อย่าขายแฟรนไชส์ ถ้าคุณยังไม่ได้ทำสิ่งเหล่านี้

ปัจจุบันเจ้าของธุรกิจนิยมขยายกิจการในรูปแบบแฟรนไชส์มากขึ้น เพราะสร้างการเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายในการขยายกิจการ เพราะเงินลงทุนส่วนหนึ่งเป็นของผู้ซื้อแฟรนไชส์ แต่รู้หรือไม่ว่าธุรกิจที่จะขยายกิจการแบบแฟรนไชส์ไม่ใช่ทำกันง่ายๆ เจ้าของธุรกิจต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆ มากมาย เพื่อนำพาเครือข่ายแฟรนไชส์ให้เติบโตไปด้วยกัน

เจ้าของธุรกิจที่อยากขายแฟรนไชส์ อย่าขายแฟรนไชส์ เด็ดขาดถ้ายังไม่ได้ทำในสิ่งที่ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้ทราบดังต่อไปนี้

1.ศึกษาหาความรู้เรื่องแฟรนไชส์

อย่าขายแฟรนไชส์

แน่นอนว่าเจ้าของธุรกิจหลายคนไม่มีความรู้เรื่องแฟรนไชส์มาก่อน ดังนั้น ก่อนจะขายแฟรนไชส์ควรศึกษาหาความรู้เรื่องการสร้างระบบแฟรนไชส์ให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพื่อวางระบบและสร้างโมเดลแฟรนไชส์ได้ถูกต้อง โดยหาความรู้จากแหล่งถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สื่อต่างๆ สมาคมแฟรนไชส์ หน่วยงาน องค์กรเอกชน หรือสมัครเข้าคอร์สอบรมสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ได้ที่นี่ https://bit.ly/3EgoVtK

2.สร้างร้านต้นแบบแฟรนไชส์

อย่าขายแฟรนไชส์

แม้ว่ากิจการของคุณจะขายดีแต่ก็ใช่ว่าจะขายแฟรนไชส์ได้เลย จำเป็นต้องขยายร้านหรือสร้างร้านต้นแบบเพิ่มอีก 2-3 สาขา เพื่อจะได้รู้ว่าสาขาที่ขยายไปนั้นมียอดขายและรายได้เหมือนกับร้านที่บริหารอยู่หรือไม่ โดยร้านต้นแบบถ้าอยู่ในทำเลที่แตกต่างกันยิ่งดี จะทำให้รู้ว่ามีต้นทุน ค่าใช้จ่าย ยอดขาย กำไรมากน้อยแค่ไหน เพื่อนำไปคิดคำนวณงบลงทุน

3.จดทะเบียนแฟรนไชส์

อย่าขายแฟรนไชส์

เมื่อมีร้านต้นแบบแล้ว ต้องไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและบริการ รวมถึงจดทะเบียนอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าและบริการ ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เพื่อจะได้รับความคุ้มครองจากการที่คนอื่นลอกเลียนแบบสินค้าและตราสินค้าของคุณ ซึ่งสามารถฟ้องร้องเอาผิดได้ และยืนยันว่าคุณเป็นเจ้าของแบรนด์ตัวจริง

4.วางโครงสร้างทางการเงิน

อย่าขายแฟรนไชส์

ไม่ว่าจะเป็นค่าแฟรนไชส์ ค่าสิทธิรายเดือน งบการลงทุน ระยะเวลาคืนทุน ยอดขาย ซึ่งโครงสร้างทางการเงินเหล่านี้คุณสามารถทราบได้จากร้านต้นแบบแฟรนไชส์ จะทำให้รู้ค่าใช้จ่ายต่างๆ งบการลงทุน หรือยอดขายในแต่ละวันต้องเท่าไหร่

5.จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน

อย่าขายแฟรนไชส์

คู่มือปฏิบัติงานที่จะต้องส่งให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ ซึ่งการจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ทำได้ทั้งในรูปแบบเอกสารและรูปภาพ โดยสิ่งที่ต้องมีในคู่มือปฏิบัติงานแฟรนไชส์ อาทิ ขั้นตอนการทำงานต่างๆ การผลิต การจัดวางสินค้า การแต่งกาย การจัดซื้อวัตถุดิบและสินค้า การแต่งกาย การเปิด-ปิดร้าน การขาย การบริการ การฝึกอบรม รวมถึงการจัดทำโบชัวร์ เป็นต้น

6.ทำการตลาดขายแฟรนไชส์

อย่าขายแฟรนไชส์

สิ่งที่ต้องทำก่อนขายแฟรนไชส์อีกอย่าง คือ การสร้างแบรนด์ และทำการตลาด เพื่อสร้างการจดจำและนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์แก่ผู้สนใจ การสร้างแบรนด์และการทำตลาดอาจนำเสนอผ่านเว็บไซต์ เฟชบุ๊ค ไลน์ ไอจี รวมถึงออกบูธ โรคโชว์ จัดสัมมนา และที่สำคัญการโฆษณาประชาสัมพันธ์ธุรกิจแฟรนไชส์ผ่านสื่อต่างๆ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ จะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้เร็ว

นั่นคือ 6 สิ่งต้องทำหากคิดที่จะขายแฟรนไชส์

Franchise Tips

  1. ศึกษาหาความรู้เรื่องแฟรนไชส์
  2. สร้างร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  3. จดทะเบียนแฟรนไชส์
  4. วางโครงสร้างทางการเงิน
  5. จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน
  6. ทำการตลาดขายแฟรนไชส์

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3G8voZ0

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช