมาณในการทำตลาด การประชาสัมพันธ์ การทำโปรโมชั่น รวมถึงการตกแต่งร้านให้ดึงดูดใจลูกค้าก็พอจะช่วยได้บ้างแต่ทางที่ดีควรหาทำเลที่ดีเป็นทุนเดิมในการเปิดร้านกาแฟจะดีกว่า

5.ลูกค้าไม่เชื่อมั่นในแบรนด์ของเรา

เปิดร้านกาแฟ

อย่างที่เราทราบกันว่าร้านกาแฟมีทั่วทุกหัวมุมเมือง มีหลากหลายรูปแบบหลายสไตล์ หลายราคาให้เลือกกันดาษดื่น การ เปิดร้านกาแฟ ใหม่ปัญหาใหญ่คือจะทำอย่างไรให้ลูกค้าเชื่อมั่นในสินค้าของเรา

ก็เป็นเทคนิคการตลาดของเจ้าของร้านที่ต้องทำให้ร้านตัวเองสะดุดตาลูกค้าได้มากที่สุด เช่นการใช้ป้ายขนาดใหญ่ หรือการติดป้ายโฆษณาไว้ตามจุดต่างๆ หรือการตกแต่งร้านให้แปลกและแตกต่างเพื่อให้คนสนใจและจะได้บอกต่อกันปากต่อปาก สิ่งเหล่านี้อาจจะต้องใช้เวลาและใช้ความสามารถของผู้ประกอบการมากสักหน่อย

อัตราการอยู่รอดของธุรกิจร้านกาแฟนั้นยังคงดีอยู่เพียงแต่ผู้ประกอบการก็ต้องมีจุดเด่นของร้าน มีการพัฒนาตัวเองตัวเนื่องเพราะคู่แข่งในเวทีนี้มีมากเหลือเกิน การจะ เปิดร้านกาแฟ ให้สำเร็จได้ขั้นแรกต้องเกิดจากใจที่อยากทำ ไม่ใช่การทำตามกระแสเท่านั้น

 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3GhIPEm


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด